ครั้งหนึ่งในอดีตกาล ณ เมืองพาราณสี มีพ่อค้า ๒ คน เป็นเพื่อนกัน ต่างนำสินค้า บรรทุกเกวียนไปขายยังต่าง เมืองอยู่เป็นประจำ
พ่อค้าคนหนึ่ีงเป็นคนเจ้าอารมณ์ หูเบา เชื่อคนง่าย และขาดความสังเกต
ส่วนพ่อค้าอีกคนหนึ่ีงเป็นคนมีสติปัญญา มีความรู้ดี และช่างสังเกต ที่สำคัญคือ ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย
พ่อค้าช่างสังเกตมีหลักธรรมประจำใจเรียกว่า อปัณณกธรรม แปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด ๓ ประการ คือ ข้อ ๑ ป้องกัน ความหลงเมามัวในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ มีสติมั่น ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่พบเห็น
ข้อ ๒ เตรียมป้องกันเรื่องปากท้อง โดยรู้จักประมาณ ในการกินอาหาร กินแต่พอดี ไม่น้อยจนไม่มีแรง และ ไม่กินมากจนง่วงนอน
ข้อ ๓ เตรียมป้องกันปัญหาเกียจคร้าน ไม่เห็นแก่การนอน โดยฝึกสติให้ตื่นอยู่เสมอ มีความรับผิดชอบในการงาน พักผ่อนตามสมควร และสวดมนต์ ภาวนา รักษาศีลเป็นปกติ
นอกจากตนเองจะตั้งอยู่ในอปัณณกธรรมแล้ว พ่อค้าช่างสังเกตยังอบรมบริวารทั้ง ๕๐๐ คนให้ปฏิบัติตามอีกด้วย
จากนั้นไม่นานพ่อค้าหูเบาก็นำบริวาร ๕๐๐ คน และเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกสินค้าไปเต็มที่ เตรียมน้ำใส่ตุ่มใหญ่ๆบรรทุกเกวียนไปด้วย เพื่อให้พออาบดื่มกินได้ตลอดระยะทางกันดาร ๖๐โยชน์
กองเกวียนทั้ง ๕๐๐ ได้เดินทางมาจนเข้าถึงเขตแดนของพวกยักษ์กินคน
พ่อค้าหูเบาเห็นแก่ความสะดวกสบาย ไม่คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ จึงสั่งให้บริวารเทน้ำในตุ่มทิ้งจนหมด
Home | นิทานชาดก