อุบาสก อุบาสิกา  ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย

วันที่ 19 ตค. พ.ศ.2559

อุบาสก อุบาสิกา 
ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย

อุบาสก อุบาสิกา  ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์

1. อุบาสก อุบาสิกาคือใคร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะครั้งนั้นเจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก

       พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล บุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ว่าเป็น สรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ชื่อว่าเป็นอุบาสก

       คำว่า สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง หรือ ที่ระลึก

   เหตุที่เรียกว่า "อุบาสก เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า อุบาสก คือ "คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง"

     ดังนั้นอุบาสกคือ คฤหัสถ์ผู้ชายที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย และผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

       อุบาสิกา คือ "สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ" อุบาสิกาจึงเป็นคฤหัสถ์ผู้หญิงที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย และผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

       กล่าวอีกนัยหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา ก็คือ "พุทธศาสนิกชน" หรือชาวพุทธทุกคนซึ่งถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคือที่พึ่งที่ระลึกนั่นเอง แต่พุทธศาสนิกชนที่ว่านี้จะต้องเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นแต่เพียงในนาม คือเป็นเพราะในทะเบียนบ้านเขียนไว้ว่านับถือศาสนาพุทธ แต่พฤติกรรมกลับไม่ใช่ยังนับถือผีสางนางไม้อยู่ กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา


2. วิธีการเป็นอุบาสก อุบาสิกา
      วิธีการเป็นอุบาสก อุบาสิกานั้นไม่ยาก เพียงแค่กล่าวคำขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็น สรณะ คือเป็นที่พึ่งที่ระลึก ก็ถือว่าได้เป็นอุบาสก อุบาสิกาโดยสมบูรณ์แล้วส่วนจะเป็นอุบาสก อุบาสิกาที่ดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าได้ปฏิบัติตามธรรมของอุบาสก ได้ดีเพียงไร อุบาสกชุดแรกในศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้าคือ 2 พ่อค้า ชื่อตปุสะและภัลลิกะส่วนอุบาสิกาชุดแรกคือนางสุชาดาและอดีตภรรยาของพระยสะ


2.1 ปฐมอุบาสกในพระพุทธศาสนา
         หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ราชายตนะ (ไม้เกด) มัยนั้นพ่อค้าชื่อตปุสะและภัลลิกะ เดินทางไกลจากอุกกลชนบทถึงตำบลนั้น ครั้งนั้นเทพยดา ผู้เป็นญาติของพ่อค้าทั้งสองได้กล่าวว่า "ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยสัตตุผงและสัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้งสองนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน"

       พ่อค้าทั้งสองจึงถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูลว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับสัตตุผงสัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน"

       ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงปริวิตกว่า 'พระตถาคตทั้งหลายไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ'

      ลำดับนั้นท้าวมหาราชทั้ง 4 องค์ ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก 4 ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จด้วยศิลา 4 ใบเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผงและสัตตุก้อนแล้วเสวย"

       ครั้งนั้น พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็น 'อุบาสกผู้มอบชีวิตถึง สรณะ'จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป"

    สาเหตุที่พ่อค้าทั้งสองขอถึงเพียงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ แต่ไม่ได้ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เพราะขณะนั้นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แม้ "สังฆรัตนะ" คือพระธรรมกายละเอียดภายในจะอุบัติขึ้นตั้งแต่วันที่พระโพธิสัตว์ตรัสรู้แล้วก็ตาม


2.2 ปฐมอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
     หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่พระธรรมคำสอนมาได้ระยะหนึ่ง จนมีผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ 7 องค์ รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วย พระอรหันต์องค์ที่ 7 คือ พระยสะซึ่งเป็นบุตรของนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาส ในวันที่พระโพธิสัตว์ตรัสรู้นั่นเอง

      วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ามีท่านพระยสะเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่บ้านของพระยสะ วันนั้นพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมคืออนุปุพพิกถาแก่นางสุชาดาและอดีตภรรยาของท่านพระยสะ ดังนี้

1) ทานกถา คือ เรื่องการให้ทาน
2) สีลกถา คือ เรื่องการรักษาศีล
3) สัคคกถา คือ เรื่องทิพยสมบัติบนสวรรค์ อันเป็นผลจากการให้ทานและรักษาศีล
4) โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย
5) อานิสงส์ในความออกจากกาม

     จากนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสเรื่องอริยสัจ 4 ขณะที่ทรงแสดงอริยสัจ 4 อยู่นั้น ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่นางทั้งสอง

       เมื่อมารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะได้เห็นธรรม คือบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุเห็นรูป

      หม่อมฉันทั้ง องนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่า เป็นอุบาสิกา ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป"

      มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะจึงได้เป็นอุบาสิกา ผู้ขอถึงและเข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก คำว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยคือการได้เข้าถึงพระธรรมกายโสดาบันนั่นเอง


2.3 วิธีการเป็นอุบาสก อุบาสิกาในปัจจุบัน
       การเป็นอุบาสก อุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ" คำว่า "พุทธมามกะ" ได้แก่ "ผู้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" จะเห็นว่ามีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่าอุบาสก อุบาสิกา ธรรมเนียมการแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีขั้นตอนการปฏิบัติ โดยย่อดังนี้

      1) แจ้งความประสงค์ของตนแก่พระสงฆ์ ณ วัดในวัดหนึ่ง นัดหมายวันเวลาที่จะมาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ แล้วให้จัดเตรียมสิ่งของตามที่พระสงฆ์แนะนำ

     2) เมื่อถึงวันที่นัดหมายกันไว้ ให้ผู้จะแ ดงตนเป็นพุทธมามกะ นุ่งขาว ห่มขาว หรือแต่งเครื่องแบบของตนให้เรียบร้อยแล้วไปยังบริเวณพิธี

    3) ให้ผู้แสดงตนเข้าไปคุกเข่าหน้าโต๊ะหมู่บูชา จุดธูปเทียน และวางดอกไม้บูชาพระส่งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เปล่งวาจาว่า

"อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธํ ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)
อิมินา สกฺกาเรน, ธมฺมํ ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)
อิมินา สกฺกาเรน, สงฺฆํ ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)"

    ถ้าเป็นการแสดงตนหมู่ ให้หัวหน้าเข้าไปจุดธูปเทียนบูชาคนเดียว นอกนั้นวางดอกไม้ ธูปเทียนยังที่ที่จัดไว้ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เมื่อหัวหน้านำกล่าวคำบูชา ก็ให้ว่าพร้อม ๆ กัน

     4) ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง ถ้าแสดง
ตนหมู่ ทุกคนควรนั่งคุกเข่าประนมมืออยู่กับที่ หัวหน้าหมู่คนเดียวนำสักการะที่เดียว เข้าถวายแทนทั้งหมู่แล้วกราบพร้อมกัน

   5) กราบเสร็จแล้วคุกเข่าประนมมือ เปล่งคำปฏิญาณตนให้ฉะฉานต่อหน้าสงฆ์ ทั้งคำบาลีและคำแปลเป็นตอน ๆ ไปจนจบ ดังนี้

คำนมัสการ      นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
                      นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
                      นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

คำแปล            ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
                      ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
                      ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

คำปฏิญาณ      เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ,
                       ธมฺมฺญจ สงฺฆฺญจ, พุทธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ

คำแปล             ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
                       แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึก
                       นับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้า ไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ
                       ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า

ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิงคำปฏิญาณให้เปลี่ยนเป็นดังนี้
        เปลี่ยน เอสาหํ เป็น เอเต มยํ (ชาย) เอตา มยํ (หญิง)
        เปลี่ยน คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม ทั้งชายและหญิง
        เปลี่ยน พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ ทั้งชายและหญิง
        เปลี่ยน มํ เป็น โน ทั้งชายและหญิง

        คำแปลเปลี่ยนเฉพาะคำ "ข้าพเจ้า" เป็นว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย" นอกนั้นเหมือนกัน

        สำหรับหญิงผู้ปฏิญาณคนเดียวว่า เอสาหํ ฯลฯ เมื่อถึง พุทฺธมามโกติ เปลี่ยนเป็นว่า พุทฺธมามกาติ ที่เหลือไม่เปลี่ยนรวมทั้งคำแปล

       ถ้าหญิงกับชายปฏิญาณคู่กัน เฉพาะคู่เดียว ให้ว่าแบบปฏิญาณคนเดียวคือขึ้น เอสาหํ ฯลฯ
พุทฺธมามโกติ (ชาย) หญิงให้ว่า เอสาหํ ฯลฯ พุทฺธมามกาติ นอกนั้นคงรูปรวมทั้งคำแปล

