หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

   สมัยหนึ่งพระเจ้า
พรหมทัตครองกรุง
พาราณสี มีพราหมณ์
ผู้หนึ่งชื่อ อุทิจจะ
เขาเป็นผู้ที่ฉลาด
ปราดเปรื่อง เป็นที่
นับถือยกย่อง และมี
ลูกศิษย์มาก เขาได้
พิจารณาเห็นโทษ
ของการครองเรือน
และเห็นอานิสงส์
ของการบวช

จึงนำทรัพย์ออกแจกจ่ายเป็นทาน แล้วไปอยู่ในป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี
ีฝึกสมาธิจนได้ฌานโลกีย์บรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ ๕๐๐ คน เป็นบริวาร
 ในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะ
แก่การเจริญภาวนา
ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์
เข้ามาพำนักในเมือง
พระเจ้ากรุงพาราณสี
จึงพระราชทานอุทยาน ให้เป็นสถานที่บำเพ็ญ ภาวนา
   เมื่อสิ้นฤดูฝนพระเจ้าพาราณสีเห็นว่า พระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้วจึงอาราธนา
ให้ท่านพำนักอยู่ต่อ ส่วนลูกศิษย์ ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียร ในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง

วันหนึ่งศิษย์คนโต
รู้สึกคิดถึงอาจารย์
จึงออกเดินทางไป
เยี่ยมเยียนผู้เป็น
อาจารย์ในอุทยาน
ของพระราชา

ขณะศิษย์คนโตลงนอนในสำนักพระอาจารย์ พระเจ้าพรหมทัตได้เสด็จมาถึงเพื่อกราบมนัสการฤาษีอาจารย์เช่นกัน

  ฤาษีผู้เป็นศิษย์แม้จะ
เห็นพระเจ้าพรหมทัต
ก็มิได้ลุกขึ้นเพื่อทำการ ต้อนรับ ตามมารยาท
อันดี แต่ประการใด
กลับนอนเฉยเสีย ซ้ำยัง
เปล่งอุทานออกมาอีก ว่า "สุขจริงหนอ
สุขจริงหนอ
"

พระเจ้าพรหมทัต
ทอดพระเนตรแล้ว
รู้สึกขัดเคืองพระทัย
จึงตรัสถามพระฤาษี
ีอาจารย์ว่า

  กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูก
ปองร้าย สุขที่ไม่มีภาระในการดูแลทุกข์สุข
ของราษฎร และสุขที่ไม่ตกเป็นภาระแก่ใครๆ
ให้ต้องคอยปกป้องอารักขา นับเป็นสุขชั้นแรก

  อนึ่ง สุขจากการบรรลุธรรม เป็นสุขอันเลิศที่ไม่ต้องอาศัยบุคคล
และวัตถุใดๆ นับเป็นสุขชั้นที่สอง เพราะเหตุที่ท่านมีสุขถึงเพียงนี้
จึงอดไม่ได้ที่จะเปล่งอุทานว่า "สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ"

  พระเจ้ากรุงพาราณสีฟังพระธรรม เทศนาด้วยใจที่เบิกบานแช่มชื่น เมื่อ เข้าพระทัยแล้ว ก็มิได้โกรธดาบสนั้น
  ดาบสผู้ศิษย์เองก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป
ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้ว ได้ไปบังเกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจฌานสมาบัติ
Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  

 
สุขวิหารีชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

.....หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้ว พระภัททิยะ พระอนุชา ได้เสด็จ เสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อสันตติวงศ์ แวดล้อมอยู่ด้วยราชองครักษ์ ผู้ถวายอารักขาอย่างแน่นหนาและใกล้ชิด แต่ยังพระปริวิตกต่อภยันตรายอันจะพึง เกิดจากการประทุษร้ายอยู่เนืองนิจ มิเคยมีความสงบและเป็นสุขเลย

....เมื่อออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ พระเถระเดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง แต่มีปีติและสุข ด้วยไม่ข้อง อยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่าอุทาน "สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ"

.....พระภิกษุทั้งหลายผ่านมาได้ยินเข้าจึงติเตียน และไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ ได้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงระลึกชาติแต่หนหลัง ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า

...."ท่านภัททิยะมิได้เปล่งวาจาออกมา เพราะอาลัยในราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ และก็มิใช่ต้องการอวดอ้างความเป็นพระอรหันต์ ดังที่พวกเธอทั้งหลายหลงเข้าใจหรอก นี่คือปกตินิสัยที่ท่านมีมาแต่ชาติปางก่อน

.....พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวให้ฟัง

 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

....บุคคลแม้มีจิตใจใสสะอาด แต่กิริยามารยาทยังสำรวมระวังไม่พอก็อาจมีผู้เข้าใจผิด คิดเป็นศัตรูได้ โบราณจึงเตือนว่า

      " อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา อยู่ท่ามกลางปวงประชา ให้ระวังทั้ง กาย วาจา ใจ "

 
 

Home  | นิทานชาดก