|
ติตติรชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างเชตวันมหาวิหารแล้ว ได้ส่งคนไปกราบทูลเชิญ พระพุทธองค์จึงเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ในระหว่างทางได้ประทับแรม ณ นครไพสาลี
.....พระฉัพพัคคีย์ ได้ให้ศิษย์เดินทางล่วงหน้าเพื่อจับจองเสนาสนะ เมื่อพระภิกษุทั้งหลายรวมทั้งพระสารีบุตรเดินทางมาถึงจึงไม่มีที่พัก ท่านได้ไปอาศัยโคนไม้ต้นหนึ่งเป็นที่นั่งเจริญภาวนา
.....เช้ามืดวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกมาพบจึงเกิดธรรมสังเวชว่า ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ภิกษุทั้งหลายยังไม่มีความเคารพยำเกรงกัน ถ้าหากเราปรินิพพานไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายจะเป็นอย่างไร
.....ครั้นรุ่งเช้าจึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เมื่อทรงสอบถามถึงเหตุดังกล่าวแล้ว ทรงติเตียนพระภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น แล้วทรงถามขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ว่า ภิกษุประเภทใดควรได้รับเสนาสนะอันประเสริฐ
.....พระภิกษุทั้งหลายต่างกราบทูลแตกต่างกันไป เช่น ให้ผู้ที่บวชจากตระกูลสูงก่อนบ้าง บางรูปให้พิจารณาจากระดับธรรมที่ได้ คือ พิจารณาจากพระอรหันต์ลงมาบ้าง เป็นต้น
.....พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ไม่ควรนำมาเป็นเครื่องพิจารณา พระผู้ใหญ่ผู้เจริญด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิต่างหากเล่า จึงจะเป็นผู้ที่สมควรได้รับของอันเลิศ ควรได้รับการกราบไหว้
.....พระบรมศาสดาทรงมีพระประสงค์จะประทานโอวาทแก่พระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วทรงนำ ติตติรชาดก มาแสดงดังนี้้
.....๑. บุคคลที่จัดว่าเป็นผู้ใหญ่ ควรแก่การเคารพกราบไหว้
.....๒. วิธีแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ เช่น ไหว้ กราบ แสดงกิริยาอ่อนน้อมให้เกียรติ ฯลฯ
.....๓. สิ่งที่ผู้น้อยได้รับจากการปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ด้วยความเคารพ ได้แก่ ได้รับการถ่ายทอด
วิชาความรู้, ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
.....๔. ความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นบ่อเกิดของความสุข |