      6) เมื่อผู้ปฏิญาณกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว พระสงฆ์จะประนมมือรับ "สาธุ" พร้อมกัน จากนั้นให้ผู้ปฏิญาณลดลงนั่งราบแบบพับเพียบกับพื้น แล้วประนมมือฟังโอวาทพระอาจารย์

      7) เมื่อพระอาจารย์ให้โอวาทเสร็จแล้วท่านก็จะให้ศีล 5 โดยผู้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะจะต้องอาราธนาศีลก่อนแล้วพระสงฆ์ก็จะได้ให้ศีล อันนี้เป็นธรรมเนียมที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันดี เมื่อรับศีลเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นั่นคือ ได้เป็นอุบาสก อุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยสมดังตั้งใจแล้ว

    พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะอาจจะรวบรัดกว่านี้หรือมีขั้นตอนมากกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบพิธีของแต่ละวัดหรือแต่ละท้องถิ่น แต่หลักใหญ่ใจความอยู่ที่การปฏิญาณตนว่าขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคือที่พึ่งที่ระลึก

     วิธีปฏิบัติที่ง่ายที่สุดคือ การกล่าวคำปฏิญาณด้วยตนเองโดยใช้ภาษาไทยต่อพระพุทธรูปหน้าโต๊ะหมู่บูชาที่วัด ที่บ้าน หรือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ดังนี้

     "ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงจำข้าพเจ้า ไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า"

      เพียงเท่านี้ก็ถือว่าได้เป็นอุบาสก อุบาสิกาโดยสมบูรณ์แล้ว แต่ต้องทำด้วยความตั้งใจจริง


3. ธรรมของอุบาสก อุบาสิกา
     อุบาสก อุบาสิกาที่ดีจะต้องประกอบด้วยธรรม 5 ประการคือ "มีศรัทธา, มีศีล, ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล, ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา และทำการสนับสนุนพระพุทธศาสนา"

    1) มีศรัทธา หมายถึง มีตถาคตโพธิสัทธาคือมีความเชื่อในพระพุทธคุณ 9 ประการ ศรัทธาในที่นี้เป็นความเชื่ออันเกิดจากการได้ศึกษาพระพุทธคุณจนมีความเข้าใจแล้ว แม้จะเป็นการเข้าใจในระดับเบื้องต้น จึงไม่ได้เป็นความเชื่อแบบงมงาย

    2) มีศีล หมายถึง มีศีล 5 ได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ และงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา สำหรับอุบา กที่ประพฤติพรหมจรรย์ก็จะต้องรักษาศีล 8 ซึ่งเพิ่มมา 3 ข้อคือ งดเว้นการรับประทานอาหารหลังจากมื้อกลางวันไปแล้ว, งดเว้นจากการประดับตกแต่งร่างกายด้วยของหอมตลอดจนงดการฟังเพลง งดดูหนังดูละครที่เป็นอกุศล, งดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี สำหรับศีลข้อ 3 ให้เปลี่ยนจากเว้นการประพฤติผิดในกามเป็นเว้นจากเมถุนธรรม

     3) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล หมายถึง ไม่ถือฤกษ์ยาม แต่ให้เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคลคือ ทำดีเมื่อไร ถือว่าเป็นเวลาดี ฤกษ์ดี ยามดีเมื่อนั้น

  4) ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา หมายถึง ไม่ไปขวนขวายทำบุญกับนักบวชนอกพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในนักบวชที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเพราะจะทำให้อุบาสก อุบาสิกาเหล่านั้นมีโอกาสเห็นผิดตามไปด้วย

   5)สนับสนุนพระพุทธศาสนา หมายถึง ให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ถวายปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้างศาสนสถานในวัด เป็นเจ้าภาพงานบวช ช่วยเป็นธุระจัดการงานบุญต่าง ๆ ของวัด บางท่านก็ช่วยเรื่องการรักษาพยาบาลภิกษุสงฆ์ เช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นต้น บางท่านช่วยเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา เช่น จิตตคฤหบดี อุบาสกท่านนี้เป็นเลิศในการแสดงธรรม มีความสามารถในการสอนธรรมะเฉกเช่นพระธรรมกถึกทั้งหลาย

