ความสัมพันธ์โดยองค์รวมของพระธรรม

วันที่ 12 ตค. พ.ศ.2559

ความสัมพันธ์โดยองค์รวมของพระธรรม

พระธรรม , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

1. แผนผังพระธรรมในพระไตรปิฎก
  พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้ให้ภาพรวมหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกไว้อย่างชัดเจนดังภาพที่แสดงไว้นี้ จะเห็นว่าหลักธรรมทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุ "นิโรธ" หรือ "นิพพาน" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

พระธรรม , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

      หลักธรรมต่างๆ นั้นมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกหมวด ไม่มีความขัดแย้งกันสามารถย่อและขยายได้ หากย่อจนถึงที่สุดก็จะเหลือเพียงข้อเดียวคือ "ความไม่ประมาท" หากขยายความแล้วก็จะได้มากถึง "84,000 ข้อ หรือ พระธรรมขันธ์" แบ่งเป็นพระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000 ข้อ และพระอภิธรรม 42,000 ข้อ

      นอกจากนี้หลักธรรมทั้งหมดอาจจะแบ่งเป็น 3 ข้อก็ได้คือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใสธรรม 3 ข้อนี้เรียกอีกชื่อว่า ไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา หากจะขยาย 3 ข้อนี้ให้เป็น 8 ข้อ ก็ได้เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

     โดยสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จัดอยู่ใน ปัญญาสิกขาสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ จัดอยู่ใน ศีลสิกขาสัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จัดอยู่ในจิตสิกขา

     ส่วนกุศลกรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ และบารมี 10 ทัศนั้น ก็ประชุมรวมอยู่ในมรรคมีองค์แปดนั่นเองและยังมีธรรมอีกหมวดหนึ่งคือ อนุปุพพิกถา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามักจะแสดงแก่อุบาสกอุบาสิกาอยู่เสมอหลักธรรมหมวดนี้ก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์แปดเช่นกัน

     ส่วนอกุศลธรรมที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์ 8 ได้เช่นกัน แต่อยู่ในฐานะที่มรรคมีองค์ 8 ต้องกำจัดให้หมดสิ้น

    ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงหลักธรรมบางหมวดที่ยังไม่ได้กล่าวไว้หรือยังไม่ได้ลงรายละเอียดในบทที่ผ่านมา และจะได้แสดงความสัมพันธ์กันของหลักธรรมต่าง ๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อนักศึกษาเรียนธรรมะหมวดใดแล้วก็จะสามารถเชื่อมโยงกับหมวดอื่นได้ จะทำให้ไม่สับสน จะมองเห็นภาพรวมว่าหลักธรรมต่าง ๆ สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน


2. หลักธรรมแต่ละหมวด
       หลักธรรมที่กล่าวในที่นี้มี 6 หมวด ได้แก่ ความไม่ประมาท, ละชั่วทำดีทำใจให้ผ่องใส, ไตรสิกขา, อนุปุพพิกถา และภาพรวมพระไตรปิฎก หลักธรรมเหล่านี้เป็นธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาซึ่งนักศึกษา จะได้พบเห็นบ่อย ๆ ในหนังสือธรรมะต่าง ๆ

1) ความไม่ประมาท
        ความไม่ประมาท หมายถึง ความไม่เลินเล่อ ไม่พลั้ง ไม่เผลอ มีสติเสมอส่วนความประมาทคือการขาดสติ ความพลั้งเผลอ ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมใหญ่ซึ่งรวมกุศลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกไว้ในข้อนี้เพียงข้อเดียว

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในปทสูตรว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย... ย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใดกุศลธรรมทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่าจักเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8

     ทางธรรมปฏิบัตินั้นบุคคลจะเป็นผู้ "ไม่ประมาท" ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นจะต้องมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา การที่บุคคลนั้นๆ จะมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา เขาจะต้องฝึกสัมมาสมาธิมาอย่างดีแล้วจนใจของเขาจรดหยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวตามลำดับจนเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

2) ละชั่วทำดีทำใจให้ผ่องใส
  หลักกุศลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎกนอกจากจะรวมลงในความไม่ประมาทเพียงข้อเดียวแล้วยังสามารถขยายออกเป็น 3 ข้อได้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปทานสูตรเรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ว่า
        (1) การไม่ทำบาปทั้งสิ้น (ละชั่ว)
        (2) การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำดี)
        (3) การทำจิตของตนให้ผ่องใส(ทำใจให้ผ่องใส)

         นี้เป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

       (1) การไม่ทำบาปทั้งสิ้น มาจากภาษาบาลีว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ หมายถึง ไม่ทำชั่วด้วยกายและด้วยวาจา สพฺพปาปสฺส อกรณํนี้ครอบคลุมพระวินัยปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ "ศีลสิกขา"

