เรื่องที่ ๑ อ่านอย่างไร จึงเรียกว่า"อ่านหนังสือเป็น"(ช่วงที่ ๕ ฝึกตนให้เป็นบัณฑิต)
สำหรับฉบับนี้ ผมมีเรื่องเทคนิคการอ่านหนังสือ
ให้เรียนเก่งมาฝากกัน ในการดูหนังสือนั้น
ครูบาอาจารย์ของผมท่านให้เทคนิคไว้ว่า
๑) อย่าอ่านลุย
ท่านบอกว่าพออ่านจบบทที่๑แล้วอย่าเพิ่งรีบอ่านบทที่๒ ท่านให้ไปหยิบกระดาษหยิบปากกาขึ้นมา แล้วให้เขียนออกมา เพื่อดูว่าเรารู้อะไรบ้างในบทที่ ๑ เขียนออกมุาเป็นห้วข้อ เป็นประเด็นออกมาให้หมดถ้ายังไม่รู้หมด เกิดการตกหล่น หรีอสะดุดกึกตรงไหน ท่านก็ให้เปิดหนังสือดู แล้วขีดเส้นใต้ตรงนั้นเอาไว้ พออ่านจนเข้าใจจำได้แล้ว ท่านให้ปิดหนังสือเขียนใหม่ทั้งหมด ทำให้ความรู้ล่วนที่รู้แล้วก็จะคล่องขึ้น ตรงไหนที่สะดุดขาดหายไป ก็จะจำไต้ติดตา เมื่อเข้าใจและจำได้หมดแล้วท่านจึงค่อยให้อ่านบทที่ ๒ ต่อไป อ่านจบแล้วก็เขียนทบทวนดูอย่างที่เคยทำในบทที่ ๑ ทุกบทให้ทำเหมือนกันอย่างนี้ ก็จะทำให้เราได้ปัญญามาก
ท่านบอกว่า เมื่อเราทำอย่างนี้แล้วจะได้ปัญญาสองชั้น คือ
ปัญญาชั้นที่๑ รู้จักตัวเองว่าเป็นคนสะเพร่าขนาดไหน จากจำนวนห้วข้อที่เขียนตกหล่นไปนั่นแหละ
ปัญญาชั้นที่๒ รู้ต้วเองแต่เนิ่นๆ ว่าตัวเองยังไม่รู้ คนส่วนมากมักไม่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว ก็เลยทำข้อสอบไม่ไต้ ซึ่งก็สายเกินแกั แต่ถ้าอ่านไปเขียนไป จะรู้ทันทีว่าต้วเองยังไม่รู้ทั้งหมด ยิ่งได้ทำแบบฝึกหัดหรีอเอาข้อสอบเก่าๆ มาทดลองทำดูก็จะได้รู้เพิ่มขึ้นอีกว่าเราไม่เข้าใจเรื่องอะไร หรีอเข้าใจผิดเข้าใจถูกอย่างไร
๒) อ่านทบทวนตรงที่ขีดเส้นใต้
ในการอ่านทบทวนครั้งต่อๆไปให้อ่านตรงที่ขีดเส้นใต้ไว้ก่อนอ่านซ้ำๆ ถ้ามีเวลาเหลือค่อยอ่านเนี้อหาทั้งหมด ถ้าเวลาน้อยอ่านเฉพาะตรงที่ขีดเล้นใต้ก็เหลือเฟือแล้ว
๓) ทนอ่านวิชาที่ไปเข้าไจ
เรื่องอะไรที่เรียนแล้วไม่เข้าใจให้ทนอ่านไปอย่าทิ้ง แตให้อ่านเป็นวิชาสุดท้ายในคืนนั้น อ่านจนกระทั่งหลับไปเลย เข้าใจไม่เข้าใจอย่าไปห่วงขอให้อ่านให้จบก่อนหลับเท่านั้น
๔) ตื่นขื้นมาไห้อ่านเรื่องกี่ไปเข้าใจทันที
