สวดพระปาฏิโมกข์ ปาจิตฺติยา

วันที่ 13 มค. พ.ศ.2559

สวดพระปาฏิโมกข์
ปาจิตฺติยา

590114_01.jpg
 

 

      อิเม โข ปนายสฺมนฺโต เทฺวนวุติ ปาจิตฺติยา ธมฺมา อุทฺเทสํ อาคจฺฉนฺติ. /

1. สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยํ. /

2. โอมสวาเท ปาจิตฺติยํ. /

3. ภิกฺขุเปสุญฺเญ ปาจิตฺติยํ. /

4. โย ปน ภิกฺขุ อนุปสมฺปนฺนํ / ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

5. โย ปน ภิกฺขุ อนุปสมฺปนฺเนน / อุตฺตริทฺวิรตฺตติรตฺตํ สหเสยฺยํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

6. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน / สหเสยฺยํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

7. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคามสฺส / อุตฺตริฉปฺปญฺจวาจาหิ ธมฺมํ เทเสยฺย / อญฺญตฺร วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน, ปาจิตฺติยํ. /

8. โย ปน ภิกฺขุ อนุปสมฺปนฺนสฺส / อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อาโรเจยฺย, ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ. /

9. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส / ทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ อนุปสมฺปนฺนสฺส / อาโรเจยฺย อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา, ปาจิตฺติยํ. /

10. โย ปน ภิกฺขุ ปฐวึ ขเณยฺย วา ขณาเปยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. มุสาวาทวคฺโค ปฐโม. /

11. ภูต ค า ม ป า ต พฺย ต า ย ปาจิตฺติยํ. /

12. อญฺญวาทเก วิเหสเก ปาจิตฺติยํ. /

13. อุชฺฌาปนเก ขิยฺยนเก ปาจิตฺติยํ. /

14. โย ปน ภิกฺขุ สงฺฆิกํ มญฺจํ วา / ปีฐํ วา ภิสึ วา โกจฺฉํ วา / อชฺโฌกาเส สนฺถริตฺวา วา สนฺถราเปตฺวา วา / ตํ ปกฺกมนฺโต เนว อุทฺธเรยฺย / น อุทฺธราเปยฺย อนาปุจฺฉํ วา คจฺเฉยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

15. โย ปน ภิกฺขุ สงฺฆิเก วิหาเร / เสยฺยํ สนฺถริตฺวา วา สนฺถราเปตฺวา วา / ตํ ปกฺกมนฺโต เนว อุทฺธเรยฺย / น อุทฺธราเปยฺย อนาปุจฺฉํ วา คจฺเฉยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

16. โย ปน ภิกฺขุ สงฺฆิเก วิหาเร / ชานํ ปุพฺพูปคตํ ภิกฺขุํ อนูปขชฺช เสยฺยํ กปฺเปยฺย / “ยสฺส สมฺพาโธ ภวิสฺสติ, โส ปกฺกมิสฺสตีติ / เอตเทว ปจฺจยํ กริตฺวา อนญฺญํ, ปาจิตฺติยํ. /

17. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ กุปิโต อนตฺตมโน / สงฺฆิกา วิหารา นิกฺกฑฺเฒยฺย วา นิกฺกฑฺฒาเปยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

18. โย ปน ภิกฺขุ สงฺฆิเก วิหาเร / อุปริเวหาสกุฏิยา อาหจฺจปาทกํ / มญฺจํ วา ปีฐํ วา อภินิสีเทยฺย วา อภินิปชฺเชยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

19. มหลฺลกมฺปน ภิกฺขุนา วิหารํ การยมาเนน / ยาว ทฺวารโกสา อคฺคลฏฺฐปนาย / อาโลกสนฺธิปริกมฺมาย / ทฺวิตฺติจฺฉทนสฺส ปริยายํ / อปฺปหริเต ฐิเตน อธิฏฺฐาตพฺพํ, / ตโต เจ อุตฺตรึ อปฺปหริเตปิ ฐิโต อธิฏฺฐเหยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

20. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สปฺปาณกํ / อุทกํ ติณํ วา มตฺติกํ วา / สิญฺเจยฺย วาสิญฺจาเปยฺย วา, ปาจิตฺติยํ.
      ภูตคามวคฺโค ทุติโย. /

21. โย ปน ภิกฺขุ อสมฺมโตภิกฺขุนิโย โอวเทยฺย, ปาจิตฺติยํ. / .

22.สมฺมโตปิ เจ ภิกฺขุ อตฺถงฺคเต สุริเย ภิกฺขุนิโย โอวเทยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

23. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุนูปสฺสยํ / อุปสงฺกมิตฺวา ภิกฺขุนิโย โอวเทยฺย, / อญฺญตฺร สมยา, ปาจิตฺติยํ. ตตฺถายํ
สมโย; / คิลานา โหติ ภิกฺขุนี, อยํ ตตฺถ สมโย. /

24. โย ปน ภิกฺขุ เอวํ วเทยฺย / “อามิสเหตุ ภิกฺขู ภิกฺขุนิโย โอวทนฺตีติ, ปาจิตฺติยํ. /

25. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา / จีวรํ ทเทยฺย อญฺญตฺร ปาริวฏฺฏกา, ปาจิตฺติยํ. /

26. โย ปน ภิกฺขุ อญฺญาติกาย ภิกฺขุนิยา / จีวรํ สิพฺเพยฺย วา สิพฺพาเปยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

27. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุนิยา สทฺธึ / สํวิธาย เอกทฺธานมคฺคํ ปฏิปชฺเชยฺย / อนฺตมโส คามนฺตรมฺปิ อญฺญตฺร สมยา, ปาจิตฺติยํ. / ตตฺถายํ สมโย: สตฺถคมนีโย โหติ / มคฺโค สาสงฺกสมฺมโต สปฺปฏิภโย, อยํ ตตฺถ สมโย. /

28. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุนิยา สทฺธึ / สํวิธาย เอกํ นาวํ อภิรูเหยฺย / อุทฺธคามินึ วา อโธคามินึ วา อญฺญตฺร
ติริยนฺตรณาย, ปาจิตฺติยํ. /

29. โ ย ป น ภิกฺขุ ช า นํ ภิกฺขุนีปริปาจิตํ / ปิณฺฑปาตํ ภุญฺเชยฺย อญฺญตฺร ปุพฺเพ คิหิสมารมฺภา, ปาจิตฺติยํ. /

30. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุนิยา สทฺธึ / เอโก เอกาย รโห นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ.
      โอวาทวคฺโค ตติโย. /

31. อคิลาเนน ภิกฺขุนา เอโก อาวสถปิณฺโฑ ภุญฺชิตพฺโพ; / ตโต เจ อุตฺตรึ ภุญฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

32. คณโภชเน อญฺญตฺร สมยา ปาจิตฺติยํ. / ตตฺถายํ สมโย: คิลานสมโย จีวรทานสมโย / จีวรการสมโย อทฺธานคมนสมโย / นาวาภิรูหนสมโย มหาสมโย สมณภตฺตสมโย, อยํ ตตฺถ สมโย. /

33. ปรมฺปรโภชเน อญฺญตฺร สมยา ปาจิตฺติยํ. / ตตฺถายํ สมโย: คิล า น ส ม โ ย จีว ร ท า น ส ม โ ย จีวรการสมโย, อยํ ตตฺถ สมโย. /

34. ภิกฺขุํ ปเนว กุลํ อุปคตํ ปูเวหิ วา / มนฺเถหิ วา อภิหฏฺฐุมฺปวาเรยฺย, / อากงฺขมาเนน ภิกฺขุนา ทฺวิตฺติปตฺตปูรา ปฏิคฺคเหตพฺพา: / ตโต เจ อุตฺตรึ ปฏิคฺคณฺเหยฺย, ปาจิตฺติยํ. / ทฺวิตฺติปตฺตปูเร ปฏิคฺคเหตฺวา / ตโต นีหริตฺวา ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวิภชิตพฺพํ อยํ ตตฺถ สามีจิ. /

35. โย ปน ภิกฺ ภุตฺตาวี ปวาริโต / อนติริตฺตํ ขาทนียํ วา โภชนียํ วา / ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

36. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ ภุตฺตาวึ ปวาริตํ / อนติริตฺเตน ขาทนีเยน วา โภชนีเยน วา อภิหฏฺฐุมฺปวาเรยฺย / “หนฺท ภิกฺขุ ขาท วา ภุญฺช วาติ / ชานํ อาสาทนาเปกฺโข, ภุตฺตสฺมึ ปาจิตฺติยํ. /

37. โย ปน ภิกฺขุ วิกาเล ขาทนียํ วา โภชนียํ วา / ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

38. โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการกํ ขาทนียํ วา โภชนียํ วา / ขาเทยฺย วา ภุญฺเชยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. /

39. ย า นิ โ ข ป น ต า นิ ปณีตโภชนานิ, เสยฺยถีทํ: / สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ / มจฺโฉ มํสํ ขีรํ ทธิ, / โย ปน ภิกฺขุ เอวรูปานิ ปณีตโภชนานิ / อคิลาโน อตฺตโน อตฺถาย วิญฺญาเปตฺวา ภุญฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

40. โย ปน ภิกฺขุ อทินฺนํ มุขทฺวารํ อาหารํ อาหเรยฺย / อญฺญตฺร อุทกทนฺตโปณา, ปาจิตฺติยํ. 
      โภชนวคฺโค จตุตฺโถ. /

41. โย ปน ภิกฺขุ อเจลกสฺส วา ปริพฺพาชกสฺส วา / ปริพฺพาชิกาย วา สหตฺถา ขาทนียํ วา โภชนียํ  วา ทเทยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

42. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ เอวํ วเทยฺย / “เอหาวุโส คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย ปวิสิสฺสามาติ. / ตสฺส ทาเปตฺวา วา
อทาเปตฺวา วา อุยฺโยเชยฺย / “คจฺฉาวุโส, น เม ตยา สทฺธึ กถา วา นิสชฺชา วา ผาสุ โหติ, / เอกกสฺส เม กถา วา นิสชฺชา วา ผาสุ โหตีติ, / เอตเทว ปจฺจยํ กริตฺวา อนญฺญํ, ปาจิตฺติยํ. /

43. โย ปน ภิกฺขุ สโภชเน กุเล / อนูปขชฺช นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

44. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน สทฺธึ / รโห ปฏิจฺฉนฺเน อาสเน นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

45. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน สทฺธึ / เอโก เอกาย รโห นิสชฺชํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

46. โย ปน ภิกฺขุ นิมนฺติโต สภตฺโต สมาโน, / สนฺตํ ภิกฺขุํ อนาปุจฺฉา ปุเรภตฺตํ วา ปจฺฉาภตฺตํ วา / กุเลสุ
จาริตฺตํ อาปชฺเชยฺย, อญฺญตฺร สมยา, ปาจิตฺติยํ. / ตตฺถายํ สมโย: จีวรทานสมโย จีวรการสมโย, อยํ ตตฺถ สมโย. /

47. อคิลาเนน ภิกฺขุนา จาตุมาสปจฺจยปวารณา สาทิตพฺพา / อญฺญตฺร ปุนปวารณาย, อญฺญตฺร นิจฺจปวารณาย, /
ตโต เจ อุตฺตรึ สาทิเยยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

