สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์

วันที่ 11 พค. พ.ศ.2560

นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก
"สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์"

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , นิติศาสตร์ในพระไตรปิฎก , สิกขาบทเป็นพุทธบัญญัติมิใช่มติคณะสงฆ์ , สิกขาบท

      จากตัวอย่างการบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ข้างต้นจะเห็นว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 ก็ดี หรือสิกขาบททุกข้อของภิกษุและภิกษุณีนั้นเป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น กล่าวคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงบัญญัติ ไม่ได้เป็นมติคณะสงฆ์ ไม่ได้เกิดจากการประชุมปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์ ว่า ควรจะบัญญัติสิกขาบทข้อไหน อย่างไร ระดับของโทษของแต่ละสิกขาบทเป็นอย่างไรสิกขาบทข้อไหนมีโทษหนักสิกขาบทข้อไหนควรจะมีโทษเบา เป็นต้น ทุกอย่างที่กล่าวมานี้เป็นพุทธบัญญัติทั้งสิ้น การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกประชุมสงฆ์นั้น เป็นเพียงการแจ้งให้สงฆ์ทราบเท่านั้นว่ามีเหตุเกิดขึ้น และพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนั้นๆ อย่างไร พระภิกษุและ ภิกษุณีเมื่อรับทราบแล้วจะได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ

     การจะทำอย่างนี้ได้ผู้บัญญัติพระวินัยจะต้องเป็นผู้รู้แจ้งโลก คือต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น บุคคลอื่นแม้เป็นพระอรหันต์ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะแม้จะหมดกิเล แล้วแต่ยังไม่ได้เป็นสัพพัญูรู้แจ้งโลกเหมือนพระพุทธองค์ส่วนกฎหมายทางโลกนั้นเนื่องจากผู้ร่างยังไม่หมดกิเลส และความรู้ยังไม่สมบูรณ์จึงต้องอาศัย การระดมความคิด ตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ และมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ

    ในอปริหานิยธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่ให้บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้... ไม่ให้เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ให้ มาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว"1 แม้ในส่วนของพระธรรมคำสอน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นต้นแหล่งแห่งคำสอนทั้งมวลในพระพุทธศาสนา คำสอนหลักที่สำคัญ เช่น ความไม่ประมาท, อริยสัจ 4, มรรคมีองค์ 8, ไตรสิกขา เป็นต้น ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น พระสาวกทำหน้าที่เพียงอธิบายขยายความคำสอนของพระองค์เท่านั้น

   การที่สิกขาบทของพระภิกษุและภิกษุณีทุกข้อเป็นพุทธบัญญัตินั้น เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญกับการบัญญัติกฎหมายในทางโลก เพราะกฎหมายทางโลกเกิดจากการประชุมระดมความคิดของนักกฎหมายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น ไม่ได้เกิดจากความคิดของใครคนใดคนหนึ่งเพียงผู้เดียว

   หากถามว่า เหตุใดสิกขาบทต้องเป็นพุทธบัญญัติเท่านั้น และเหตุใดพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมดต้องมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงผู้เดียวเท่านั้น เหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่อนุญาตให้ภิกษุหรือภิกษุณีบัญญัติสิ่งที่พระองค์มิได้บัญญัติไว้บ้างเพราะในปัจจุบันชาวโลกถือว่า การประชุมระดมความคิดก็ดี การให้ มาชิกในองค์กรทุกคนช่วยกันเสนอความเห็นอันแตกต่างหลากหลายก็ดี จะช่วยให้งานที่ทำบังเกิดผลดีมากกว่าการที่ใครคนใดคนหนึ่งคิดงานอยู่คนเดียวแล้วสั่งให้คนอื่นทำตาม

    ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้อยู่พอสมควรคือ กรณีสาวกนิครณฐ์แตกกันหลังจากนิคัณฐนาฏบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิถึงแก่กรรม ในครั้งนั้นพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

     นิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรมแล้ว... พวกนิครณฐ์ก็แตกกัน เกิดแยกเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย... พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรับรองว่า... ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น...

