|
กุรุงคมิคชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....พระญาติของพระองค์ท่านหนึ่งคือ พระเทวทัต ถึงแม้จะบวชแล้ว
ก็ยังมากด้วยความอิจฉาริษยา เช่น ยุยงให้คณะสงฆ์แตกแยก
จัางนายขมังธนูให้มาลอบยิงพระพุทธองค์ ปล่อยช้างธนบาลที่ตกมัน
และถูกมอมเหล้าจนคลุ้มคลั่งให้เข้าทำร้าย จนท้ายที่สุดลงมือ
ลอบปลงพระชนม์ด้วยตนเอง โดยกลิ้งหินบนภูเขาให้ตกลงมาทับพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ๆ ก็ไม่อาจปลงพระชนม์พระบรมศาสดาได้
.....
เรื่องที่พระเทวทัตลอบทำร้ายเป็นที่รู้กันทั่วเมือง ประชาชนพากันสาปแช่ง
แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงได้แต่นั่งสนทนาปรับทุกข์กัน
.....
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ จึงทรงระลึกชาติหนหลังแล้วตรัสว่า
"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตไม่ได้คิดจองล้างจองผลาญเรา
แต่เฉพาะชาตินี้หรอกนะ แรงพยาบาทของเทวทัตที่มีต่อเรานั้น มีมาในอดีต
หลายภพหลายชาติแล้ว" แล้วจึงตรัสเล่า กุรุงคมิคชาดก
.....๑. จงอย่าเป็นคนเห็นแก่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นสิ่งใดที่รู้สึกว่าเป็นลาภลอย
ได้มาง่าย ๆ อย่าไปฉวยเอาเพราะจะถูกล่อลวงด้วยลูกไม้ต่าง ๆ โดยง่าย
.....๒. หมั่นสั่งสมบุญมาก ๆ ถ้ามากเต็มที่จริง ๆ แล้ว ใครก็ทำอันตรายไม่ได้
ใส่ความไม่ได้ บุญของเราที่มีอยู่จะตามเตือนสติไม่ให้หลงลูกไม้ใคร
จนเกิดโลภ โกรธ หลง เห็นแก่ได้ เห็นแก่เกียรติยศ
.....๓. จากชาดกเรื่องนี้จึงทำให้รู้ว่า คำว่า "ลูกไม้" ได้กลายมาเป็นสำนวนไทย
หมายถึง เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง
|