48. โย ปน ภิกฺขุ อุยฺยุตฺตํ เสนํ ทสฺสนาย คจฺเฉยฺย / อญฺญตฺร ตถารูปปจฺจยา, ปาจิตฺติยํ. /

49. สิยา จ ตสฺส ภิกฺขุโน โกจิเทว ปจฺจโย เสนํ คมนาย, / ทฺวิรตฺตติรตฺตํ เตน ภิกฺขุนา เสนาย วสิตพฺพํ. / ตโต
เจ อุตฺตรึ วเสยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

50. ทฺวิรตฺตติรตฺตญฺเจ ภิกฺขุ เสนาย วสมาโน / อุยฺโยธิกํ วา พลคฺคํ วา เสนาพฺยูหํ วา / อนีกทสฺสนํ วา
คจฺเฉยฺย, ปาจิตฺติยํ.
      อเจลกวคฺโค ปญฺจโม. /

51. สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ. /

52. องฺคุลิปโตทเก ปาจิตฺติยํ. /

53. อุทเก หสฺสธมฺเม ปาจิตฺติยํ. /

54. อนาทริเย ปาจิตฺติยํ. /

55. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ ภึสาเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

56. โย ปน ภิกฺขุ อคิลาโน วิสีวนาเปกฺโข โชตึ / สมาทเหยฺย วา สมาทหาเปยฺย วา อญฺญตฺร ตถารูปปจฺจยา, ปาจิตฺติยํ. /

57. โย ปน ภิกฺขุ โอเรนฑฺฒมาสํ นฺหาเยยฺย / อญฺญตฺร สมยา, ปาจิตฺติยํ. / ตตฺถายํ สมโย: ทิยฑฺโฒ มาโส เสโส
คิมฺหานนฺติ / วสฺสานสฺส ปฐโม มาโส อิจฺเจเต อฑฺฒเตยฺยมาสา / อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย คิลานสมโย / กมฺมสมโย อทฺธานคมนสมโย วาตวุฏฺฐิสมโย. อยํ ตตฺถ สมโย. /

58. นวมฺปน ภิกฺขุนา จีวรลาเภน ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ / อญฺญตรํ ทุพฺพณฺณกรณํ อาทาตพฺพํ / นีลํ วา
กทฺทมํ วา กาฬสามํ วา, / อนาทา เจภิกฺขุ ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ / อญฺญตรํ ทุพฺพณฺณกรณํ นวํ จีวรํปริภุญฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

59. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส วา ภิกฺขุนิยา วา / สิกฺขมานาย วา สามเณรสฺส วา สามเณริยา วา / สามํ จีวรํ วิกปฺเปตฺวา อปจฺจุทฺธารกํ ปริภุญฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

60. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส ปตฺตํ วา จีวรํ วา / นิสีทนํ วา สูจิฆรํ วา กายพนฺธนํ วา / อปนิเธยฺย วา อปนิธาเปยฺย วา / อนฺตมโส หสฺสาเปกฺโขปิ, ปาจิตฺติยํ.
      สุราปานวคฺโค ฉฏฺโฐ. /

61. โย ปน ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

62. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สปฺปาณกํ อุทกํ ปริภุญฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

63. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ ยถาธมฺมํ นีหตาธิกรณํ / ปุนกมฺมาย อุกฺโกเฏยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

64. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส ชานํ / ทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ ปฏิจฺฉาเทยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

65. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ อูนวีสติวสฺสํ ปุคฺคลํ อุปสมฺปาเทยฺย, / โส จ ปุคฺคโล อนุปสมฺปนฺโน, / เต จ ภิกฺขู คารยฺหา, อิทํ ตสฺมึ ปาจิตฺติยํ. /

66. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ เถยฺยสตฺเถน สทฺธึ / สํวิธาย เอกทฺธานมคฺคํ ปฏิปชฺเชยฺย / อนฺตมโส คามนฺตรมฺปิ, ปาจิตฺติยํ. /

67. โย ปน ภิกฺขุ มาตุคาเมน สทฺธึ / สํวิธาย เอกทฺธานมคฺคํ ปฏิปชฺเชยฺย / อนฺตมโส คามนฺตรมฺปิ, ปาจิตฺติยํ. /

68. โย ปน ภิกฺขุ เอวํ วเทยฺย / “ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ; / ยถา เยเม อนฺตรายิกา ธมฺมา วุตฺตา ภควตา, / เต ปฏิเสวโต นาลํ อนฺตรายายาติ, / โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย / “มา อายสฺมา เอวํ อวจ, มา ภควนฺตํ อพฺภาจิกฺขิ; / น หิ สาธุ ภควโต อพฺภกฺขานํ, น หิ ภควา เอวํ วเทยฺย; / อเนกปริยาเยน อาวุโส อนฺตรายิกา ธมฺมา วุตฺตา ภควตา, / อลญฺจ ปน เต ปฏิเสวโต อนฺตรายายาติ; /

      เอวญฺจ โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน ตเถว ปคฺคณฺเหยฺย, / โส ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ยาวตติยํ สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏิ-นิสฺสคฺคาย; / ยาวตติยญฺเจ สมนุภาสิยมาโน ตํ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย, / อิจฺเจตํ กุสลํ, โน เจ ปฏินิสฺสชฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

69. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ ตถาวาทินา ภิกฺขุนา / อกฏานุธมฺเมน ตํ ทิฏฺฐึ อปฺปฏินิสฺสฏฺเฐน สทฺธึ / สมฺภุญฺเชยฺย วา สํวเสยฺย วา สห วา เสยฺยํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