     เมื่ออุบาสก อุบาสิกาปฏิบัติตามธรรมทั้ง 5 ประการนี้แล้วย่อมได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการ คือ ประการแรก ได้ประโยชน์แก่ตนเอง คือ ได้บุญได้บารมีอันจะส่งผลให้มีความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้และภพชาติเบื้องหน้า ประการที่สอง ได้ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นการสนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง


4. ความสำคัญของอุบาสก อุบาสิกา
    ความสำคัญของอุบาสก อุบาสิกามีอย่างน้อย 2 ประการคือ ให้การสนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุ สามเณร และให้การสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา หากปราศจากอุบาสก อุบาสิกาผู้มีศรัทธาให้การบำรุงพระภิกษุสามเณรแล้ว พระพุทธศาสนาก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงต้องมี 2 ประเภทคือนักบวช ได้แก่ ภิกษุสามเณร และ คฤหัสถ์ผู้ให้การสนับสนุน ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ทั้งสองประเภทนี้มีความสำคัญเหมือนกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ พระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนท่อนไม้ 2 อันที่ตั้งพิงกันอยู่ หากนำอันใดอันหนึ่งออก ไม้อีกท่อนหนึ่งก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ต้องล้มไปด้วย

4.1 ให้การสนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุสามเณร
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยารักษาโรค)

   แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจอามิ ทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะเพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้"

     มีข้อสังเกตว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่อุบาสก อุบาสิกาหรือสาธุชนทั่วไป พระองค์จะตรัสถึงหมวดธรรมที่เริ่มด้วย "การให้ทาน" เช่น อนุปุพพิกถา ดังที่ทรงแสดงแก่นางสุชาดา เป็นต้น จากนั้นพระองค์จึงตรัสถึงอริยสัจ 4 อันเป็นธรรมขั้นสูงภายหลัง

    ส่วนสำหรับบรรพชิตนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสถึงหมวดธรรมที่เริ่มด้วย "ศีล" ได้แก่ คณกโมคคัลลานสูตร อันเป็นบทฝึกตนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของนักบวช

    การให้ทานจึงเป็นบุญเบื้องต้นที่อุบาสก อุบาสิกาต้องทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง และเพื่อบำรุงเลี้ยงพระภิกษุสามเณร เนื่องจากนักบวชไม่ได้ประกอบอาชีพจึงต้องฝากท้องไว้กับสาธุชน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเป็นพระภิกษุสามเณรแล้วไม่ต้องให้ทาน แม้เป็นนักบวชแล้วก็ต้องให้ทานเหมือนกัน คือ ให้เท่าที่จะทำได้ บัณฑิตในกาลก่อนมีพระโพธิสัตว์ เป็นต้น จะให้ทานโดยบริจาคทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่แล้วออกบวช แต่เมื่อบวชแล้วหน้าที่หลักคือ รักษาศีลและบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อประโยชน์ของตนเอง และเป็นเนื้อนาบุญให้แก่สาธุชน

     แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยนิสัย 4 เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแสวงหาปัจจัยตามมีตามได้ เช่น ใช้ผ้าบังสุกุลคือเป็นผ้าที่เขาทิ้งแล้วเป็นวัตร อยู่โคนไม้เป็นวัตร และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรค ถึงกระนั้นหากได้รับการถวายปัจจัย 4 จากอุบาสก อุบาสิกาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ภิกษุสามเณรไม่ต้องมีความกังวล และจะมีเวลาบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็วขึ้น

     หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญกล่าวถึงความสำคัญแห่งการให้ทานของอุบาสก อุบาสิกาไว้ว่า "พระพุทธศาสนาทั่วประเทศไทยหมดทั้งสากลพุทธศาสนา ถ้าแม้แต่คนเดียวก็ไม่บริจาคทาน ทุกคนปิดประตูบ้าน ประตูเรือน และปิดหม้อข้าวเสียไม่บริจาคกันเลย เพียงเดือนเดียวเท่านั้น พระเถรานุเถระจะประสงค์หาสักองค์หนึ่งก็แสนยาก หาไม่พบกันเลย เพราะทุกองค์ต้องสึกหมด อยู่ไม่ได้ ข้าวปลาอาหารไม่มีฉัน"

