|
นักขัตตชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.......มีชาวบ้านนอกคนหนึ่ง ไปขอสาวในเมืองให้ลูกชายพร้อมกำหนดวันแต่งงานไว้แล้ว ครั้นถึงกำหนดได้ไปสอบถามฤกษ์จากอาชีวก ว่าดีหรือไ่ม่ อาชีวกโกรธที่เขาไม่มาปรึกษาก่อน จึงบอกว่าวันนี้ฤกษ์ไม่ดี จะทำให้เกิดความพินาศ ชาวบ้านนอกหลงเชื่อจึงไม่ไปรับเจ้าสาวในวันนั้น ทำให้ฝ่ายเ้จ้าสาวเสียหน้า แล้วได้ยกลูกสาวให้คนอื่นไป
วันรุ่งขึ้น เมื่อฝ่ายเจ้าบ่าวไปถึงบ้านเจ้าสาวจึงทะเลาะกัน ด้วยเหตุที่อาชีวกเป็น
ี่ผู้ทำลายงานมงคล
เรื่องนี้รู้กันไปทั่วจนถึงภิกษุในวัดเชตวัน และนำมาสนทนากันในธรรมสภา เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา
และทรงสอบถาม เมื่อทรงทราบเรื่องแล้ว จึงทรงระลึกชาติ ิด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ
แล้วพระพุทธองค์ทรงนำ นักขัตตชาดก
มาตรัสดังนี้
๑ . การประกอบกิจการงานใด
ควรคำนึงถึงเหตุผล ประโยชน์ความเหมาะสม และกาลเวลาที่สมควร ไม่ควรถือฤกษ์ยาม เพราะเมื่อใดที่เราคิดดี พูดดี ทำดี
เมื่อนั้น ฤกษ์งามยามดีก็มีอยู่ในตัวเราเอง
๒ . คนพาล มักคิดชั่ว
พูดชั่ว ทำชั่ว เป็นปรกติ และพอใจที่จะเห็นความพินาศฉิบหาย
ของผู้อื่น
๓ . ผู้มีปัญญา
เมื่อเห็นประโยชน์แล้ว ย่อมไม่ผัดวันประกันพรุ่งเป็นอันขาด
ต้องรีบทำประโยชน์นั้นให้สำเร็จ เพราะประโยชน์เป็นฤกษ์
ของประโยชน์เอง |