70. สมณุทฺเทโสปิ เจ เอวํ วเทยฺย / “ตถาหํ ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ; / ยถา เยเม อนฺตรายิกา ธมฺมา วุตฺตา ภควตา, / เต ปฏิเสวโต นาลํ อนฺตรายายาติ / โส สมณุทฺเทโส ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย / “มา อาวุโส สมณุทฺเทส เอวํ อวจ, / มา ภควนฺตํ อพฺภาจิกฺขิ, / น หิ สาธุ ภควโต อพฺภกฺขานํ, น หิ ภควา เอวํ วเทยฺย. / อเนกปริยาเยน อาวุโส สมณุทฺเทส อนฺตรายิกา ธมฺมา วุตฺตา ภควตา, อลญฺจ ปน เต ปฏิเสวโต อนฺตรายายาติ; /

      เอวญฺจ โส สมณุทฺเทโส ภิกฺขูหิ วุจฺจมาโน ตเถว ปคฺคณฺเหยฺย, / โส สมณุทฺเทโส ภิกฺขูหิ เอวมสฺส วจนีโย / “อชฺชตคฺเค เต อาวุโส สมณุทฺเทส / น เจว โส ภควา สตฺถา อปทิสิตพฺโพ; / ยมฺปิ จญฺเญ สมณุทฺเทสา ลภนฺติ / ภิกฺขูหิ สทฺธึ ทฺวิรตฺตติรตฺตํ สหเสยฺยํ, / สาปิ เต นตฺถิ; จร ปิเร วินสฺสาติ. / โย ปน ภิกฺขุ ชานํ ตถานาสิตํ / สมณุทฺเทสํ อุปลาเปยฺย วา อุปฏฺฐาเปยฺย วา สมฺภุญฺเชยฺย วา / สห วา เสยฺยํ กปฺเปยฺย, ปาจิตฺติยํ.
      สปฺปาณวคฺโค สตฺตโม. /

71. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ สหธมฺมิกํ วุจฺจมาโน เอวํ วเทยฺย / “น ตาวาหํ อาวุโส เอตสฺมึ สิกฺขาปเท สิกฺขิสฺสามิ, / ยาว นญฺญํ ภิกฺขุํ พฺยตฺตํ วินยธรํ ปริปุจฺฉามีติ, ปาจิตฺติยํ. / สิกฺขมาเนน ภิกฺขเว ภิกฺขุนา อญฺญาตพฺพํ / ปริปุจฺฉิตพฺพํ ปริปญฺหิตพฺพํ, อยํ ตตฺถ สามีจิ. /

72. โย ปน ภิกฺขุ ปาฏิโมกฺเข อุทฺทิสฺสมาเน เอวํ วเทยฺย / “กิมฺปนิเมหิ ขุทฺทานุขุทฺทเกหิ สิกฺขาปเทหิ อุทฺทิฏฺเฐหิ, / ยาวเทว กุกฺกุจฺจาย วิเหสาย วิเลขาย สํวตฺตนฺตีติ, / สิกฺขาปทวิวณฺณนเก ปาจิตฺติยํ. /

73. โย ปน ภิกฺขุ อนฺวฑฺฒมาสํ ปาฏิโมกฺเข อุทฺทิสฺสมาเน เอวํ วเทยฺย / “อิทาเนว โข อหํ อาชานามิ / ‘อยมฺปิ
กิร ธมฺโม สุตฺตาคโต สุตฺตปริยาปนฺโน / อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉตีติ; / ตญฺเจ ภิกฺขุํ อญฺเญ ภิกฺขู ชาเนยฺยุํ /
“นิสินฺนปุพฺพํ อิมินา ภิกฺขุนา ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ / ปาฏิโมกฺเข อุทฺทิสฺสมาเน โก ปน วาโท ภิยฺโยติ, / น จ ตสฺส
ภิกฺขุโน อญฺญาณเกน มุตฺติ อตฺถิ; / ยญฺจ ตตฺถ อาปตฺตึ อาปนฺโน, / ตญฺจ ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ; / อุตฺตริญฺจสฺส โมโห อาโรเปตพฺโพ / “ตสฺส เต อาวุโส อลาภา, ตสฺส เต ทุลฺลทฺธํ; / ยํ ตฺวํ ปาฏิโมกฺเข อุทฺทิสฺสมาเน / น สาธุกํ อฏฺฐิกตฺวา มนสิกโรสีติ; / อิทํ ตสฺมึ โมหนเก ปาจิตฺติยํ. /

74. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส กุปิโต / อนตฺตมโน ปหารํ ทเทยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

75. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส กุปิโต / อนตฺตมโน ตลสตฺติกํ อุคฺคิเรยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

76. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อมูลเกน / สงฺฆาทิเสเสน อนุทฺธํเสยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

77. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขุสฺส สญฺจิจฺจ กุกฺกุจฺจํ อุปทเหยฺย / “อิติสฺส มุหุตฺตมฺปิ อผาสุ ภวิสฺสตีติ / เอตเทว
ปจฺจยํ กริตฺวา อนญฺญํ, ปาจิตฺติยํ. /
78. โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขูนํ ภณฺฑนชาตานํ / กลหชาตานํ วิวาทาปนฺนานํ อุปสฺสุตึ ติฏฺเฐยฺย / “ยํ อิเม ภณิสฺสนฺติ,
ตํ โสสฺสามีติ / เอตเทว ปจฺจยํ กริตฺวา อนญฺญํ, ปาจิตฺติยํ. /

79. โย ปน ภิกฺขุ ธมฺมิกานํ กมฺมานํ ฉนฺทํ ทตฺวา / ปจฺฉา ขิยฺยนธมฺมํ อาปชฺเชยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