       (2) การยังกุศลให้ถึงพร้อม มาจากภาษาบาลีว่า กุสลสฺสูปสมฺปทา หมายถึง ทำความดีให้มีขึ้นด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ กุสลสฺสูปสมฺปทา นี้ครอบคลุมพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ "จิตสิกขา"

        (3) การทำจิตของตนให้ผ่องใสมาจากภาษาบาลีว่า จิตฺตปริโยทปน หมายถึง ทำจิตใจของตนให้ผ่องใสจิตฺตปริโยทปน นี้ครอบคลุมพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ "ปัญญาสิกขา"

3) ไตรสิกขา

      ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา 3 ประการ ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาวสูตรว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... ไตรสิกขาเป็นไฉน ไตรสิกขา คือ

      อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

    เมื่อใด... เธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้ เมื่อนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบฯ

     พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้อธิบายขยายความเรื่องไตรสิกขาไว้ว่ามี 2 ระดับ คือ ระดับปกติหรือระดับต้น และ ระดับสูงหรือเกินระดับปกติขึ้นไป

      ไตรสิกขาระดับต้นนั้น จะเรียกว่า ศีล จิต (สมาธิ) และ ปัญญา หรือเรียกว่า ศีลสิกขา จิตสิกขา (สมาธิสิกขา) และปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับต้นนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ "รู้" หมายถึง รู้ว่าไตรสิกขามีอะไรบ้าง เมื่อรู้แล้วก็ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขานั้น เมื่อปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงไตรสิกขาระดับสูงต่อไป

     ไตรสิกขาระดับสูงจะเรียกว่า อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา หรือเรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับสูงนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ "เห็น" หมายถึง ได้ปฏิบัติสมาธิจนสามารถ "เห็น" ได้ด้วยตาภายในว่าไตรสิกขาในตัวเรามีอะไรบ้าง กล่าวคือ ได้เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญาที่อยู่ในตัว ที่ละเอียดเป็นชั้น ๆ เข้าไปนั่นเอง

      คำว่า "อธิ" ในคำว่า อธิศีล เป็นต้น แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง หมายถึง ไตรสิกขาที่ยิ่งกว่าหรือเกินกว่าหรือล่วงพ้นจากไตรสิกขาในระดับต้น

4) อนุปุพพิกถา
     อนุปุพพิกถา แปลว่า เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของผู้ฟังธรรมให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมจะรับฟังอริยสัจ 4 อันเป็นธรรมขั้นสูงต่อไป

       อนุปุพพิกถา ประกอบด้วย
       (1) ทานกถา คือ การให้ทาน
       (2) สีลกถา คือ การรักษาศีล
       (3)สัคคกถา คือ ทิพยสมบัติบนสวรรค์อันเป็นผลจากการให้ทานและรักษาศีล
       (4) โทษความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย
       (5) อานิสงส์ในความออกจากกาม

     จริง ๆ แล้วอนุปุพพิกถานี้ก็คือบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนานั่นเอง เพียงแต่ขยายความบางประเด็นเพิ่มขึ้นเท่านั้น กล่าวคือ เพิ่มสัคคกถา คือ เรื่องทิพยสมบัติบนสวรรค์อันเป็นผลจากการให้ทานและรักษาศีล

      ส่วนข้อ (4) โทษความต่ำทรามความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และข้อ (5) อานิสงส์ในความออกจากกาม เป็นการชี้ให้เห็นโทษของทิพยสมบัติต่างๆ อันเป็นเรื่องของกามสุขที่จะทำให้มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไปไม่อาจหลุดพ้นได้

      เมื่อผู้ฟังเห็นโทษของกามแล้วก็จะได้ตั้งใจฟังอริยสัจ 4 ต่อไป ซึ่งจุดประ สงค์สูงสุดของการตรัสอริยสัจ 4 คือ เพื่อต้องการให้ผู้ฟังเจริญอริยมรรคมีองค์แปดด้วยการทำสมาธิภาวนานั่นเอง เมื่อปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว และจะกำจัดกิเลสไปตามลำดับ จนหมดในที่สุด ดังนั้น อนุปุพพิกถา ก็คือ บุญกิริยาวัตถุนั่นเอง

5) ภาพรวมพระไตรปิฎก
     พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อขยายความแล้วจะได้มากถึง 84,000 ข้อ หรือ 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดอยู่ในพระวินัยปิฎก 21,000 ข้อ จัดอยู่ในพระสุตตันตปิฎก 21,000 ข้อ และจัดอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก 42,000 ข้อ พระไตรปิฎกหากนำมาเชื่อมโยงกับไตรสิกขาและโอวาทปาฏิโมกข์จะได้ดังนี้คือ

