|
วัณณุปถชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ประพฤติตนเรียบร้อย ขยันหมั่นเพียรในการศึกษา พระธรรมวินัย ครั้นศึกษาพระธรรมวินัยได้ครบ ๕ พรรษา แตกฉานในพระปริยัติธรรมดีแล้ว จึงได้ไปขออุบายจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเจริญภาวนาให้ใจสงบ แล้วกราบทูลลาไปทำ ความเพียรอยู่ในป่าลึก
.....ตลอดเวลา ๓ เดือนในฤดูเข้าพรรษา พระภิกษุรูปนี้ได้ตั้งใจเจริญาภาวนา ปรารภความ เพียรอย่างเต็มกำลัง แต่มิได้ประสบความสำเร็จ ทำให้ท่านท้อใจ คิดว่าตนเองจะเป็นคน
อาภัพ ไม่มีบุญวาสนาเช่นผู้อื่น ถึงแม้จะบำเพ็ญเพียรต่อไป ก็คงไม่สามารถบรรลุธรรม ในชาตินี้ได้ ควรจะกลับไปปฏิบัติรับใช้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และฟังพระธรรมเทศนาให้้ชุุ่่มชื่นใจดีกว่า คิดดังนี้แล้วจึงเดินทางกลับเชตวันมหาวิหาร
.....เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุรูปนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรง
ระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสาสสนุสสติญาณ แล้วตรัสเล่า วัณณุปถชาดก ดังนี้
๑ . คนส่วนมาก
เมื่อเห็นว่างานใกล้สำเร็จ มักจะประมาททำให้เกิดความเสียหาย เพราะคาดไม่ถึง ดังคำที่ว่า เรือล่มเมื่อจอด ดังนั้น ผู้นำที่ดี ควรจะติดตามควบคุมงานอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อใกล้เสร็จ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
๒. ผู้นำที่ดีจะต้องให้กำลังใจเป็น เพราะทุกคนต้องการกำลังใจ แม้ผู้ที่สะสมบุญบารมีมากพอที่จะเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องการกำลังใจเช่นกัน วิธีให้กำลังใจประการหนึ่ง คือ เตือนให้คำนึงถึงความดีที่เคยทำมาก่อนแล้ว
๓. ผู้นำที่ดีต้องทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่อย่างเดียว การเป็นกัลยาณมิตรนั้น ต้องทำหน้าที่สำคัญ ๔ ประการ คือ
.....๑. เป็นพ่อแม่ คอยปกป้องผองภัยให้แก่ลูก
.....๒. เป็นเพื่อน คอยเตือนสติให้ได้คิด
.....๓. เป็นแพทย์ คอยดูแลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
.....๔. เป็นครูผู้ส่องประทีปภายใน คือ ให้ปัญญา ความรอบรู้ |