ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๓ )

วันที่ 24 พค. พ.ศ.2560

ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๓ ),วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

ปัญหาวัดร้าง (ตอนที่ ๓ )

             นั่นก็หมายความว่า แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้ายังทรงต้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพ้นจึงสามารถตรัสรู้โลกุตรธรรมได้ด้วยตัวของพระองค์เอง

              ดังนั้น พระภิกษุเถระ พระมัชฌิมะ พระนวกะในยุคปัจจุบัน ก็ต้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเช่นกัน จึงจะสามารถบรรลุโลกุตรธรรมได้เช่นเดียวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตกาล

         ๖.๓) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระอรหันตสาวกในยุคพุทธกาล
                ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีบันทึกการปาเพ็ญเพียรของพระอรหันต์เถระไว้มากมาย พระอรหันต์รูปหนึ่ง ชึ่งมีนามว่า พระป้จจยเถระ เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ด้งนี้ว่า

             "เราบวชแล้วได้ ๕ วัน ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อเราเข้าไปยังวิหารแล้วได้ตั้งใจปรารถนาว่า

              "เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้ เราจะไม่กินไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร ทั้งจะไม่เอนกายนอน"

                   เชิญท่านดูความเพียร ความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว"

                  นั่นก็หมายความว่า แม้แต่พระอรหันตสาวกในครั้งพุทธกาล ยังต้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จึงสามารถตรัสโลกุตรธรรมตามพระบรมศาสดาไปได้

                   ดังนั้น พระภิกษุเถระ พระม้ชฌิมะ พระนวกะในยุคปัจจุบัน ก็ต้องบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเช่นกัน จึงจะสามารถบรรลุโลกุตรธรรมไต้เฉกเช่นเดียวกับพระอรหันตสาวกในยุคพุทธ
กาล
         ๖.๔)การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระภิกษุผู้ปรารภความเพียรในยุคพุทธกาล

                    ใน ทุติยทสพลสูตร พระบรมศาสดาทรงให้โอวาทแก่พระภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ในวัฏสงสารให้หมดสิ้นไปว่า

                    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ (หมายถึงทรงจำแนกธรรมไว้ดีแล้ว)

                    กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อปรารภความเพียรในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เป็ดเผยประกาศไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ว่า
                    เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้น ก็จักไม่หยุดความเพียรของบุรุษ

                    หลังจากนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงให้ความมั่นใจในการบำเพ็ญเพียรว่า

                    "บุคคลผู้เกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์ และาประโยชน์ของตนที่ยิ่งใหญ่ให้เสื่อมเสียไป ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นสุข และทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของตนให้บริบูรณ์ได้

                      การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลว หามีไม่ แต่การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลิศ ย่อมมีได้ พรหมจรรย์นื้ผ่องใสและน่าดื่ม พระศาสดาก็ยังอยู่เฉพาะหน้า"

    
                       เมื่อพระภิกษุเกิดความมั่นใจแล้ว พระบรมศาสดาก็ทรงให้กำลังใจต่อไปว่า

                 "เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง โดยตั้งใจว่า

                      'บรรพชาของเราทั้งหลายนี้ เป็นของไม่ตํ่าทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เราทั้งหลาย

                     เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเราทั้งหลาย'

                     เธอทั้งหลายพีงสำเหนียกดังพรรณนามาฉะนี้แล
              
                  ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตนสมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของตนให้ถึงพร้อมดัวยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อึ่นสมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมดัวยความไม่ประมาท หรือบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายสมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง ๒ ฝ่ายให้ถึงพร้อมดัวยความไม่ประมาท"

                นั่นก็หมายความว่า การปรารภความเพียรเป็นสิงที่ต้องทำอย่างยิ่ง เพราะทำให้ทั้งการบวชของพระภิกษุ และการทำนุปารุงด้วยข้าวปลาอาหารของญาติโยมไม่สูญเปล่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้พระภิกษุใช้การตระหนักถึงความไม่สูญเปล่านี้ เป็นกำลังใจในการปรารภความเพียรอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน

                  ดังนั้น จากพระบรมพุทโธวาทนี้ แม้พระพุทธองค์จะไม่ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่แล้ว แต่ก็เหมีอนกับทรงชี้ให้เห็นว่า พระภิกษุเถระ พระม้ซฌิมะ พระนวกะในยุคปัจจุบัน จะสามารถบรรลุโลกุตรธรรมได้ ก็ต้องปาเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเท่านั้น จึงจะท่าไต้เช่นเดียวกับพระภิกษุสาวกที่อยู่ต่อหน้าพระบรมศาสดาในยุคพุทธกาล

          ๖.๕) การอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระภิกษุในยุคป้จจุบัน
            ในอดีตที่ผ่านมามีพระภิกษุหลายรูปที่ปาเพ็ญเพียรตามรอยบาทของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามรอยบาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า ตามรอยเท้าของพระอรห้นต์ ตามรอยเท้าของพระเถระผู้บำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิต สืบต่อๆกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จวบจนกระทั่งยุคปัจจุบันที่ผ่านมาเกือบร้อยปีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) หลวงปู่จัดปากนํ้าภาษีเจริญ ก็ได้บำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันตามรอยบาทของพระบรมศาสดาเช่นกัน จนกระทั่งท่านได้เข้าถึง"พระรัตนตรัยในตัว" ซึ่งมีศัพท์บาลีในคัมภีร์พระไตรปิฎก เรียกว่า"ธรรมกาย" ท่าให้ภายหล้งมีพระภิกษุและญาติโยมในยุคปัจจุบันเกิดกำล้งใจในการบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน และเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวเช่นเดียวกับท่านเป็นจำนวนมาก โดยมีบันทึกปรากฏอยู่ในชีวประวัติของท่านดังนี้

             ในพรรษาที่ ๑๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๖๐
             หลวงปู่วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ ไดไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บนต.บางคูเวียง อ.บางกรวยจ.นนทบุรี ใน วันขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๑๐ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ว่า

              "เราบวชมาจวนจะครบ ๑๒ พรรษาแล้ว
             วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเรา ก็ไม่เคยขาดเลยสักวันทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ

               อย่าเลยควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียที"

               เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เช้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา "สัมมา อะระหัง"เรื่อยไป จนกระทั่งความปวดเมื่อยและอาการกระสับกระส่ายเริ่มติดตามมา จิตก็ซัุดส่ายกระวนกระวายจนเกือบจะหมดความอดทนแต่ได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป เมื่อไม่สนใจความปวดเมื่อยของสังขาร ในที่สุดใจก็ค่อยๆสงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธื์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก

              วันนั้นท่านมีความสุขทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสสว่างก็ยังเห็นติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายไม่ขาด ท่านได้รำพึงว่า

             "ความสว่างเช่นไม่เคยมีมาก่อนเลยในชีวิตของการบำเพ็ญธรรม เราไม่เคยเห็นความสว่างใดจะเทียบเท่าได้ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์ก็ยังห่างไกลเท่าที่เห็น อุปมาเหมือนแสงหิ่งห้อยกับโคมไฟ"

            ท่าให้ท่านหวนระลึกถึงพระพุทธวจนะบทหนึ่งที่ว่า"นตถิ สนฺติ ปรํ สุขํ" แปลว่าสุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี เมื่อใจหยุดก็เกิดความสงบ เมื่อสงบจิตย่อมเป็นสุข และได้ตั้งใจว่า

            "วันนี้เป็นไงเป็นกัน หากเราไม่บรรลุธรรมที่พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงบรรลุล่ะก็ เราจะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา

         หากเราจะต้องตายไปในครั้งนี้ ก็จะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก'ผู้ที่จะตามมาภายหลัง จะได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อไปก็จะได้อานิสงส์อีกโสดหนึ่ง"

              เย็นวันนั้น หลังจากได้ฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนสหธรรมิกแล้ว ท่านได้รีบทำภารกิจส่วนตัวสรงนํ้าให้ร่างกายสดชึ่นดีแล้ว จึงเข้าไปในอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งลัตยาธิษฐานว่า