80. โย ปน ภิกฺขุ สงฺเฆ วินิจฺฉยกถาย วตฺตมานาย / ฉนฺทํ อทตฺวา อุฏฺฐายาสนา ปกฺกเมยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

81. โย ปน ภิกฺขุ สมคฺเคน สงฺเฆน จีวรํ ทตฺวา / ปจฺฉา ขิยฺยนธมฺมํ อาปชฺเชยฺย / “ยถาสนฺถุตํ ภิกฺขู สงฺฆิกํ ลาภํ ปริณาเมนฺตีติ, ปาจิตฺติยํ. /

82. โย ปน ภิกฺขุ ชานํ สงฺฆิกํ ลาภํ ปริณตํ / ปุคฺคลสฺส ปริณาเมยฺย, ปาจิตฺติยํ.
      สหธมฺมิกวคฺโค อฏฺฐโม. /

83. โย ปน ภิกฺขุ รญฺโญ ขตฺติยสฺส มุทฺธาภิสิตฺตสฺส / อนิกฺขนฺตราชเก อนิคฺคตรตนเก / ปุพฺเพ อปฺปฏิสํวิทิโต
อินฺทขีลํ อติกฺกาเมยฺย, ปาจิตฺติยํ. /

84. โย ปน ภิกฺขุ รตนํ วา รตนสมฺมตํ วา / อญฺญตฺร อชฺฌารามา วา อชฺฌาวสถา วา / อุคฺคณฺเหยฺย วา
อุคฺคณฺหาเปยฺย วา, ปาจิตฺติยํ. / รตนํ วา ปน ภิกฺขุนา รตนสมฺมตํ วา / อชฺฌาราเม วา อชฺฌาวสเถ วา / อุคฺคเหตฺวา วา อุคฺคณฺหาเปตฺวา วา นิกฺขิปิตพฺพํ / “ยสฺส ภวิสฺสติ, โส หริสฺสตีติ, อยํ ตตฺถ สามีจิ. /

85. โย ปน ภิกฺขุ สนฺตํ ภิกฺขุํ อนาปุจฺฉา วิกาเล คามํ ปวิเสยฺย / อญฺญตฺร ตถารูปา อจฺจายิกา กรณียา, ปาจิตฺติยํ. /

86. โย ปน ภิกฺขุ อฏฺฐิมยํ วา ทนฺตมยํ วา / วิสาณมยํ วา สูจิฆรํ การาเปยฺย, เภทนกํ ปาจิตฺติยํ. /

87. นวมฺปน ภิกฺขุนา มญฺจํ วา ปีฐํ วา / การยมาเนน อฏฺฐงฺคุลปาทกํ กาเรตพฺพํ / สุคตงฺคุเลน อญฺญตฺร เหฏฺฐิมาย อฏนิยา, / ตํ อติกฺกามยโต เฉทนกํ ปาจิตฺติยํ. /

88. โย ปน ภิกฺขุ มญฺจํ วา ปีฐํ วา / ตูโลนทฺธํ การาเปยฺย, อุทฺทาลนกํ ปาจิตฺติยํ. /

89. นิสีทนมฺปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปมาณิกํ กาเรตพฺพํ: / ตตฺริทํ ปมาณํ: ทีฆโส เทฺว วิทตฺถิโย สุคตวิทตฺถิยา, / ติริยํ ทิยฑฺฒํ, ทสา วิทตฺถิ. / ตํ อติกฺกามยโต เฉทนกํ ปาจิตฺติยํ. /

90. กณฺฑุปฏิจฺฉาทึ ปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปมาณิกา กาเรตพฺพา: / ตตฺริทํ ปมาณํ: ทีฆโส จตสฺโส วิทตฺถิโย / สุคตวิทตฺถิยา ติริยํ เทฺว วิทตฺถิโย, / ตํ อติกฺกามยโต เฉทนกํ ปาจิตฺติยํ. /

91. วสฺสิกสาฏิกํ ปน ภิกฺขุนา การยมาเนน ปมาณิกา กาเรตพฺพา; / ตตฺริทํ ปมาณํ: ทีฆโส ฉ วิทตฺถิโย /
สุคตวิทตฺถิยา ติริยํ อฑฺฒเตยฺยา, / ตํ อติกฺกามยโต เฉทนกํ ปาจิตฺติยํ. /

92. โย ปน ภิกฺขุ สุคตจีวรปฺปมาณํ จีวรํ การาเปยฺย / อติเรกํ วา, เฉทนกํ ปาจิตฺติยํ. / ตตฺริทํ สุคตสฺส
สุคตจีวรปฺปมาณํ: / ทีฆโส นว วิทตฺถิโย สุคตวิทตฺถิยา / ติริยํ ฉ วิทตฺถิโย, อิทํ สุคตสฺส สุคตจีวรปฺปมาณํ.

รตนวคฺโค นวโม. / 

อุทฺทิฏฺฐา โข อายสฺมนฺโต เทฺวนวุติ ปาจิตฺติยา ธมฺมา. /

ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /

ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /

ตติยมฺปิ ปุจฺฉามิ: กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? /

ปริสุทฺเธตฺถายสฺมนฺโต; ตสฺมา ตุณฺหี, / เอวเมตํ ธารยามิ.

