|
พกชาดกชาดก
ว่าด้วยผู้ฉลาดแกมโกง |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....ในสมัยพุทธกาล ณ เชตวันมหาวิหาร มีพระภิกษุรูปหนึ่งสามารถทำผ้าเก่าให้ดูเหมือนผ้าใหม่ได้อย่างสวยงามประณีต ความสามารถในการตัด-เย็บ-และย้อมจีวรของภิกษุรูปนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่สงฆ์ จนได้รับฉายานามว่า พระจีวรวัฑฒกะ ท่านได้ใช้ความสามารถนี้หลอกเอาผ้าเนื้อดีจากภิกษุบวชใหม่ ที่มาขอให้ท่านช่วยตัดจีวรให้ พฤติกรรมของพระจีวรวัฑฒกะรูปนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่วเชตวันมหาวิหาร
.....ณ วัดอีกแห่งหนึ่งในชนบท มีพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในการตัดเย็บจีวรอีกรูปหนึ่ง มีพฤติกรรมเช่นเดียวกับพระจีวรวัฑฒกะแห่งเชตวันฯ เมื่อพระจีวรวัฑฒกะแห่งชนบททราบดังนั้น คิดอยากลองฝีมือ จึงนุ่งห่มจีวรเก่าที่แสร้งทำให้ดูให้สวยงามมีราคาแพง แล้วออกเดินทางไปเชตวันมหาวิหารทันที
.....เมื่อพระจีวรวัฑฒกะแห่งเชตวันฯ เห็นจีวรนั้นก็เกิดความอยากได้ ใช้อุบายขอแลกจีวรนั้นกับผ้าเก่าของตน แต่บังเอิญจีวรเก่าหมด จึงต้องนำเอาผ้าใหม่เนื้อดีมาแลก เมื่อได้มาก็นำมาห่มด้วยความชื่นชม แต่เมื่อนำไปซักก็รู้ว่าถูกหลอก
.....พระภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวถึงเรื่องนี้ในธรรมสภา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้วพระพุทธองค์ทรงนำ พกชาดก มาตรัสเล่า ดังนี้
.....๑. คนเราควรพึ่งตนเองให้มากที่สุด อย่าคิดพึ่งผู้อื่น งานใดที่พอฝึกได้พอทำได้ ก็ควรฝึกควรทำเอง
.....๒. ผู้ที่มากด้วยเล่ห์กล ชอบหลอกลวงคนอื่น สักวันหนึ่งจะถูกเขาซ้อนกลให้บ้าง
.....๓. บุคคลใดคิดชั่ว ทำชั่ว ย่อมได้รบผลชั่วตอบสนองอย่างแน่นอน |