ไม่ว่าเราจะตื่นมาตอนตี ๑ ตี ๒ ตี ๕ หรีอ ๖ โมงเข้าก็ตามทีท้นทีที่ตื่นอย่าเพิ่งล้างหน้าแปรงฟัน หรีอไปท่าอย่างอื่น ให้หยิบเรื่องที่ไม่เข้าใจนั่นแหละ ขึ้นมาอ่านให้จบ เข้าใจไม่เข้าใจก็ช่างมัน ขอให้ได้อ่านอีก สักเที่ยว จะได้ผลดีกว่าเดิม เพราะตอนนั้นหัวสมองของเราได้พักมาพอสมควรแล้ว และยังไม่มีเรึ่องอะไรต่ออะไรเข้ามาอยูในหัว
ถ้าเปรียบเป็นฟองนํ้าก็เป็นฟองนํ้าที่บิดแห้งมาคืนหนึ่งแล้ว ถ้าเข้าขึ้น เรารีบคว้ามาไข้ มันก็พร้อมที่จะดูดซึมนํ้าได้เต็มที่ ทำ อย่างนี้อย่างมากไม่เกิน ๓ วัน ก็รู้เรื่อง ถ้าเป็นคนปัญญาทึบหน่อยอย่างมากไม่เกิน๔-๕ วันก็เข้าใจได้เอง
คำว่า "เข้าใจ" คือเข้าไปอยูในใจ ไมใช่เข้าหูขวาทะลุหูซ้าย คำว่าเข้าใจเป็นคำที่เราพูดสั้นๆ คำ เต็มคือ "เข้าไปอยู่ในใจ" เหมือนคำว่า"คนใช้" ชึ่งุมาจากคำเต็มว่า "คนที่มาคอยรับใช้" เพราะเราตัดคำให้สั้นเอาความสะดวกรวดเร็วเข้าว่า
๕) กำหนดเวลานอนพกผ่อนให้พอดีและตื่นใหัตรงเวลา
ในวัยนักศึกษาที่มือายุเพิ่ง ๒๐ บิ อย่างพวกเรานี้นอนอย่าให้เกิน๔ ทุ่ม แล้วตื่นให้ได้ตีสีหรีอตีสิครื่ง เป็นช่วงเข้ามืดที่เหมาะแก่การอ่านอะไรก็จำได้ดีเหลือเกิน ฝ็กให้คุ้นให้กระฉับกระเฉง อย่าทำงัวเงียจะเสียเวลาเปล่า
ท่านบอกว่า เราต้องหัดแปงเวลาตรงนี้ให้เป็น แล้วต่อไปข้างหน้าคำว่าลำบากจะไม่รู้จัก เห็นอะไรแล้วมันจะง่ายไปหมด ถ้าชักขึ้เกียจขึ้นมาก็ตั้งนาพักาปลุกไว้นาพักาปลุกแล้วยังขี้เกียจลุกอีกก็เตือนตัวเองว่า เรายังมีเวลานอนในหลุมฝังศพอีกนาน ตอนนี้อดนอนไปก่อนก็แล้วกัน
และที่สำคัญ ก็คือ ท่านยังบอกอีกว่า ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ทำได้อย่างนี้ จะเรียนหนังสือดีทุกคน เพราะตัวท่านเองก็พิสูจน์ด้วยตัวเองมาแล้วจึงมาแนะให้ทำตาม แล้วเช้าๆถ้าเป็นไปได้ เวลาอ่านหนังสือช่วยอ่านดังๆด้วยถ้าเกรงว่าจะเป็นการรบกวนคนอึ่นก็ปิดห้องเสีย เวลาอ่านร.เรือล.ลิง อักษรควบ อักษรกลํ้าอ่านให้ชัดด้วย เป็นคนไทยพูดภาษาไทยไม่ชัด แล้วจะให้ใครมาพูดภาษาไทยชัดๆให้เราฟัง
ผมก็หวังว่า เรื่องที่ผมนำมาฝากในฉบับนี้ คงจะช่วยให้น้องๆเรียนเก่งขึ้นนะครับ