ปาจิตฺติยา นิฏฺฐิตา. /

 

117770658.jpg


คำแปล ความหมาย ปาจิตฺติยา

ทานทั้งหลายธรรมชื่อว่า ปาจิตตีย์ ๙๒ เหลานี้แลย่อมมาสู่อุทเทส
1.เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชาน มุสาวาท(กล่าวเท็จทั้งรู้ตัว)
2.เป็นปาจิตตีย์ในเพราะโอมสวาท
3.เป็นปาจิตตีย์ในเพราะส่อเสียดภิกษุ
4.อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบัน ให้ กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์. 
5.อนึ่งภิกษุใด สําเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์ 
6. อนึ่ง ภิกษุใด สําเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
7. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๕-๖ คํา เว้นไว้แต่บุรุษผู้รู้เดียงสา ( มีอยู่ ) เป็นปาจิตตีย์. 
8. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอุตตริมนุสสธรรม(ของตน) แก่อนุปสัมบันเป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง
9. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์.
10๑๐. อนึ่ง ภิกษุใดขุดก็ดีให้ขุดก็ดีซึ่งปฐพี เป็นปาจิตตีย์. 
มุสาวาทวรรคที่๑ (จบ)
11. เป็นปาจิตตีย์. ในเพราะความถูก พรากแห่งภูตคาม. 
12. เป็นปาจิตตีย์. ในเพราะความเป็นผู้ กล่าวคําอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลําบาก.
13. เป็นปาจิตตีย์. ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า
14. อนึ่ง ภิกษุใดวางไว้แล้วก็ดีให้ วางไว้แล้วก็ดีซึ่งเตียงก็ดีตั่งก็ดีฟูกก็ดี เก้าอี้ก็ดีอันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง. เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดีไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น หรือไม่บอกสั่งไป เสีย เป็นปาจิตตีย์. 
15. อนึ่ง ภิกษุใด ปูแล้วก็ดีให้ปูแล้ว ก็ดี ซึ่งที่นอน ในวิหารเป็นของสงฆ์ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บก็ดีไม่ให้เก็บก็ดีซึ่ง ที่นอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกสั่งไปเสียเป็นปาจิตตีย์
16. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่สําเร็จการนอน เข้าไปเบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน ในวิหารของ สงฆ์ด้วยหมายว่าความคับแคบจักมีแก่ผู้ใดผู้นั้นจะหลีกไปเอง ทําความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์
17. อนึ่ง ภิกษุใดโกรธขัดใจฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดีซึ่งภิกษุจากวิหารของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์
18. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดีนอนทับก็ดีซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดีอันมีเท่าเสียบ(ในตัวเตียง) บนร้าน ในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์. 
19. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทําซึ่งวิหารใหญ่จะวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตูจะบริกรรมช่องหน้าต่าง พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียวอํานวย (ให้พอก) ได้ ๒-๓ ชั้น ถ้าเธออํานวย (ให้พอก) ยิ่งกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของสดเขียว ก็เป็นปาจิตตีย์.
20. ภูตคามวรรคที่ ๒ (จบ).   
21. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์
22. ถ้าภิกษุได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณีเป็นปาจิตตีย์
23. อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปสู่ที่อาศัยแห่ง ภิกษุณีแล้ว สั่งสอน พวกภิกษุณี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้ คือ ภิกษุณีอาพาธ สมัยในเรื่องนั้น ดังนี้:
24. อนึ่ง ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี เพราะเหตุอามิส" เป็นปาจิตตีย์.
25. อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณี ผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน เป็นปาจิตตีย์. 
26. อนึ่ง ภิกษุใดเย็บก็ดีให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์
27. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนกันแล้วเดินทางไกลด้วยกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้น้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้น ดังนี้: คือทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน รู้กันว่าเป็นที่น่ารังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า นี้สมัยในเรื่องนั้น
28.อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้วขึ้นเรือ ลําเดียวกับภิกษุณี ขึ้นน้ําไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็นปาจิตตีย์.
29.อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนําให้ถวายเว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์. 
30.อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียว สําเร็จการนั่ง ในที่ลับตากับภิกษุณีผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.
โอวาทวรรคที่๓ (จบ). 
31.ภิกษุผู้มิใช่อาพาธ พึงฉันอาหารใน โรงทานได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
32. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. ในเพราะฉันเป็นหมู่. นี้สมัยในเรื่องนั้น คือคราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร
คราวที่ทําจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่ขึ้นเรือไป คราวใหญ่ คราวภัตต์ ของสมณะนี้สมัยในเรื่องนั้น
33. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์.ในเพราะโภชนะทีหลัง. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือคราวเป็นไข้คราวถวายจีวรคราวทําจีวร, นี้สมัยในเรื่องนั้น. 
34. อนึ่ง เขาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปสู่ สกุล ด้วยขนมก็ดี ด้วยสัตตุผงก็ดี เพื่อนําไปได้ตามปรารถนาภิกษุผู้ต้องการ พึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตรถ้ารับยิ่งกว่านี้น เป็นปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว นําออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
35. อนึ่ง ภิกษุใด ฉันเสร็จห้ามเสียแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉัน็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์
36. อนึ่ง ภิกษุใด นําไปปวารณาภิกษุ ผู้ฉันเสร็จ ห้ามเสียแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดีด้วยของฉันก็ดี อันมิใช่เดน บอกว่า " เอาเถิด ภิกษุ เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม"รู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้ พอเธอฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์.
37. อนึ่ง ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดีซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ในเวลาวิกาลเป็นปาจิตตีย์. 
38. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดีซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ทําการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์.
39. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธขอโภขนะอันประณีตเห็นปานนี้ เช่นเนยในเนยข้น น้ำมัน น้ําผึ้ง น้ําอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมข้น เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็น ปาจิตตีย์.
40. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ให้ ล้วงช่องปากเว้นไว้แต่น้ำและไม่ชําระฟัน เป็นปาจิตตีย์.
โภชนวรรคที่ ๔ (จบ).
41. อนึ่ง ภิกษุใดให้ของเคี้ยวก็ดี ของกินก็ดีแก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดีแก่ปริพาชิกาก็ดีด้วยมือของตนเป็นปาจิตติย์.
42. อนึ่ง ภิกษุใดกล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า " ท่านจงมา เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคม เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน" เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอแล้วส่งไป (ด้วยคํา) ว่า"ท่านจงไปเสีย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุกเลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียวย่อมเป็นผาสุก" ทําความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
43. อนึ่ง ภิกษุใด สําเร็จการนั่งแทรกแซงในสโภชนสกุล เป็นปาจิตตีย์.
44. อนึ่ง ภิกษุใด สําเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกําบังกับมาตุคามเป็นปาจิตตีย์.
45. อนึ่ง ภิกษุใดผู้เดียวสําเร็จการนั่งในที่ลับตากับมาตุคามผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.
46. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตต์อยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดีเว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือคราวที่ถวายจีวร คราวที่ทําจีวร, นี้สมัยในเรื่องนั้น.
47. ภิกษุใด ไม่ใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย เพียง ๔ เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น อนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
48. ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้ว เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนี้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์. 
49. ก็ถ้าปัจจัยบางอย่าง เพื่อจะไปสู่เสนามีแก่ภิกษุนั้นภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
50. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูหมู่อนึกคือ ช้าง ม้า รถ พลเดิน อันจัดเป็นกอง ๆ แล้วก็ดี เป็นปาจิตตีย์. 
อเจลกวรรคที่ ๕ (จบ).
51. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย
52. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.
53. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรม คือ หัวเราะในน้ํา ( หมายเอาเล่นน้ำ)
54. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.
55. อนึ่ง ภิกษุใดหลอนภิกษุ* เป็นปาจิตตีย์. 
56. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธมุ่งการผิง ติดก็ดี ให้ติดก็ดี ซึ่งไฟ เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
57. อนึ่ง ภิกษุใดยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำ เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์. สมัยในเรื่องนั้นดังนี้: คือ "เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อนเดือนต้นแห่งฤดูฝน" ๒ เดือนกึ่งนี้ เป็นคราวร้อน เป็นคราวกระวนกระวายคราวเจ็บไข้ คราวทําการงานคราวไปทางไกล คราวฝนมากับพายุนี้สมัยในเรื่องนั้น.
58. อนึ่ง ภิกษุ ได้จีวรมาใหม่พึงถือเอาวัตถุสําหรับทําให้เสียสี๓ อย่างๆ ใด อย่างหนึ่งือของเขียวครามก็ได้ ตมก็ได้ ของดําคล้ำก็ได้ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสําหรับทําให้เสียสี ๓ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง ใช่จีวรใหม่ เป็นปาจิตตีย์.
59. อนึ่ง ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง แก่ภิกษุก็ดี แก่ภิกษุณีก็ดี แก่นางสิกขมานาก็ดี แก่สามเณรก็ดี แก่นางสามเณรีก็ดีแล้วใช่สอย (จีวรนั้น) ไม่ให้เขาถอนก่อนเป็นปาจิตตีย์.
60. อนึ่ง ภิกษุใด ซ้อนก็ดี ให้ซ้อนก็ดีซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคดเอวก็ดี แห่งภิกษุโดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ เป็นปาจิตตีย์.
สุราปานวรรคที่๖ (จบ).
61. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็นปาจิตตีย์.
62. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่บริโภคน้ํามีตัวสัตว์ เป็นปาจิตตีย์
63. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ฟื้นอธิกรณ์ที่ทําเสร็จแล้วตามธรรม เพื่อทําอีก เป็นปาจิตตีย์.
64. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ปิดอาบัติชั่ว หยาบของภิกษุ เป็นปาจิตตีย์
65. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท บุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วยภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วยนี้เป็นปาจิตตีย์ ในเรื่องนั้น.
66. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่าง ผู้เป็นโจรโดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
67. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้วเดินทาง ไกลสายเดียวกันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
68. อนึ่ง ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการว่า เป็นธรรมทําอันตรายได้อย่างไรธรรมนั้นหาอาจทําอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง)ไม่" ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้นท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระเจ้าไม่ดีดอก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลยแน่ะเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันทําอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมนั้นอาจทําอันตรายแก่ผู้เสพได้(จริง) แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออย่างนั้นแลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่ ๓ เพื่อสละการนั้นเสียถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่ ๓ สละการนั้นเสีย การสละได้ดังนี้ เป็นการดีถ้าไม่สละ เป็นปาจิตตีย์
69. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ ร่วมก็ดี สําเร็จการนอนด้วยกันก็ดี กับภิกษุ ผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทําธรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น เป็น ปาจิตตีย์. 
70. ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้ารู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทําอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้นหาอาจทําอันตรายแก่ผู้เสพได้((จริง)ไม่" สมณุถทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้ว่า"สมณุทเทส เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอกพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย แน่ะสมณุทเทส เธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทําอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมากก็แลธรรมเหล่านั้น อาจทําอันตรายแก่ผู้เสพได้(จริง) แลสมณุทเทสนั้น อันภิกษุ ทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ขืนถืออย่างนั้นเทียวสมณุทเทสนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า "แน่ะสมณุทเทส เธออย่าอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป แลพวกสมณุทเทสอื่น ย่อมได้การนอนร่วมเพียง ๒-๓ คืน กับภิกษุทั้งหลายอันใดแม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ เจ้าคนเสียเจ้าจงไปเสียเจ้าจงฉิบหายเสีย" แลภิกษุใดรู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้วก็ดีให้อุปฐากก็ดีกินร่วมก็ดีสําเร็จการนอนร่วมก็ดีเป็นปาจิตตีย์. 
