|
ลักขณชาดก |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.
พระเทวทัตเมื่อออกบวชแล้วคิดน้อยใจว่า ตนเป็นพระประยูรญาติ แต่มีคนเคารพน้อยกว่าสาวกองค์อื่นๆ ที่เป็นลูกชาวบ้าน วันหนึ่งขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์ พระเทวทัตได้ลุกขึ้นกราบทูลด้วยเสียงอันดังว่า บัดนี้พระองค์ชรามากแล้ว สมควรทรงพักผ่อน ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองคณะสงฆ์แทนเอง พระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้จึงทรงตอบว่า "ดูก่อนเทวทัต เธออย่าขวนขวายเป็นผู้ปกครองสงฆ์เลย จงหมั่นฝึกฝนอบรมตนปกครองตนเองให้ได้เสียก่อนเถิด"
.....พระเทวทัตได้ยินดังนั้น โกรธพลุ่งพล่านทันที คิดหาทางให้สงฆ์แตกแยก จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยให้คณะสงฆ์ปฏิบัติ ๕ ประการ คือ
ข้อ ๑. พระภิกษุต้องอยู่ในป่าตลอดชีวิต
ข้อ ๒. พระภิกษุต้องเที่ยวบิณฑบาตไปจนตลอดชีวิต
ข้อ ๓. พระภิกษุต้องนุ่งห่มแต่เฉพาะ ผ้าบังสุกุล ตลอดชีวิต
ข้อ ๔. พระภิกษุต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต และ
ข้อ ๕. ห้ามพระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต
.....พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติอย่างนั้น กลับทรงอนุญาตให้พระภิกษุถือปฏิบัติตามความเหมาะสม พระเทวทัตจึงประกาศว่า พระบรมศาสดาไม่ทรงเคร่งครัดในพระวินัย และประกาศแยกตัว โดยมีพระภิกษุบวชใหม่ตามไปด้วย ๕๐๐ รูป ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรไปรับกลับมา
....๑. หมู่คณะเจริญได้ ผู้นำต้องมีศีลและปฏิสันถาร ตัวอย่างของศีล ได้แก่ การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ที่สุจริต ส่วนเรื่องของการปฏิสันถาร ผู้ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ควรหมั่นให้ธรรมปฏิสันถารแก่ผู้น้อย ผู้น้อยเช่นกัน แม้ในบุคคลที่เสมอกัน ย่อมนำมาซึ่งความปลาบปลื้มและความรักใคร่เอ็นดูซึ่งกันและกัน
.....๒. บุคคลควรหมั่นฝึกตน อบรมตนให้เป็นผู้ตั้งมั่นในศีลธรรมเสียก่อน แล้วจึงสั่งสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
....๓. โทษของการทำให้สงฆ์แตกแยก
(๑) คุณธรรมใดที่ยังไม่บรรลุ ก็จะไม่บรรลุ
(๒) คุณธรรมใดแม้บรรลุแล้ว ก็จะเสื่อม
(๓) ต้องตกนรกอยู่ตลอดกัป |