ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา

วันที่ 25 สค. พ.ศ.2559

ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา

ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , ศาสนาแห่งปัญญา , ความรู้ครอบคลุมสรรพศาสตร์


   พระพุทธศาสนามีลักษณะพิเศษมากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวเพียง 4 ประการซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวโลกสัมผัสได้ทั่วไป ยังไม่เจาะลึกถึงธรรมขั้นสูงที่จะพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม ลักษณะพิเศษเหล่านี้จะกล่าวเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาเทวนิยมซึ่งนับถือเทวดาหรือพระเจ้าเป็นที่พึ่ง โดยจะนำประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงมาอ้างอิง บางประเด็นก็จะเปรียบเทียบกับความรู้ทางโลก การเปรียบเทียบนี้ ไม่มีวัตถุประสงค์ในการว่าร้ายศาสนาอื่นแล้ว สรรเสริญศาสนาของตน แต่เป็นเพียงการนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมากล่าวถึงเท่านั้น เปรียบเสมือนนักข่าวผู้มีจรรยาบรรณนำเสนอข้อมูลไปตามเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

    ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนามีดังนี้คือ เป็นศาสนาแห่งปัญญา, องค์ความรู้ครอบคลุมสรรพศาสตร์, คำสอนยึดหลักกรรมลิขิตไม่ไช่พรหมลิขิต และเป็นศาสนาที่ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้ายศาสนิกอื่นและไม่ก่อสงคราม ลักษณะพิเศษที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเรื่องพระศาสดา 

 

1. เป็นศาสนาแห่งปัญญา
  ศาสนาโดยส่วนใหญ่ในโลกโดยเฉพาะศาสนาเทววิทยานั้นเน้นเรื่องศรัทธา เช่น ศาสนาอิสลาม ซึ่งเน้นศรัทธาหรือความเชื่อเป็นเรื่องสำคัญที่สุด คือ จะต้องเชื่อทุกอย่างตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน เช่น เชื่อว่าพระอัลเลาะห์มีจริง ทรงสร้างโลกและสรรพสิ่ง ต้องเชื่อว่า คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด

  ศาสนาคริสต์ก็เช่นเดียวกัน ชาวคริสต์ต้องมีศรัทธาแรงกล้า ต้องเชื่อโดยไม่สงสัย การตั้งคำถามต่าง ๆ เป็นการแสดงความไม่เชื่อหรือย่อหย่อนในศรัทธา โดยเฉพาะพระคัมภีร์ไบเบิลนั้น ผู้ใดจะสงสัยหรือตั้งคำถามมิได้ ในยุโรปถึงกับมีการตั้งศาลไต่สวนศรัทธาขึ้น เพื่อลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อในพระคัมภีร์ โทษร้ายแรงที่สุดคือจับเผาทั้งเป็น ในประเทศ เปนศาลไต่สวนศรัทธาถูกสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2026 นักคิดทางวิทยาศาสตร์ถูกจับเผาทั้งเป็นตายราว 30,000 คน ข้อหาคือเสนอแนวคิดขัดแย้งกับพระคัมภีร์ แม้ต่อมาไม่นานชาวโลกและนักการศาสนาต่าง ๆ จะยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าความรู้นั้น ๆ ถูกต้องก็ตาม

  สำหรับพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งปัญญา ยกย่องปัญญาว่าเป็นธรรมสูงสุดสังเกตได้ว่าหลักธรรมหลายหมวดจะลงท้ายด้วยปัญญา เช่น ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีลสมาธิ ปัญญา, อินทรีย์ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา การจะกำจัดกิเลสอาสวะจนหมดสิ้นได้ก็ต้องอาศัยปัญญาเป็นหลักส่วนศีลกับสมาธิเป็นเพียงฐานที่ทำเกิดปัญญาเท่านั้น

      ในพระไตรปิฎกมีคำกล่าวยกย่องปัญญาไว้จำนวนมาก เช่น นตฺถิ ปฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นแน่แท้ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญาถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนฟังมาแล้ว เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความ สรรเสริญ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย

     แม้พระพุทธศาสนาจะเน้นเรื่องปัญญาแต่ก็มิได้ปฏิเสธศรัทธา ตรงข้ามกลับมีศรัทธาเป็นหลักธรรมข้อแรกอยู่ในหลายหมวดธรรม หรืออยู่ในทุกหมวดธรรมก็ว่าได้ เพียงแต่ว่าหากกล่าวโดยย่อก็ไม่ได้ใส่คำว่า "ศรัทธา" เอาไว้ การที่บุคคลใดจะศึกษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาใดก็ตาม เบื้องต้นจะต้องมีศรัทธาต่อคำสอนในศาสนานั้นก่อน แต่ความต่างอยู่ตรงที่ในพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้หยุดอยู่แค่ศรัทธา ศรัทธาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้คนหันมาศึกษาอันเป็นทางมาแห่งปัญญาคือความรู้แจ้งเรื่องชีวิตต่อไป จึงเป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญา ไม่ได้เป็นศรัทธาที่ปิดกั้นปัญญาคือห้ามสงสัยใด ๆ ในพระธรรมคำสอนทั้งปวง เมื่อไม่กล้าสงสัยก็ไม่พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ได้แต่เชื่องมงายต่อไปเรื่อย ๆ ปัญญาจึงไม่งอกงาม