สัปปาณวรรคที่ ๗ (จบ)
71. ภิกษุใดอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม กล่าวอย่างนี้ว่า"แน่ะเธอ ฉันจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้กว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาดผู้ทรงวินัย" เป็นปาจิตตีย์ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) อันภิกษุศึกษาอยู่ ควรรู้ถึงควรสอบถาม ควรตริตรองนี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
72. อนึ่ง ภิกษุใดเมื่อมีใครสวดปาฏิโมกข์อยู่กล่าวอย่างนี้ว่า"ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อย เหล่านี้ ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรําคาญ เพื่อความลําบากเพื่อความยุ่งยิ่งนี่กระไร? เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท. 
73. อนึ่ง ภิกษุใดเมื่อปฏิโมกข์สวดอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า"ฉันพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่าเออ ธรรมแม้นี้ ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตรมาสู่อุเทส ( คือการสวด ) ทุกกึ่งเดือน" ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า"ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาฏิโมกข์กําลังสวดอยู่ ๒-๓ คราวมาแล้วกล่าวอะไรอีก" ความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้ หามีแก่ภิกษุนั้นไม่พึงปรับเธอตามด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่องนั้นและพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า"แน่ะเธอไม่ใช่ลาภของเธอเธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่า เมื่อปาฏิโมกข์กําลังสวดอยู่เธอหาทําในใจให้สําเร็จประโยชน์ดีไม่" นี้เป็นปาจิตตีย์ ในความผู้เป็นแสร้งทําหลงนั้น 
74. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธน้อยใจให้ประหารแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ .
75. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธน้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ .
76. อนึ่ง ภิกษุใดกําจัด ( คือโจท ) ภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้ เป็นปาจิตตีย์ 
77. อนึ่ง ภิกษุใดแกล้งก่อความรําคาญแก่ภิกษุด้วยหมายว่า " ด้วยเช่นนี้ ความไม่ผาสุกจักมีแก่เธอ แม้ครู่หนึ่ง"
ทําความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็น ปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์ .
78. อนึ่ง ภิกษุใดเมื่อภิกษุทั้งหลายเกิดหมางกัน เกิดทะเลาะกัน ถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟังด้วยหมายว่า "จักได้ฟังคําที่เธอพูดกัน" ทําความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
79. อนึ่ง ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้วถึงธรรมคือการบ่นว่าในภายหลัง เป็นปาจิตตีย์ .
80. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงินิจฉัยยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย เป็นปาจิตตีย์.
81. อนึ่ง ภิกษุใด(พร้อมใจ) ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร(แก่ภิกษุ) แล้วภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่าว่า"ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ" เป็นปาจิตตีย์.
82. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล เป็นปาจิตตีย์.
สหธรรมมิกวรรคที่ ๘ (จบ) 
83. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับบอกก่อนก้าวล่วงธรณีเข้าไป(ในห้อง) ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมฤธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่เสด็จออก ที่รตนะยังไม่ออกเป็นปาจิตตีย์ .
84. อนึ่ง ภิกษุใดเก็บเอาก็ดีให้เก็บเอาก็ดีซึ่งรตนะก็ดีซึ่งของที่สมมติว่าเป็นรตนะก็ดีเว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดีในที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์.แลภิกษุเก็บเอาก็ดีให้เก็บเอาก็ดีซึ่งรตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารตนะก็ดีในวัดที่อยู่ก็ดีในที่อยู่พักก็ดีแล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า" ของผู้ใดผู้นั้นจักได้เอาไป" นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
85. อนึ่ง ภิกษุใดไม่อําลาภิกษุผู้มีอยู่แล้วเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาลเว้นไว้แต่กิจรีบ(คือธุระร้อน) มีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์. 
86. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทํากล่องเข็มแล้วด้วยกระดูกก็ดี แล้วด้วยงาก็ดี แล้วด้วยเขาก็ดีเป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยเสีย.
87. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทําเตียงก็ดีตั่งก็ดี ใหม่พึงทําให้มีเท่าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม้แคร่เบื้องต่ํา
เธอทําให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
88. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทําเตียงก็ดีตั่งก็ดีเป็นของหุ้มนุ่น (คือยัดนุ่น) เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย. 
89. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทําผ่าสําหรับนั่ง พึงให้ทําให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคํานั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบหนึ่ง ชายคืบครึ่งด้วยคืบสุคตเธอทําให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย. 
90. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทําผ่าปิดฝีพึงให้ทําให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคํานั้นโดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่งด้วยคืบสุคตเธอทําให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย.
91. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทําผ่าอาบน้ําฝนพึงทําให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคํานั้นโดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่งด้วยคืบสุคตเธอทําให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย. 
92. อนึ่ง ภิกษุใดให้ทําจีวร มีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เปนปาจิตตีย์ให้ตัดเสีย. นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคํานั้นโดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต
รตนวรรคที่ ๙ (จบ) 

      ท่านผู้มีอายุทั้งหลายธรรมชื่อปาจิตตีย์ ๙๒ ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่๒
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?
ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่๓
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ? 
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านี้แล้ว
เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.
ปาจิตตีย์ จบ. 

 

 


อ้างอิงบทสวดและคำแปลจาก 
http://www.dmc.tv/forum/uploads/post-323-1156305445.ipb

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011818488438924 Mins