|
ติฏฐชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
..
ศิษย์ของพระสารีบุตรรูปหนึ่ง เรียนพระวินัยอย่างเต็มที่และทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
แต่สมาธิไม่ก้าวหน้า ท่านจึงพาศิษย์ไปเฝ้า พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงวิธีฝึก
ท่านกราบทูลว่า
ให้ฝึก "อสุภกรรมฐาน" เหมือนกับศิษย์คนอื่นๆ
พระบรมศาสดาทรงระลึกชาติหนหลังด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ
แล้วตรัสว่า พระสารีบุตรไม่ได้บรรลุ "อาสยานุสยญาณ"
จึงฝึก
ลูกศิษย์รูปนี้ไม่ได้ผล และให้กลับไปก่อนโดยทิ้งลูกศิษย์ไว้
้
.....อดีตชาติพระภิกษุรูปนี้เมื่อ ๕๐๐ ชาติหลังๆ เกิดเป็นช่างทำทองที่งดงามวิจิตรมาตลอด
ดังนั้นจะรู้สึกแช่มชื่นแจ่มใสเมื่อพบของสวยงามเท่านั้น
เมื่อให้ฝึกสมาธิโดยพิจารณาของ
ไม่งาม จึงไม่ถูกอัธยาศัย
ทำใจให้สงบไม่ได้
.....พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระภิกษุรูปนั้น นั่งพิจารณาดอกบัวที่มีสีสวยงามในสระน้ำ
แล้วทรงอธิษฐานให้ดอกบัวเนรมิตค่อยๆ เปลี่ยนแปลง จากที่สวยงามเหมือนดอกบัวทอง
กลับกลายเป็นเหี่ยวลงๆ สีซีดจาง โรยร่วงไปทีละกลีบ จนหลือแต่ฝักบัวเหี่ยวแห้ง
หาความสวยงามไม่ได้ พระภิกษุมองเห็นดังนั้น เกิดความสลดใจว่าร่างกายของเราก็เหมือนกัน มีความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์เมื่อพิจารณาจนจิตสงบ
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ณ ที่นั้นเอง
.....ภิกษุทั้งหลายได้ประชุมกันในธรรมสภาแสดงความชื่นชมว่า
พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งอัธยาศัยของสัตว์โลก พระบรมศาสดาจึงทรงนำ
ติฏฐชาดก
มาแสดงดังนี้้
....๑. เป็นธรรมดาว่า บุคคลยิ่งฝึกจิตใจให้สะอาดมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นเพียงไร
มักมีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ คือ ไม่อยากคลุกคลีกับผู้ที่ไร้คุณธรรม
ยกเว้นแต่มีจิตกรุณา ต้องการช่วยเหลือ ดังนั้นบุคคลใดก็ตาม
ที่มีครูอาจารย์ดี มาเคี่ยวเข็ญว่ากล่าวตักเตือน ต้องถือว่าท่านลดตัวลงมาใกล้ชิด
มาช่วยเหลือ สมควรรับปฏิบัติตามโอวาทและกราบขอบพระคุณโดยความเคารพ
.....๒. เมื่อได้คนดีมีวิชามาอยู่ด้วย ต้องจัดที่อยู่อาศัยอย่างดี
จัดหน้าที่การงานให้อย่างเหมาะสม และให้ความเคารพเกรงใจด้วย
มิฉะนั้นแล้วท่านรำคาญ เบื่อหน่ายและหนีไปเสีย เพราะคนดีมีฝีมือ
โดยทั่วไปแล้วไม่เห็นแก่เงิน แต่เห็นแก่งานที่เหมาะสมกับความสามารถ
และเกียรติยศของเขา
.....๓. เมื่อผู้ใหญ่อธิบายเหตุผลให้ผู้น้อย หากเห็นว่าผู้น้อยภูมิปัญญายังไม่ถึง แต่เพื่อหวังผล
ในเชิงปฏิบัติ
อาจบอกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น ต่อเมื่อโตขึ้นมีปัญญาตรองตามก็สามารถเข้าใจได้ |