 

2. องค์ความรู้ครอบคลุมสรรพศาสตร์
   ปัจจุบันการศึกษาทางโลกมีความเจริญก้าวหน้าไปมากโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงพื้นฐานทางด้านวัตถุมากมาย ตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็นอย่างอะตอม จนถึงเรื่องใหญ่โตมโหฬารอย่างกาแล็กซีและเอกภพ ความก้าวหน้านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ แนวคิดของคนในสังคมอย่างมาก และที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อทางศาสนาด้วย

    ความรู้ใหม่ ๆ ที่ค้นพบมีหลายอย่างขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาเทวนิยม เช่น ศาสนาสอนว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่ต่อมาวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ดวงอาทิตย์ต่างหากเป็นศูนย์กลาง โดยมีโลกและดวงดาวต่าง ๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ กาลิเลโอได้สนับสนุนแนวคิดนี้เพราะผลจากการส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดวงดาวทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งชี้เช่นนั้น ผลการทดลองของเขาก่อให้เกิดความตื่นตัวและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก จนกาลิเลโอถูกศาลศา นาเรียกไปสอบสวนและห้ามเผยแพร่แนวคิดนี้อีก ไม่เช่นนั้นจะถูกจับเผาทั้งเป็น

     ส่วนองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนานั้นมีความลึกซึ้งและกว้างขวางมาก นอกจากจะมีเนื้อหาหลักคือคำสอนเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว ยังมีคำสอนครอบคลุมศาสตร์ทางโลกต่าง ๆ มากมายอีกด้วย กล่าวคือ ครอบคลุมทั้งหมวดวิชามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ทั้งปวงในทางโลกนั้นสรุปรวมลงได้ใน 3 หมวดวิชานี้

    นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งกล้องโทรทรรศ์นับเบิลออกไปโคจรรอบโลก เพื่อตรวจจับภาพของเทหวัตถุในระยะไกลเป็นพันล้านปีแสง แต่ถึงกระนั้นอาณาบริเวณของเอกภพที่ค้นพบเพิ่งได้แค่ 10-11% แห่งความกว้างของ 1 โลกธาตุขนาดใหญ่ที่มีกล่าวไว้พระไตรปิฎกเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าโลกธาตุไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวแต่มีเป็นหมื่นเป็นแสนโลกธาตุทีเดียว นี้คือความมหัศจรรย์ขององค์ความรู้ในพระพุทธศาสนา

     ทางด้านการแพทย์นั้นก็มีหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น ใน มัยพุทธกาลวิชาการแพทย์มีความก้าวหน้ามากถึงกับมีการผ่าตัด มองและลำไส้ด้วย ทั้ง ๆ ที่การผ่าตัดครั้งแรกด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันในเมืองไทยเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ 3หรือ 170 กว่าปีมานี้เอง นอกจากนี้การดีทอกซ์ และการอบซาวน่า  เพื่อขับพิษก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุใช้วิธีเหล่านี้รักษาสุขภาพกันมาตั้งแต่ มัยพุทธกาลแล้ว โดยห้องอบซาวน่าในสมัยพุทธกาลนั้นเรียกว่า "เรือนไฟ"

 สำหรับสังคมศาสตร์นั้นก็มีองค์ความรู้ที่สำคัญและน่าสนใจดังนี้คือ มีทั้งด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งความรู้เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยและพระสูตรต่าง ๆ เช่น อธิปไตยสูตร, ราชสูตร, จักกวัตติสูตร ฯลฯ พระสูตรเหล่านี้ว่าด้วยเรื่องการปกครองตนเอง และการปกครองประเทศของพระราชาในอดีต, กูฏทันตสูตร ว่าด้วยการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาศีลธรรมของผู้ปกครองผู้ทรงธรรม,สิงคาลกสูตร ว่าด้วยหน้าที่ของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในสังคมส่วนในพระวินัยปิฎกนั้นเป็นเรื่องกฏระเบียบสำหรับควบคุมความประพฤติของพระภิกษุ จึงเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์โดยตรงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

    สำหรับมนุษยศาสตร์นั้นเป็นเนื้อหาหลักของคำสอนในพระพุทธศาสนา เพราะจุดประสงค์หลักในการตรัสสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ เพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ ซึ่งเกิดจากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศกเสียใจเพราะการพลัดพรากจากคนหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ฯลฯ คำสอนเรื่องความพ้นทุกข์นี้หาไม่ได้จากตำราเรียนวิชาชีพทางโลก หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียง หาไม่ได้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ แต่มีกล่าวไว้เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น คำสอนนี้จึงเป็นลักษณะพิเศษยิ่งของพระพุทธศาสนา


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0039166331291199 Mins