เส้นทางอันพิสุทธิ์

วันที่ 02 มิย. พ.ศ.2560

 เส้นทางอันพิสุทธิ๋,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

เส้นทางอันพิสุทธิ์

       จุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิต ที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร จากกิเลสอาสวะได้นั้น คือเราต้องตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ใจเราหยุดนิ่งจนกระทั่งเข้าถึงแหล่งแห่งความบริสุทริ่ภายใน หยุดเท่านั้นเป็นตัวสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ทำให้ใจของเราบริสุทธิ์

      เราจะอธิษฐานใหจิตบริสุทธิ์แค่ไหน จะประกอบพิธีกรรมอะไรก็ตาม เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ตามที่ปรารถนาได้ ต่อเมื่อใจหยุด ใจนิ่ง ตรงกลางกายฐานที่ ๗ แล้วจะเห็นความบริสุทธิ์เกิดขึ้นตรงนั้น ดวงใจของเราทั้งดวง ใสเกินใสไม่มีความใสใดๆในโลกมาเทียบได้ และก็จะสว่างที่สุดไม่มีความสว่างใดๆในโลกจะเทียบได้ แม้ความสว่างของดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เพราะเป็นความสว่างที่มาพร้อมก้บความสุข และเป็นแสงสว่างแห่งความบริสุทธิ์ในใจเรา ตอนนั้นจิตของเราจะมีคุณภาพ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกใครบังคับบัญชา แล้วก็เป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริงที่ไม่มีวันสิ้นสุด และเป็นสิ่งที่คงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ณ ตำ แหน่งศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของใจจะบังเกิดขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินทางไปสู่พระนิพพาน ไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ที่อยู่ภายในตัวของเรา เป็นจุดที่พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ และพระอรหันตทั้งหลายท่านเริ่มตันทางแห่งความบริสุทธิ์เรื้อยไป พอถูกส่วนเข้าก็จะพบเส้น ทางสายกลางภายใน จะเห็นทางแห่งความบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า "วิสุทธิ์มรรค" และเป็นทางไปของพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เรียกว่า"อริยมรรค"อันเป็นทางสาย- กลางภายในที่เรียกว่า"มัชฌิมาปฏิปทา"อยู่ภายในกลางตัวตรงนี้แหละ คือ จุดเริ่มต้นแห่งความบริสุทธิ์

       เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรมจนใจเราละเอียดถูกส่วนนิ่งแน่นหน้กเข้าไปเรื่อยๆเราจะอัศจรรย์ใจเพิ่มขึ้นไปทุกครั้ง เพราะใจจะเปลี่ยนสภาวะจากหยาบ  ไปสู่สภาวะที่ละเอียดกว่า จากไม่บริสุทธิ์ไปสู่บริสุทธิ์ จากบริสุทธิ์น้อยก็ไปสู่บริสุทธิ์มาก เราจะเห็นเส้นทางแผนผังชีวิตของเราซึ่งมีมาดั้งเดิม คือ กายในกายเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม รวมอยู่ในกลางกาย เราจะเห็นไปดามลำดับ โดยมีดวงธรรมเป็นจุดเริ่มต้น อยู่รวมกันในที่เดียว แต่ว่าเป็นคนละอย่างกัน เหมือน ตา หู จมูก ปาก รวมอยู่บนใบหน้า แต่เรียกชื่อกันคนละอย่างเพราะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน

      น้กวิชาการทางภาษาบาลีซึ่งเป็นชาวตะว้นตกได้ค้นพบความหมายของคำว่า "ธรรมะ" ในพระไตรปิฎกอย่างน้อยๆ ถึง ๕๐ กว่าความหมาย แต่ที่น่าอ้ศจรรยํใจ มีความหมายหนึ่งที่เขาใช้คำว่า "ดวงธรรมภายใน" เขาบอกว่ามีลักษณะเป็นทรงกลม ใสกว่าเพชร เป็นความบริสุทธี้ นึ่เป็นคำแปล ๑ ใน ๕๐กว่าความหมายของคำว่า "ธรรมะ" ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกทีเดียว และเขาแปลมาอีกหลายความหมายว่า คือความบริสุทธิ์ คือความถูกต้องดีงาม คือหน้าที่ คือสิ่งโน้น คือสิ่งนี้ สารพัด แต่สุดท้ายมาลงที่ว่า มีรูปร่างลักษณะกลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว แล้วก็ใสบริสุทธิ์ ใสยิ่งกว่าเพชร สว่างยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน นั่นล่ะคือดวงธรรม เป็นจุดเบื้องตัน พอเห็นดวงธรรม ไม่ช้าจะเห็นตถาคต

