|
สัมโมทมานชาดก
ว่าด้วยโทษของการแตกสามัคคี |
|
|
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก :: |
.....กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นดินแดนของพระญาติฝ่ายพระราชบิดา และกรุงเทวทหะซึ่งเป็นดินแดนของ พระญาติฝ่ายพระราชมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีแม่น้ำใหญ่สายหนึ่งไหลผ่าน และถือเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ชาวเมืองทั้งสองต่างอาศัยน้ำจากแม่น้ำสายนี้ ทำการเกษตรกรรมเลี้ยงชีพ ด้วยความผาสุกตลอดมา
......ต่อมาในฤดูแล้งครั้งหนึ่ง น้ำในแม่น้ำได้งวดลงไปมากผิดปกติ ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นต่างฝ่ายจึงพยายาม หาวิธีกักเก็บน้ำเข้านาของตนให้มากที่สุด จนเกิดการทะเลาะวิวาทด่าทอซึ่งกันและกัน แล้วเลยลามปามถากถางไปถึง ราชตระกูลของฝ่ายตรงข้าม เรื่องราวจึงขยายตัวลุกลาม ไปจนถึงขั้นมีการจับอาวุธเข้าต่อสู้ ความขัดแย้งได้ทวีขึ้นถึงขั้นมีการกะเกณฑ์ผู้คน จนในที่สุดกษัตริย์ของทั้งสองพระนคร ถึงกับยกทัพมาประชิดชายแดน เตรียมพร้อมที่จะทำสงครามกัน
.....เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เหตุร้ายกำลังจะเกิดขึ้นกับพระญาติทั้งสองฝ่าย จึงเสด็จมายังชายแดนเพื่อจะทรงระงับศึก พระพุทธองค์ทรงซักถามถึงสาเหตุ ที่เกิดความขัดแย้งครั้งนี้ พระประญาติทั้งสองฝ่ายต่างทูลถึงสาเหตุ เมื่อพระองค์ทรงฟังแล้ว จึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสเล่าชาดกดังนี้
.....๑ . คนพาล มักโกรธง่าย และผูกเวร ดังนั้น เราควรป้องกันการทะเลาะวิวาทเสียแต่ต้นมือด้วยการระมัดระวังตัว มีสติ ไม่ทำสิ่งใดให้กระทบกระเทือนบุคคลอื่น การฝึกสมาธิแผ่เมตตาเป็นประจำ ทำให้เป็นคนโกรธได้ยาก ผู้ที่ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนหลับเป็นสุข
.....๒ . การคบบัณฑิตย่อมทำให้ห่างไกลจากภัยพาล ดังเช่นนกกระจาบที่เชื่อฟังจ่าฝูง
.....๓ . เมื่อมีการทะเลาะวิวาทกัน ควรวางตัวเป็นกลาง และหาทางไกล่เกลี่ยยุติเรื่องบาดหมางนั้นเสีย |