หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

       ครั้งหนึ่งในอดีตกาล ณ เมืองพาราณสี มีกษัตริย์
พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมทัต ยังทรง ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ปกครองบ้านเมืองให้สงบร่ม
เย็นเป็นสุขตลอดมา ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงมีพระราช
โอรส ซึ่งกำเนิดจากอัครมเหสี พระองค์ทรงพระราชทาน
นามพระโอรสว่า พรมหทัต เช่นเดียวกับพระนามของ
พระองค์เอง

     พระราชกุมารพรหมทัต ทรงมีพระสติปัญญา เฉลี่ยวฉลาดต่างจากเด็ก
ทั้งหลายมาก เมื่อเจริญพระชันษาได้เพียง ๑๖ พรรษา ก็ทรงศึกษาศิลปศาสตร์
ชั้นสูงในสมัยนั้นสำเร็จหมดทั้ง ๑๘ แขนง ยิ่งกว่านั้นยังทรงเจนจบไตรเพทอีก
ด้วย

     ประชาชนชาวเมืองพาราณสี มีความภาคภูมิใจในความเป็นอัจฉริยะของพระ
กุมารโดยทั่วหน้ากัน ดังนั้นในเวลาต่อมาพระราชบิดาจึงพระราชทานตำแหน่ง
มหาอุปราชให้แก่พรหมทัตกุมาร เพื่อจะทรงช่วยบริหารราชการแผ่นดินและ
ใกล้ชิดประชาชนยิ่งขึ้น

   เมื่อพรหมทัตกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งมหา อุปราช แล้วก็มิได้นิ่งนอนพระทัยหรือหาความสุข
ส่วนพระองค์ แต่ทรงโปรดที่จะเสด็จ เยี่ยมเยียน
ชาวบ้าน อีกทั้งคอยบำบัดทุกข์บำรุงสุขไม่ว่าชาว
บ้านจะอยู่ไกลเพียงไหนก็ตาม ทำให้ชาวบ้านอุ่นใจ
เป็นอย่างยิ่ง โจรผู้ร้ายก็ถูกปราบจนราบคาบ
    ในระหว่างที่ออกเยี่ยม
เยียนชาวบ้านอยู่นั้น ต่างพา กันล้อมวงบนบานต่อต้นไทร
ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

     เมื่อเห็นเช่นนั้นพระองค์ทรงเกิดความกังวลขึ้นมา
เกรงว่า ชาวบ้านจะมัวแต่หลงงมงายไม่ยอมทำมาหากิน ถ้าหากพวกโจรผู้ร้ายทราบข่าวก็อาจจะถูกหลอกด้วยวิธี
ต่างๆ นานา