      "พุทธานุภาพก็ดี ธรรมานุภาพก็ดีสังฆานุภาพก็ดี ที่จะมาปรากฏขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยทานนั่นเองเหมือนพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้น กว่าจะมีอานุภาพเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นได้ทว่าไม่ฉันข้าวของนางสุชาดา 49 ก้อนนั้น ก็ไม่ได้พุทธานุภาพเสียแล้ว แตก ลายเสียแล้ว นั้นก็เพราะอาศัยข้าวมธุปายา 49 ก้อน ฉันแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นั่นแน่ ด้วยอำนาจทานของทายกใหญ่โตเห็นไหมล่ะ ทานนั่นแหละเป็นตัวสำคัญทีเดียว รักษาพุทธานุภาพ รักษาธรรมานุภาพ รักษาสังฆานุภาพ"

       ขณะที่หลวงปู่วัดปากน้ำเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก

  บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียงส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลย วันต่อมาก็ไม่ได้อีก ท่านคิดว่า "เราเป็นผู้มีศีล จะอดตายหรือ ถ้าเป็นจริงก็ยอมตายบิณฑบาตไม่ได้ข้าว ก็ไม่ฉันของอื่น ยอมอด เพราะคิดว่าถ้าเราตายลงไป ภิกษุหมดทั้งนคร ต้องมีอาหารบิณฑบาตพอหมดทุก ๆ รูป เพราะคนลือ ก็จะพากันสงสารพระภิกษุไปตาม ๆ กัน" จึงไม่ยอมดิ้นรนแสวงหาอาหารด้วยวิธีการอื่น

     ในวันที่สาม ท่านออกบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียง 1 ทัพพี กับกล้วยน้ำว้า 1 ผล เมื่อกลับมาถึงกุฏิ ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว หลังจากพิจารณาปัจจเวกขณ์เสร็จแล้วจึงเริ่มฉัน เมื่อฉันเข้าไปได้หนึ่งคำ ก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวผอมเดินโซเซมา เพราะอดอาหารเช่นกัน แม้ท่านกำลังหิวจัด เพราะอดอาหารมาหลายวัน ก็ยังมีความเมตตาสงสารสุนัขตัวนั้น จึงปันข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งกับกล้วยอีกครึ่งผลให้สุนัขตัวนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานจิตว่า "ขึ้นชื่อว่าความอดอยากเช่นนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย"นับจากวันนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ได้สร้างมหาทานบารมีในครั้งนั้น เมื่อไปบิณฑบาตที่ไหน ท่านก็ได้อาหารมากมายจนฉันไม่หมด และยังได้แบ่งถวายให้กับพระภิกษุรูปอื่น ๆ ด้วย


4.2 ให้การสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา
     ตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามีข้อสังเกตว่า หากยุคใดที่พระพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนจากอุบาสก อุบาสิกาอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้นำของสังคมคือ ผู้นำประเทศ เศรษฐี นักวิชาการและข้าราชการผู้ใหญ่ จะทำให้งานพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงมาก เช่น ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองอินเดียระหว่าง พ.ศ. 218259 เป็นต้น

      หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่ง พระองค์ทรงถวายมหาทานที่อโศการามแก่พระภิกษุสงฆ์ประมาณ 600,000 รูป และตรัสถามปัญหานี้ว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว มีประมาณเท่าไร"

     พระสงฆ์ถวายพระพรว่า "มหาบพิตร ! ชื่อว่าพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้นว่าโดยองค์ มีองค์ 9 ว่าโดยขันธ์มี 84,000 พระธรรมขันธ์"

      พระราชาทรงเลื่อมใสในพระธรรม แล้วทรงรับสั่งว่า "เราจักบูชาพระธรรมขันธ์แต่ละขันธ์ด้วยวิหารแต่ละหลัง ๆ" จึงทรง ละพระราชทรัพย์ถึง 96 โกฏิ แล้วรับสั่งกับพวกอำมาตย์ว่า "พวกท่านจงให้สร้างพระวิหารและพระเจดีย์ 84,000 หลัง ไว้ในพระนคร 84,000 นครเถิด"

     เมื่อวิหารและเจดีย์สร้างเสร็จในทุกพระนครแล้ว พระราชาทรงรับสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า ล่วงไป 7 วันแต่วันนี้ จักมีการฉลองพระวิหาร ขอให้ประชาชนทั้งหมด จง มาทานองค์ศีล 8เตรียมการฉลองพระวิหารทั้งภายในพระนครและภายนอกพระนคร ล่วงไป 7 วันแต่การฉลองพระวิหารนั้น