 ธรรมวินัยที่ผู้ไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้จะเป็นธรรมวินัยที่ไม่สมบูรณ์ เพราะศาสดามีความรู้ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ดังนั้นธรรมวินัยนั้นจึงมีถูกบ้างผิดบ้าง เมื่อสาวกนำไปปฏิบัติจึงไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ เมื่อไม่พ้นทุกข์ ไม่ได้เข้าถึงสัจจะที่แท้จริงภายในสาวกแต่ละคนก็จะตีความประสบการณ์ที่ตนปฏิบัติได้ไปต่างๆ กัน ซึ่งยากที่จะตรงกันเพราะต่างคนต่างทำและวิธีการที่ศาสดาสอนก็ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงแตกกันเพราะต่างคนก็คิดว่าตนเองถูก แต่พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นพระธรรมวินัยที่สมบูรณ์ถูกต้อง เพราะพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะมีความรู้ที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อสาวกสาวิกานำคำสอนไปปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วก็จะตรัสรู้ธรรมเหมือนกันตรงกัน

    ในประเด็นนี้มีข้อที่น่าศึกษาอีก คือ แม้พระอรหันตสาวกคือผู้ที่ได้เข้าถึงสัจจะภายในแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่อนุญาตให้บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ถามว่าเพราะอะไร จากการศึกษาพบว่า พระอรหันตสาวกได้เข้าถึงสัจจะภายในแล้วก็จริง แต่ยังขาดคุณสมบัติหลายประการที่จะบัญญัติสิกขาบทได้ เนื่องจากสิกขาบทที่พระศาสดาบัญญัติไว้ จะต้องเป็นอกาลิโกจะเป็นแบบแผนใช้ปฏิบัติสืบต่อไปยาวนานอย่างน้อยๆ ก็ 5,000 ปี ด้วยเหตุนี้เองพระอรหันตสาวกจึงมีคุณสมบัติไม่พอที่จะบัญญัติได้ และแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งมีบารมีมากกว่าพระอรหันต์ก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน หน้าที่นี้เป็นหน้าที่เฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

 ในพระไตรปิฎกมีปรากฏอยู่บ่อยครั้งที่พระอรหันต์กระทำในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่ากระทบต่อสาวกในภายหลัง เช่น กรณีพระมหากัปปินะไม่ปรารถนาจะทำอุโบสถ เพราะท่านคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้วคงไม่ต้องทำ ในครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า "ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูก่อนพราหมณ์ เธอจงไปทำอุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้." เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพื่อต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่ภิกษุภายหลังว่า แม้พระอรหันต์ยังต้องทำอุโบสถ
แล้วพระภิกษุปุถุชนจะไม่ทำได้อย่างไร

   จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ในบางเรื่องท่านยังมองได้ไม่ไกลเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากพระองค์อนุญาตให้พระอรหันตสาวกบัญญัติสิกขาบทได้สิกขาบทนั้นย่อมมีปัญหาในภายหลังอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงห้ามบัญญัติ ในยุคต่อมาภิกษุปุถุชนผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลายก็จะตระหนักถึงเรื่องนี้ จะไม่บัญญัติสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้บัญญัติไว้ เขาทั้งหลายจะคิดได้ว่า แม้พระอรหันต์พระพุทธองค์ยังไม่อนุญาตแล้วเราเป็นปุถุชนจะทำได้อย่างไร แต่ภิกษุที่ไม่เป็นธรรมวาทีอาจจะไม่สนใจในเรื่องนี้และบัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่บัญญัติขึ้นบ้าง จนแตกเป็นนิกายต่างๆ ในภายหลังอันนี้คงช่วย
อะไรไม่ได้ แต่อย่างน้อยๆ ภิกษุธรรมวาทีก็ยังมีอยู่มากและยังคงรักษาพระธรรมวินัยดั้งเดิมเอาไว้ได้ตราบกระทั่งปัจจุบัน

    พระวินัยนั้นเกิดจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีความถูกต้องสมบูรณ์ ยังความสุขความเจริญในการบำเพ็ญ มณธรรมสู่ภิกษุผู้ปฏิบัติตามความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้เหมือนกันว่า เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป หากสงฆ์เห็นสมควรจะเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้ แต่เนื่องจากพระอรหันต์ 500 รูปที่กระทำสังคายนาครั้งที่ 1 เห็นไม่ตรงกันว่าสิกขาบทใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปะผู้เป็นประธานในการสังคายนาจึงเสนอว่าให้ถือปฏิบัติในสิกขาบททั้งหมดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหมดก็เห็นชอบด้วย จึงถือเป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธมาจนปัจจุบัน

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011617342631022 Mins