|
ปุณณปาติกชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ณ นครสาวัตถี มีนักเลงเหล้ากลุ่มหนึ่ง นั่งล้อมวงดื่มเหล้าเมาเป็นอาจิณ ไม่คิดทำการงานใดๆ ได้แต่เบียดเบียนครอบครัว หรือไม่ก็หลอกลวงชาวบ้าน ตัดช่องย่องเบาหาเงินมาดื่มเหล้ากัน
วันหนึ่งเงินที่มีไว้ซื้อเหล้าใกล้จะหมดลง พวกนักเลงเหล้าจึงปรึกษากันเพื่อหาเงินมาซื้อเหล้า ขี้เหล้าคนหนึ่งเสนอขึ้นมาว่า ให้หาอุบายมอมเหล้าอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อท่านหมดสติแล้ว จึงปลดเครื่องแต่งตัวของท่านไปขายเอาเงินมาซื้อเหล้าดื่มกัน
.....
เช้าวันรุ่งขึ้น พวกขี้เหล้าก็นำยาเบื่อผสมลงในไหเหล้าแล้วตั้งไว้ พร้อมกับนั่งล้อมวงทำทีเป็นดื่มเหล้ากันตามปกติ รอท่าอนาถบิณฑิกเศรษฐีเดินผ่านมา
คนพวกนี้ถึงแม้จะพบเห็นท่านเศรษฐีบ่อยๆ ก็ไม่เคยรู้ว่าท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว ย่อมมีศีล ๕ มั่นคง ไม่ดื่มสุราทุกประเภท แม้จะใช้ผสมยาก็ตาม ยิ่งกว่านั้น ท่านยังมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย หมดความถือตัว แต่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เป็นนิจ
ไม่นานนักหลังจากท่านเศรษฐี กลับจากเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินได้เดินผ่านมา ขี้เหล้าคนหนึ่งรีบกระวีกระวาดออกไปต้อนรับ พลางกล่าวเชิญชวนท่าน ให้ท่านร่วมวงดื่มเหล้าด้วย
.....
ท่านเศรษฐี เมื่อถูกชวนก็นึกเฉลียวใจว่า ต้องมีอะไรแอบแฝง เพราะคนพวกนี้ถึงแม้จะเห็นท่านบ่อยๆ ก็ไม่เคยทักทาย หรือเอ่ยปากชักชวนให้ดื่มเหล้าด้วยเลยสักครั้ง ท่านเศรษฐีคิดว่า เจ้าขี้เหล้าพวกนี้มีความคิดไม่ชอบมาพากล เห็นทีจะปล่อยไว้ไม่ได้ จึงทำทีเดินเข้าไปใกล้ๆ วงเหล้า ชำเลืองดูกิริยาอาการของขี้เหล้าพวกนี้ แล้วตะคอกขึ้นว่า
เจ้าพวกขี้เหล้า เจ้าเอายาเบื่อผสมเหล้า มาหลอกให้เราดื่ม เพื่อจะได้ปลดทรัพย์เรา ชะ.. ชะ.. คุยอวดว่าเหล้าดี ถ้าดีจริง ทำไมพวกเจ้าไม่ยกดื่มล่ะ เจ้าพวกนี้คิดกำเริบนัก เห็นทีจะต้องให้ถูกลงโทษเสียบ้างล่ะ
เมื่อพวกขี้เหล้าเห็นว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีรู้ทันอุบายของตน ทั้งยังคิดจะลงโทษอีกด้วยก็ยิ่งตกใจ รีบเผ่นหนีไปคนละทิศละทางทันที
.....
เมื่อท่านเศรษฐีไล่พวกขี้เหล้าอันธพาลไปแล้ว ก็คิดว่าน่าจะนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงฟังแล้ว จึงตรัสเล่าชาดกดังนี้
.....๑ . ถึงแม้เราจะไม่ต้องการก่อเวรกับคนพาลเลย แต่คนพาลก็มักจ้องหาเรื่องก่อกวนเราอยู่
เรื่อยๆ อย่าคิดว่าเมื่อเป็นคนดีมีศีลธรรมแล้ว คนพาลจะไม่รบกวน
.....
๒ . คนที่สามารถจะระวังป้องกันภัยไว้ล่วงหน้าได้ ต้องเป็นคนช่างสังเกต ฉลาดในการจับ
พิรุธคน ซึ่งความสามารถอย่างนี้พอฝึกกันได้
.....
๓ . คนที่ถูกหลอกลวงได้ง่าย ส่วนมากมีพื้นนิสัยเป็นคนมักโลภ มักโกรธ มักหลง
คนโลภ คือ คนที่มักอยากได้ของคนอื่นในทางมิชอบ เห็นแก่ได้ ดังเช่นปลาติดเบ็ดเพราะเห็นแก่เหยื่อ คนถูกหลอกลวงต้มตุ๋น เพราะอยากได้ของที่เขาเอามาล่อ
คนเจ้าโทสะ คือ คนที่พอถูกยั่วให้โกรธ ก็ขาดสติพิจารณา ถูกหลอกให้ทำร้ายกันเอง เหมือนนกต่อถูกต่อเพราะเจ้าโทสะ เข้าไปตีกับนกที่เขาเอามาล่อ จึงติดกับดัก
คนมักหลง ติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มักขาดเหตุผล งมงาย โบราณจึงเตือนว่า จะเชื่อก็เชื่อเถิด แต่อย่าเพิ่งไว้ใจ จะรักก็รักเถิด แต่อย่าถึงกับหลงใหล
|