      ในวันฉลองวิหารพระราชาแวดล้อมด้วยหมู่เสนามีองค์ 4 นับได้หลายแสน เสด็จเที่ยวชมพระนคร และเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระวิหาร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ภิกษุที่ประชุมกันในขณะนั้นมีประมาณ 80 โกฏิ นางภิกษุณีมีประมาณเก้าล้านหกแสน เฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์นับได้ประมาณ 100,000 รูป

      นี้คือตัวอย่างอานุภาพและความสำคัญของอุบาสกในพระพุทธศาสนา

      นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังให้การอุปภัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ณ เมืองปาฏลีบุตรในปี พ.ศ. 236 เพื่อรวบรวมรักษาสืบทอดพระพุทธพจน์ให้สืบมาจนถึงยุคปัจจุบัน และที่สำคัญพระองค์ทรงอุปถัมภ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ระดับสากลครั้งแรก โดยส่ง มณทูต 9 สายไปประกาศพระศาสนายังประเทศต่าง ๆ หากยุคของพระองค์ไม่มีการเผยแผ่พระศาสนาออกจากอินเดีย ป่านนี้อาจไม่มีพระพุทธศาสนาเหลือแล้วก็เป็นได้ อาจจะสูญ ลายไปพร้อมกับศรัทธาของชาวอินเดียเมื่อประมาณ พ.ศ. 1700 แล้ว และเหตุที่พระพุทธศาสนาในมาตุภูมิคืออินเดียฟนคืนชีพขึ้นมาได้อีกครั้ง ก็เพราะชาวพุทธต่างชาติที่ได้รับมรดกธรรมจาก มณทูต 9 สาย กลับไปช่วยฟนฟูขึ้นใหม่

   หากยุคใดก็ตามพระพุทธศาสนาขาดการอุปภัมภ์จากบุคคลในกลุ่มผู้นำของสังคม ยุคนั้นถือได้ว่าเป็นยุคเสื่อมทีเดียว ยิ่งถ้าผู้นำประเทศเป็นมิจฉาทิฏฐิด้วยแล้ว ถือได้ว่าเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงยิ่ง ดังที่เคยเกิดมาแล้วในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน เป็นต้น

     ระหว่าง พ.ศ. 11181123 ในรัชกาลพระเจ้าซวนตี่ มหันตภัยใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในแคว้นจิว คือมีการยกเลิกพระพุทธศา นาและลัทธิเต๋า บังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขา 2,000,000 รูป ยึดวัด 40,000 แห่ง และหลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองคำและทองแดงไปทำทองแท่งและเหรียญกษาปณ์ ในยุคพระเจ้าเสียนจง ห้ามมีการสร้างวัด หล่อพระพุทธรูปและพิมพ์พระสูตรโดยไม่ได้รับอนุญาต ใน พ.ศ. 1302 มีกฎออกมาว่า ผู้ที่จะบวชต้อง วดพระสูตรได้ 1,000 หน้า หรือเสียค่าบวชให้หลวง 100,000 อีแปะ

      ต่อมา พ.ศ. 1385 ในรัชสมัยจักรพรรดิบู่จง พระองค์เลื่อมใสในลัทธิเต๋า แต่งตั้งนักบวชเต๋าเป็นเสนาบดี ใน พ.ศ. 1389 มีการโต้วาทีกันระหว่างพระภิกษุกับนักบวชเต๋าหน้าพระที่นั่ง ฝ่ายพระภิกษุได้รับชัยชนะ พระเจ้าบู่จงไม่พอพระทัยทรงบังคับให้ภิกษุและภิกษุณีลาสิกขากว่า 260,000 รูป ริบที่ดินของสงฆ์ยุบวัด หลอมพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ ฯลฯ เป็นเหตุให้พระพุทธศา นาเสื่อมโทรมไปหลายร้อยปี บางยุคหน่วยราชการขายบัตรอุปสมบท คนมีศรัทธาแต่ไม่มีเงินก็ไม่อาจบวชได้ และใน พ.ศ. 1689 พระภิกษุ ทั่วไปจะต้องเสียภาษีทุกรูป ยกเว้นผู้พิการหรือมีอายุ 60 ปี 4 แต่ทั้งนี้ก็มีหลายยุคที่พระพุทธศาสนาในประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองมากเพราะได้รับการอุปภัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดิน เช่น สมัยถังไทจง่องเต้ เป็นต้น


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001220182577769 Mins