           "ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี

            ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพระองค์ๆ จ้กเกิดโทษแก่พระศาสนา ก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ฯด้วยเถิด

             ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต"

             เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว ท่านก็เริ่มนั่งหลับตา ขณะนั้นมีมดอยูในช่องแผ่นหินที่ท่านนั่ง กำ ลังไตขึ้นมารบกวน ท่านจึงหยิบขวดนํ้ามันก๊าดขึ้นมา เพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำาเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดนํ้ามันก๊าดลง เจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคหรีอดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า

          "คมฺภีโร จายํ ธรรมเป็นของลึกซึ้งถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึก นึก คิด

         ถ้ายังตรึก นึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึงต้องทำ ให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน

               แต่พอหยุดก็ต้บ แต่พอต้บแถ้จก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้ว ไม่เกิด

               นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนด้งนี้ก็ไม่มี ไม่เป็นเด็ดขาด"

          เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดช้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำ ดับจนกระทั่งถึง "ธรรมกาย"

            คำว่า "ธรรมกาย" นี้ มีพระบาลีร้บรองว่า

          "ตถาคตสฺส วาเสฏรเอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ"

           ดูกร! วาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของพระตถาคต

           ในอัคดัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก มีพระบาลีดังนี้ว่า

          "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺซา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิพุรทฺมกาโยอิติปี ธมฺมภูโต อิติป็ พฺรหฺมภูโต อิติปิๆ....

         ดูกร! วาเสภูฐะและภารทวาชะคำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ว่าธรรมภูตก็ดี ว่าพรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต"

        ดังนั้น จากปฏิปทาการบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันของพระเดชพระคุณหลวงปูวัดปากนํ้านี้เอง ย่อมเป็นการให้กำลังใจว่า การบำเพ็ญภาวนาของพระภิกษุเถระพระมัชฌิมะพระนวกะตามรอยบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปนั้นย่อมเป็นหนทางแห่งการบรรลุโลกุตรธรรมโดยไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน

     ๖.๖) การบำเพ็ญภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นเส้นทางเก่าของพระลัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

            จากเส้นทางแห่งการบรรลุธรรมของพระสัมมาส้มพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรห้นตเจ้า และพระภิกษุสาวกที่ไล่เลียงมาตามลำดับนี้ ย่อมเห็นปรากฏเป็นหลักฐานได้อย่างชัดเจนว่า

       บุคคลสำคัญของโลกผู้มีดวามเคารพในธรรมยิ่งกว่าชีวิตทุกท่านนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ตร้สโลกุตรธรรมด้วยการบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุทิศสิวิตเป็นเดิมพันทังสิ้น

              ทั้งนี้เพราะเส้นทางตรัสรู!ลกุตรธรรมนี้ เป็น "เส้นทางเก่าของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์" ทั้งที่บังเกิดขึ้นแล้วในอดีตกาล ทั้งที่บังเกิดขึ้นในปัจจุบันกาล และทั้งที่จะบังเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตกาล ล้วนต้องผ่านเส้นทางนี้ทั้งสิ้น ดังที่พระบรมศาสดาตรัสเล่าไว้ใน "นครสูตร"ว่า

                "ภิกษุทั้งหลาย...อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น ได้แก่
                     ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
                     ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
                     ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
                     ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
                     ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
                     ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
                     ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
                     ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

                    นี้คือทางเก่าที่พระสัมมาส้มพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเคยเสด็จพระดำเนิน เราก็ได้ดำเนินตามทางนั้น
                  ขณะดำเนินไป ได้รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ชัดความดับแห่งสังขารได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
                  ครั้นได้รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นแล้ว เราจึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้จึงได้บริษุรณ์ กว้างขวางรู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว"

                    นั่นก็หมายความว่า การที่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจะมีโลกุตรธรรมมาแจกจ่ายประชาชนได้นั้น ล้วนแล้วแต่ต้องบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน ผ่านเส้นทางเก่าอันเป็นทางเอกสายเดียวของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์นั่นเอง

                   

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.050193349520365 Mins