หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

   ต่อมาพ่อครัวได้
เดินเข้าไปในครัว
เมื่อแรกเห็นคิดว่า
เป็นกวางธรรมดา
ทั่วไป

เมื่อพ่อครัวเห็นว่าเป็นพญากวางก็ตกใจ จากนั้นจึงรีบไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชาทรงรักษาศีลห้า และปกครองให้ประชาชนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงามโดยตลอด

ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อนกันเป็นอันมาก จึงพากันไปกราบทูลต่อพระราชา พระองค์จึงตรัสว่า
เมื่อพญากวางนิโครธทราบเรื่ืองที่เกิดขึ้น จึงเรียกประชุมกวางทั้งหลาย
กวางทั้งหลายรับคำว่าจะไม่เที่ยวกินข้าวของมนุษย์อีก พญานิโครธจึงให้ชาวบ้านทำสัญลักษณ์ผูกใบไม้ไว้ในที่นา เพื่อให้เป็นที่สังเกตของกวางจะได้ไม่เผลอเข้าไปในที่นา หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งมนุษย์และกวาง ต่างดำเนินชีวิต
ไปตามวิถีทางของตนด้วยความสงบสุข
Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  


 
นิโครธมิคชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

.....สมัยพุทธกาล ณ นครราชคฤห์ ธิดาเศรษฐีผู้หนึ่งเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม แต่กลับไม่ยินดีในความงามนั้น เฝ้าขอบิดามารดาบวชเป็นภิกษุณีเสมอแต่ไม่ได้รับอนุญาต เมื่อเจริญวัยบิดามารดาจึงให้แต่งงานกับบุตรเศรษฐี

.....วันหนึ่งที่เมืองมีงานนักขัตกฤษ์ ชาวเมืองต่างแต่งกายสวยงาม แต่ธิดาเศรษฐีกลับแต่งกายเรียบๆ บอกเหตุกับสามีว่า เพราะมองเห็นความไม่งามของร่างกาย สามีจึงกล่าวว่า ทำไมเธอจึงไม่บวชเสียเล่า? นางได้ฟังก็ยินดี สามีจึงพาไปบวชเป็นพระภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัต เมื่อบวชแล้วนางได้บำเพ็ญกิจของภิกษุณีอย่างเคร่งครัด โดยไม่รู้ตัวว่านางมีครรภ์ก่อนที่จะบวช เมื่อครรภ์ของนางโตขึ้น พระเทวทัตเกรงว่าตนจะเสื่อมเสียชื่อเสียงจึงสั่งให้นางสึก

.....นางคิดว่าตนบวชเพื่อถวายชีวิตแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่มาบวชเพื่อพระเทวทัต จึงเดินทางไปยังเชตวันมหาวิหารเพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณว่า นางเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แต่เพื่อคนทั่วไปได้ประจักษ์ จึงโปรดให้ตั้งกรรมการขึ้นพิจารณา นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ตรวจร่างกายและสอบสวนวัน เดือน ปีที่นางออกบวช ได้ความจริงว่า นางตั้งครรภ์ก่อนออกบวช นางจึงพ้นความผิด

.....ต่อมานางคลอดบุตรเป็นชายมีผิวพรรณผุดผ่อง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่า พระกุมารกัสสปะ ครั้นอายุได้ ๗ ขวบ ทราบชาติกำเนิดของตนเกิดความสลดใจ จึงออกบวช ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศในการแสดงธรรมอันวิจิตร

.....นางภิกษุณีผู้เป็นมารดา นับแต่ลูกจากไปก็ได้แต่ร้องไห้คิดถึงลูกจนไม่มีใจปฏิบัติธรรม เช้าวันหนึ่งบังเอิญได้พบพระกุมารกัสสปะ จึงร้องเรียกชื่อพระลูกชาย พระกุมารกัสสปเถระทราบว่า ถ้าหากท่านพูดด้วยถ้อยคำอันไพเราะ มารดาจะตัดความอาลัยไม่ขาด จึงพูดให้สติว่า “ท่านเที่ยวทำอะไรอยู่นะ! เวลาผ่านมาตั้งนานแล้ว ความอาลัยอาวรณ์แค่นี้ก็ยังตัดไม่ได้” นางได้ยินก็เสียใจ คิดตัดอาลัย จึงตั้งใจปฏิบัติธรรม จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ พระภิกษุได้สนทนาถึงเหตุนี้ พระบรมศาสดาทรงทราบจึงตรัสเรื่อง นิโครธมิคชาดก ดังนี้

 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

.......๑. ผู้ที่มีบุญ ย่อมมีปัญญามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง มองเห็นโทษของวัฏสงสารว่าเป็นทุกข์ แล้วหาทางที่จะออกจากทุกข์นั้น

.......๒. ผู้ที่มีความตั้งใจจะสร้างบุญบารมี ควรจะตัดความห่วงใยอาลัยรักทั้งหลายให้ได้ ถ้าตัดไม่ได้ จิตใจจะกังวล ไม่อาจบรรลุธรรมขั้นสูงได้

.......๓. บุตรควรมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณ และตอบแทนคุณ บิดามารดา

.......๔. ผู้นำที่ควรแก่การเคารพสรรเสริญนั้น นอกจากจะต้องมีความสามารถแล้ว ยังต้องมีคุณธรรมอีกด้วย

.......๕. ผู้ที่ถูกกล่าวหา จะต้องทำใจให้หนักแน่น ยึดมั่นในคุณความดี และอดทนเพื่อรอโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนถือเสียว่า “มือไม่มีแผล ย่อมไม่กลัวพิษงู ทองบริสุทธิ์อยู่ ย่อมไม่กลัวไฟลน”

 
 

Home  | นิทานชาดก