ธรรมชาติผู้ฟัง

วันที่ 15 ตค. พ.ศ.2558

ธรรมชาติผู้ฟัง


            อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่กัลยาณมิตรก็ไม่ได้ง่ายนัก เพราะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้ฟังว่ามีลักษณะอย่างไร นอกจากนั้นยังต้องดูประเภทของคนฟังเป็นด้วย เป็นต้นสาเหตุที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของคนฟังและดูประเภทคนฟังเป็นนั้น ก็เพื่อจะได้ให้ความรู้ คำแนะนำตามธรรมชาติของผู้ฟังว่าสนใจในเรื่องใดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีเกณฑ์ในการเลือกธรรมะสำหรับสนทนาตามธรรมชาติผู้ฟัง เป็นต้นพระภิกษุผู้มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้ฟังแต่ละประเภท ย่อมจะเข้าใจในอัธยาศัยของผู้ฟังเป็นอย่างดี ทำให้มีโอกาสพูดคุยสนทนา จนเกิดความเข้าใจในธรรมะ อยากที่จะปฏิบัติตาม จึงเหมือนเป็นการเปิดหนทางไปสู่สวรรค์ และพระนิพพาน ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ฟังทรงใคร่ครวญถึงธรรม เพื่อที่จะแสดงธรรมเป็นครั้งแรกว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเล ดุจธุลีในดวงตาน้อยก็
มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้
มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้
ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก"

 

            จากพุทธพจน์ที่กล่าวมา ย่อมชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติของผู้ฟังที่มีความแตกต่างกันสามารถจัดประเภทตามความพร้อมที่จะบรรลุธรรมของผู้ฟัง เปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของดอกบัว2 ได้ 4 ประเภท คือ
1. "อุคฆติตัญญู" คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เพียงท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง เปรียบเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันนี้
2. "วิปจิตัญญู" คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เมื่อท่านจำแนกอธิบายเนื้อหาธรรมะที่กล่าวโดยย่อ ให้ขยายความออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันพรุ่งนี้
3. "เนยยะ" คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เมื่อท่านได้แนะนำ หมั่นอธิบาย หมั่นตอบข้อสงสัยหมั่นใส่ใจธรรมโดยแยบคาย หมั่นคบหา เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตรเสมอๆ เปรียบเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันต่อๆ ไป
4. "ปทปรมะ" คือ บุคคลที่แม้จะฟังมากก็ดี ทรงจำได้มากก็ดี หรือท่านจะกล่าวสอนมากก็ดีให้ผู้อื่นสอนมากก็ดี ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมในชาตินี้ได้ เปรียบเหมือนดอกบัวใต้น้ำ ที่จะเป็นอาหารของปลาและเต่าธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น ย่อมจะบังเกิดประโยชน์เกื้อกูลในชาติปัจจุบันแก่คน 3ประเภทแรกส่วนประเภทปทปรมะนั้นจะกลายเป็นวาสนา เป็นบุญบารมีติดตัว อันจะเป็นประโยชน์ต่อไปในภพเบื้องหน้า

 

            พระภิกษุควรเข้าใจธรรมชาติของคนฟังว่า มีทั้งที่พร้อมรับฟังคำแนะนำ และพร้อมปฏิบัติตัวตามได้ กับที่ยังไม่พร้อมรับฟัง และไม่พร้อมจะปฏิบัติตัวตามความสำคัญของธรรมชาติคนฟัง ไม่ได้อยู่ที่รู้ว่าใครเป็นบุคคลประเภทใด เช่น คนนี้เป็นประเภทอุคฆติตัญู คนโน้นเป็นประเภทวิปจิตัญญู หากแต่เป็นเรื่องการดูคนที่มีความแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของแต่ละคนให้ออก ซึ่งพูดให้ง่าย ก็หมายถึงการ "ดูคนเป็น" นั่นเอง

 

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017036199569702 Mins