   ในขณะที่พระองค์ทรงนั่งรถม้าผ่านไปนั้นก็เห็น
ชาวบ้าน ต่างนำหัวหมู หัวแพะจำนวนมากมาบูชายัญ
ทำให้ พระองค์ทรงสังเวชใจ เพราะสัตว์เหล่านั้น
ไม่มีส่วนรับรู้การกระทำอันโง่เขลาของชาวบ้าน
แต่ต้องมาจบชีวิต ลงเพราะความเชื่องมงายของ
ชาวบ้าน
   พรหมทัต มหาอุปราช ได้นำเรื่องที่ชาวบ้านนำสัตว์
ต่างๆ มาเป็นเครื่องบูชายัญ มาคิดที่จะหาทางแก้ไข
ปัญหา ถ้าขืนปล่อยไปย่อมจะก่อปัญหาให้กับบ้านเมือง
อย่างแน่นอน
   ถึงแม้พระองค์จะใช้ตำแหน่งมหาอุปราช ห้ามประชาชนไม่ให้มีการ
นำสัตว์ มาบูชายัญ แต่ก็ห้ามได้ชั่วคราว ประชาชนคงแอบไปทำที่อื่น
ดีไม่ดีจะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาได้ เพราะความเชื่ออย่าง
งมงายนั้นแก้ได้ยากมาก
     เพราะในแต่ละวันจะมีชาวบ้านมาบนบานต่อต้นไทร
ต้นนี้เป็นจำนวนมาก
   ในที่สุด พรหมทัต มหาอุปราช ก็ทรงคิดกุศโลบายที่จะให้ชาวบ้าน
เลิกบนบานและนำชีวิตสัตว์มาเป็น
เครื่องพลีกรรมได้สำเร็จ พระองค์
ทรงให้สารถีหยุดรถม้า
     ได้รับสั่งให้สารถีนำเครื่องพลีกรรมเพื่อที่จะทำ การบนบานต่อต้นไทร เมื่อประชาชนที่มาบนบาน ต้นไทรเห็น พรหมทัต มหาอุปราช มาบนบานต่าง
พากันดีอกดีใจ
    สายตาของชาวบ้านทุกคู่ต่างมองไปยังที่พรหมทัต
มหาอุปราช
ขณะนำเครื่องพลีกรรมไปบนบานต้นไทร
   ประชาชนต่างพากันสรรเสริญในการพลีกรรมของ
พรหมทัต มหาอุปราช
   ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตกษัตริย์แห่งเมืองพราณสี
ได้เสด็จสวรรคต พรหมทัต มหาอุปราช ทรงขึ้นครอง
ราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา พระองค์ทรงปกครอง
ไพร่ฟ้า ประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขมาตลอด
    อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัต (องค์ใหม่) รับสั่งให้เสนาบดี อำมาตย์ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้า เพื่อที่จะให้ดำเนินตาม
กุศโลบายที่เคยวางเอาไว้ในสมัยที่ยังเป็นมหาอุปราช
   พระองค์ยังได้พูดท่ามกลางเสนาบดี อำมาตย์และนาย ทหารชั้นผู้ใหญ่ ว่าการที่ทำให้พระองค์ได้เป็นกษัตริย์
นั้นก็มาจากการบนบานต่อต้นไทร
    ขณะนี้ก็ถึงเวลาที่จะทำการพลีกรรม
เมื่อเหล่าเสนา อำมาตย์ ได้ยินเช่นนั้น
ต่างพากันเสนอตัวที่จะหาสัตว์มาเป็น
เครื่องบูชายัญ
   แต่พระเจ้าพรหมทัต หาได้ให้เหล่าเสนา อำมาตย์ ไปนำสัตว์มาเป็นเครื่องพลีกรรม แต่ทรงกลับรับสั่งให้นำ
คนที่ผิดศีลห้า จำนวนหนึ่งพันคน โดยเฉพาะผู้ที่ชอบ
ฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นเครื่องพลีกรรมบูชายัญ
   เหล่าเสนา อำมาตย์ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้ยินเช่น
นั้น ต่างพากันตกใจและเลิกการเอาชีวิตสัตว์เป็นเครื่องพลี
กรรม
   นอกจากนี้พระเจ้าพรหมทัต ทรงยังให้ทหารนำ ประกาศให้ประชาชน ชาวบ้านรับทราบกันถึงเรื่อง
ที่พระองค์จะทรงทำพลีกรรมด้วยการนำชีวิตคน
ผิดศีล ๕ จำนวน หนึ่งพันคน โดยเฉพาะคนที่ฆ่า สัตว์นำไปบูชายัญ

    เมื่อชาวบ้านได้ยินเช่นนั้น ต่างพากันหวาดกลัวและ
เลิกฆ่าสัตว์ไปบูชายัญที่ต้นไทร ต่างพากันถือศีล ๕
เป็นประจำ เพราะกลัวจะถูกจับไปเป็นเครื่องพลีกรรม

     ต่อมาไม่นานชาวบ้านต่างพากันถือศีล ๕ ตลอด
ชีวิตทุกวันพระก็เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญตักบาตรกันเป็น ประจำ บ้านเมืองก็สงบร่มเย็นไม่มีการฆ่าสัตว์เพื่อบูชา- ยัญอีก เมื่อทุกคนเลิกงมงายก็ต่างพากันขยันทำมา หากิน บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านก็ต่างมีความสุข
Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  




Home  | นิทานชาดก