หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้
.....มัยพระเจ้าคันธาระ
ครองราชสมบัติอยู่ ณ เมือง
ตักกสิลา มีพราหมณ์
ผู้หนึ่งได้เลี้ยงลูกโคไว้
ด้วยความทะนุถนอม
เอาใจใส่ดูแลราวกับมัน
เป็นลูกตนเลยทีเดียว
พราหมณ์เรียกลูกโคนั้นว่า
นันทิวิสาล

   โคนันทิวิสาลเติบโตเป็น
โคหนุ่ม มีรูปร่างล่ำสันแข็งแรง
มีความเคารพ และเชื่อฟัง
พราหมณ์ชรา

  แม้ว่าโคนันทิวิสาลจะคอย
ช่วยเหลือการงานอย่างเต็มที่
แล้วก็ตาม ก็ยังคิดหาโอกาส
ตอบแทนคุณของพราหมณ์
ให้มากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

  พราหมณ์ชราจึงเดินทาง
ไปยังคฤหาสน์ของท่าน
เศรษฐีในทันที เพื่อมาขอ
ท้าพนันกับท่านเศรษฐี
ตามที่โคนันทิวิสาลบอก
วันเวลาผ่านไป จนกระทั่งเหลืออีกเพียง
คืนเดียว ก็จะถึงกำหนดวันประลองกำลัง
พราหมณ์ชรารู้สึกกังวล จนไม่อาจข่มตาหลับลงได้
จนกระทั่งใกล้รุ่ง จึงเผลอหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย

เช้าวันรุ่งขึ้น พราหมณ์ชราและ
โคนันทิวิสาลจึงเดินทางเข้าไป
ในเมืองทันที

ชาวเมืองบางคนยิ้มเยาะ
กล่าวคำกระทบกระเทียบ
ต่างๆ นานา จนกำลังใจ
ของ พราหมณ์ชราตกลง
ไปเรื่อยๆ จนแทบจะไม่มี
แรงเดิน

ทันทีที่เห็นขบวนเกวียน หนึ่งร้อยเล่มผูกติดกันอยู่เบื้องหน้า พราหมณ์ชราแทบจะหมดแรงไปเลยทีเดียว

ความคิดทั้งหลาย อื้ออึงอยู่ในสมองพราหมณ์ชรา
จนควบคุมอารมณ์ไม่ได้เสียแล้ว

โคนันทิวิสาลได้ยินพราหมณ์
เรียกตนด้วยถ้อยคำที่บาดหู
ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากมาย
เช่นนี้ จึงหมดกำลังใจที่จะออก
แรงลากเกวียน ได้แต่ยืนนิ่ง
น้ำตาไหลพรากอยู่ตรงนั้น

เย็นวันนั้น พราหมณ์ชรา
ได้แต่นอนอยู่แต่ในบ้าน
เพราะแพ้พนัน เสียดาย
ทั้งเงินและอับอาย
ขายหน้า
พราหมณ์ชราจึงเข้าไป
ในเมือง ท้าประลองกับท่าน
เศรษฐีอีกครั้งหนึ่ง
วันเวลาผ่านไป
จนถึงวันประลอง กำลังครั้งสำคัญ

โคนันทิวิสาลได้ฟังคำพูดที่ไพเราะรื่นหูเช่นนั้นก็เกิดกำลังใจ
มีเรี่ยวแรงเต็มที่จึงค่อยๆ ออกแรงลากเกวียนทั้งหนึ่งร้อยเล่มนั้น

ด้วยพละกำลังอัน
มากมายมหาศาล
ของโคนันทิวิสาล
เกวียนค่อยๆ เคลื่อน
ออกไปเรื่อยๆ
ทีละเล่มๆ

บรรดาชาวเมืองทั้งหลายที่เฝ้าดูอยู่ เห็นพราหมณ์ชรายิ้มแย้มแจ่มใส
ท่าทางมั่นใจ จึงพากันส่งเสียงเอาใจช่วย

ในที่สุดเกวียน
ทั้งหนึ่งร้อยเล่ม
ก็เคลื่อนไปข้างหน้า
อย่างช้าๆ ท่ามกลาง เสียงโห่ร้องยินดี

       ชาวบ้านชาวเมืองต่างเข้ามารุมล้อมแสดงความยินดี ให้เงินทองของกินของใช้แก่พราหมณ์ชราและโคนันทิวิสาล
เป็นรางวัลในครั้งนี้ด้วย จากคำพูดที่ไพเราะและจริงใจของพราหมณ์ชรา ทำให้โคนันทิวิสาลสามารถทำงานครั้งสำคัญนี้
ได้สำเร็จ สามารถตอบแทนคุณให้พราหมณ์ชรามีความสุขสบายตลอดมา

Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  

 
นันทิวิสาลชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

......ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีภิกษุ ๖ รูป เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์ เป็นผู้ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรม ชอบก่อกวน กลั่นแกล้ง หาเรื่องทะเลาะวิวาท พูดจาข่มขู่ เสียดสีภิกษุอื่นๆ อยู่เสมอ จนกระทั่งความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงกล่าวตำหนิโทษพระฉัพพัคคีย์ แล้วตรัสให้โอวาทว่า “ผู้กล่าววาจาหยาบคาย ย่อมนำความฉิบหายมาให้ตนเอง เพราะเขาย่อมไม่เป็นที่พอใจของใครๆ แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ตาม” แล้วพระพุทธองค์ทรงนำ นันทิวิสาลชาดก มาตรัสเล่าเป็นอุทาหรณ์



 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

๑. แม้คนที่กตัญญูรู้คุณ ตั้งใจจะทดแทนคุณ ยอมทำตามใจเราทุกอย่าง ก็ยิ่งมีสิ่งที่เขาทนไม่ได้คือ ถ้อยคำที่ไม่ไพเราะ คำพูดที่เสียดแทงใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่ากาลไหนๆ ใครๆ ก็ไม่ควรพูดคำหยาบเลย

๒. การพูดด้วยคำพูดที่ดีพร้อมในทุกแง่ทุกมุม เป็นมงคลอย่างยิ่ง จัดอยู่ในมงคลชีวิต มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

๓. องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
    (๑) พูดด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา มีเจตนาดี
    (๒) พูดแต่คำจริง
    (๓) พูดแต่คำสุภาพอ่อนน้อม
    (๔) พูดแต่คำที่เป็นประโยชน์
    (๕) พูดตามกาลอันสมควร รู้ว่าเมื่อไรควรพูด เมื่อไรควรนิ่ง

 
 

Home  | นิทานชาดก