        พระวินัยปิฎก คือ ศีลสิกขา หรือ การไม่ทำบาปทั้งสิ้น
        สุตตันตปิฎก คือ จิตสิกขา หรือ การยังกุศลให้ถึงพร้อม
        พระอภิธรรมปิฎก คือ ปัญญาสิกขา หรือ การทำจิตของตนให้ผ่องใส


3. ความสัมพันธ์ของหลักธรรมแต่ละหมวด
      ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง 4 ประเด็นคือ ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับไตรสิกขา, ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับบารมี 10 ทัศ, ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับบารมี 10 ทัศ และความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับอกุศลธรรม

1) ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับไตรสิกขา
      บุญกิริยาวัตถุ ประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนาส่วนไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา บุญกิริยาวัตถุสามารถจัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้

พระธรรม , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

     เหตุที่จัดทานอยู่ในปัญญานั้น เพราะว่าในสัมมาทิฏฐิระดับโลกิยะข้อที่หนึ่งคือ มีความเห็นชอบว่าการให้ทานมีผล เมื่อมีความเห็นชอบอย่างนี้จึงเป็นเหตุให้บุคคลแต่ละคนให้ทานได้ ซึ่งสัมมาทิฎฐินี้จัดอยู่ในหมวดปัญญาของไตรสิกขานั่นเอง

     ส่วน ศีลมัยนั้นสงเคราะห์เข้ากับศีลสิกขาได้โดยตรงสำหรับภาวนามัย งเคราะห์เข้าในจิตสิกขาเพราะจิตสิกขาก็คือการเจริญสมาธิภาวนานั่นเองส่วนปัญญานั้นก็เป็นผลที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาจะเห็นว่า เมื่อได้ปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา ก็เท่ากับว่าได้ปฏิบัติไตรสิกขา หรือมรรคมีองค์แปดไปในตัว

      บุญกิริยาวัตถุ และ ไตรสิกขานี้เมื่อบุคคลได้บำเพ็ญแล้วจะเรียกว่าได้สร้าง "กุศลกรรม" ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

2) ความสัมพันธ์ของบุญกิริยาวัตถุกับบารมี 10 ทัศ
       บารมีก็คือบุญ แต่เป็นบุญที่เข้มข้นมาก กล่าวคือ บุญที่เราทำในแต่ละวันจะค่อย ๆ รวมตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลั่นตัวเป็นบารมี หรืออีกนัยหนึ่งบารมีคือการสร้างบุญโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงทำให้ได้บุญที่ได้มีความเข้มข้นกว่าบุญทั่ว ๆ ไป บุญชนิดนี้จึงเรียกว่าบารมี

       การสร้างบุญกิริยาวัตถุคือทาน ศีล ภาวนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมนั้น เท่ากับว่าได้สร้างบารมีครบทั้ง 10 ทัศไปในตัวดังภาพแ ดงความพันธ์ต่อไปนี้

พระธรรม , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

      จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า ทานมัย ศีลมัย และ ทานบารมี ศีลบารมี สงเคราะห์เข้ากันได้โดยตรงเพราะมีชื่อเหมือนกัน

     ส่วนเนมขัมมบารมีก็จัดอยู่ใน ศีลมัย เพราะเนกขัมมบารมีคือ การออกจากกาม ได้แก่การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการออกบวช เป็นต้น เมื่อออกบวชแล้วหากเป็นสามเณรก็ถือศีล 10 หากเป็นพระภิกษุก็ถือศีล 227 ข้อส่วนผู้ที่ไม่ออกบวชก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยรักษาศีล 8

      จะเห็นว่า ความเป็นเนกขัมมะอยู่ที่การประพฤติพรหมจรรย์ด้วยรักษาศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 ซึ่งต่างจากศีล 5 ของผู้ที่ยังข้องอยู่ในกาม

  สำหรับปัญญาบารมีจัดอยู่ในภาวนามัย เพราะการเจริญภาวนาถือเป็นการสร้างปัญญาบารมีที่ดีที่สุดเป็นปัญญาที่สามารถกำจัดอวิชชาคือความไม่รู้ได้ส่วนปัญญาอื่นนอกนี้ไม่อาจจะกำจัดอวิชชาที่เป็นต้นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ เป็นเพียงความรู้เบื้องต้นสำหรับสนับสนุนการสร้างบารมีและเป็นแนวทางแห่งการเจริญภาวนาเท่านั้น

     ส่วนวิริยบารมี ขันติบารมีสัจจบารมี และอธิษฐานบารมี เป็นบารมีที่สนับสนุนการสร้างทาน ศีล และภาวนา หากมีวิริยะคือความเพียร ขันติคือความอดทนสัจจะคือความเอาจริงเอาจัง และอธิษฐาน คือการตอกย้ำปักใจมั่นต่อเป้าหมายแล้ว จะทำให้การสร้างทาน ศีล ภาวนาสำเร็จได้อย่าง สมบูรณ์บริบูรณ์แต่ถ้าไม่มีบารมีทั้ง 4 ประการคอยสนับสนุนแล้ว ไม่มีทางที่จะสร้างบุญกิริยาวัตถุประการต่าง ๆ ได้สำเร็จ

      สำหรับ เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี จัดอยู่ใน ทานมัย และ ภาวนามัย ได้ กล่าวคือ บุคคลเมื่อให้ทาน ได้ชื่อว่ามีจิตเมตตาต่อผู้รับด้วยเพื่อหวังบุญกุศลด้วย และต้องยอมรับว่าตามปกติมนุษย์คนหนึ่งไม่อาจจะให้ทานแก่ใครต่อใครได้ทั้งโลก ดั้งนั้น ใครก็ตามที่เราไม่ได้ให้ทานเพราะกำลังทรัพย์ไม่พอหรือเพราะเหตุอื่นใด เราก็ต้องวางอุเบกขาต่อคนเหล่านั้น

      ส่วนที่จัดเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมีอยู่ในภาวมัยนั้น เพราะว่าในขั้นตอนของการเจริญมาธิภาวนาจะมีการแผ่เมตตาอยู่ด้วย ปกติแล้วจะแผ่เมตตาในช่วงท้ายของการทำสมาธิ อีกทั้งผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาอย่าง ม่ำเสมอจะทำให้มีจิตที่หนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดที่มากระทบ วางเฉยต่อนินทาและ รรเสริญได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นการสร้างอุเบกขาบารมีไปด้วย

     เพราะฉะนั้นการสร้างทาน ศีล ภาวนาเป็นประจำทุกวันอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็เท่ากับว่าได้สร้างบารมีทั้ง 10 ทัศไปในตัว และบารมี 10 ทัศเหล่านี้เมื่อมีมากเข้าก็จะกลั่นตัวไปเป็นอุปบารมี 10 ทัศและปรมัตถบารมี 10 ทัศตามลำดับ รวมทั้งหมดเป็น 30 ทัศ

3) ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับบารมี 10 ทัศ
     จากที่กล่าวแล้วว่ามรรคมีองค์ 8 แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับโลกิยะหรือโลกิยมรรค และ ระดับโลกุตระหรือโลกุตรมรรค ระดับโลกิยะคือมรรคที่เป็นส่วนแห่งบุญส่วนระดับโลกุตระ เป็นองค์มรรคที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงธรรมในระดับโลกุตตระ นั่นคือ ตั้งแต่พระธรรมกายโสดาบันเป็นต้นไป

    เมื่อโลกิยมรรคเป็นมรรคที่เป็นส่วนแห่งบุญ กล่าวคือ เมื่อปฏิบัติมรรคเหล่านี้แล้วก็จะได้บุญเหมือนกับการปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา และบุญที่ได้จากการปฏิบัติโลกิยมรรคนี้เมื่อรวมตัวมากเข้าก็จะกลั่นเป็นบารมี หรือเมื่อปฏิบัติโลกิยมรรคโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ก็จะได้บุญที่เข้มข้นมากและเรียกบุญนี้ว่าบารมีเหมือนกัน

      ดังนั้นบารมี 10 จึง สงเคราะห์เข้าในโลกิยมรรคได้และบารมี 10 หรือ โลกิยมรรคนี้เมื่อได้ปฏิบัติมากเข้าก็จะเกิดบุญบารมีเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับเมื่อเต็มเปียมแล้วในเวลาเจริญสมาธิภาวนาก็จะเข้าถึงโลกุตรมรรคได้ จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ ได้ และจะหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

      ดังนั้นบารมี 10 หรือ โลกิยมรรคนั้น จึงเป็นฐานให้โลกุตตรมรรคนั่นเอง หากบารมีไม่เต็มเปียมแล้วก็ไม่อาจจะบรรลุโลกุตรมรรคขั้นสูงสุดได้ ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงต้องใช้เวลาสร้างบารมีอย่างน้อยก็ 20 อ สงไขยแสนกัป จึงจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได

4) ความสัมพันธ์ของมรรคมีองค์แปดกับอุศลธรรม
      นักศึกษาบางท่านอาจจะยังสงสัยว่า แล้วอกุศลธรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิเล 3 ตระกูล คือ โลภะ โทสะ โมหะหรืออวิชชา รวมทั้งอกุศลกรรมคือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎก ความจริงอกุศลธรรมเหล่านี้ก็จัดอยู่ในมรรคมีองค์แปดได้ แต่อยู่ในส่วนที่มรรคจะต้องละให้หมด เมื่อละได้หมดแล้ว ก็จะบริสุทธิ์หลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001525866985321 Mins