      พอเห็นดวงธรรมตรงนี้เข้าถึงความบริสุทธี้ตรงนี้ หยุดนิ่งเข้าไปเริ่อยๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลย หยุดเข้าไป พอถูกส่วน เดี๋ยวเราก็เห็นกายในกายซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป มีกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามีกายธรรมพระอนาคามี แล้วก็กายธรรมพระอรห้ต ซ้อนๆ กันอยู่อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว ที่ว่าน่าอัศจรรย์คือ ของใหญ่ซ้อนอยู่ในของเล็ก ความละเอียดซ้อนอยู่ในความหยาบ ความใสบริสุทธิ้กว่าซ้อนอยู่ในสิ่งที่บริสุทธิ้น้อยกว่า ใสน้อยกว่า เป็นชั้นๆ เข้าไป

       และเมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วน สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ก็จะหลุดล่อนออกไป เหมือนมะขามกับเปลือกไม่ติดกัน หรือเหมือนเนี้อเงาะล่อนไม่ติดกับเปลือก เป็นชั้นๆเข้าไปเรื่อยๆ มาพร้อมก้บความสุข มาพร้อมกับปัญญาบริสุทธิ์ที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตได้แจ่มแจ้งดียิ่งขึ้น เหนือกว่าปัญญาที่เกิดจากการจินตมยปัญญา และสุตมยปัญญา เป็นปัญญาอันบริสุทธที่เกิดจากเห็นแจ้งเมื่อใจหยุด คือ ทิ้งทุกสิ่งหมดเลย เห็นทุกสิ่งเป็นสิ่งไร้สาระว่างเปล่าทั้งหมด เกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด คลายจากความยึดมั่นถือมั่นในคน สัตว์ สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นของปลอมๆ ที่ทำ ให้เป้าหมายของชีวิตเราเบื่ยงเบนไปปัญญาอันบริสุทธิ้นี้จะมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ณ ตำแหน่งแห่งความบริสุทธิ้ที่ปลอดความคิด เพราะตรงนั้น ไม่มีความนึกคิดอะไรเลย เกิดความรู้ขึ้นมาจากการเห็นแจ้ง

       ภาพๆหนึ่งที่เห็นนั้น ดีกว่าคำบรรยายเป็นล้านๆคำสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังหรือได้ศึกษาจากตำรับตำราต่าง ๆ สิ่งนี้มีอยูในต้วของเรา ซ้อนกันอยู่เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องปฏิบ้ติให้เข้าถึง ให้ไปรู้แจ้งเห็นแจ้งให้ได้ และเป็นเป้าหมายชีวิตของเราที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาก็มีวัตถุประสงค์เพียงแคํนั้แหละ แต่เราไม่เข้าใจ เพราะไม่มีผู้รู้แนะนำ เมื่อเราเกิดมาเห็นเขาเคยทำอย่างไร เราก็ทำไปอย่างนั้น สุดท้ายก็ตายฟรีไปอีกชาติหนึ่ง

        เพราะฉะนั้น การสร้างบารมีกว่าจะไปถึงปลายทางที่เราปรารถนา จึงต้องใช้เวลายาวนานเป็นอสงไขยชาติทีเดียว แต่ถ้าเข้าใจตรงนี้ และเราบริหารเวลาเป็นเวลาทำมาหากิน เราก็ทำไป แล้วเราก็เจียดเวลามาทำหยุดทำนิ่งภายในแสวงหาสิ่งนี้ให้พบ

       เมื่อเราพบแล้ว เข้าถึงแล้ว ธรรมะจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราให้ไปสู่ชีวิตในระดับที่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่นัอยเกินไป เราจะรู้ด้วยตัวของเราเองว่าความพอดีของชีวิต ต้องการแค่นี้เท่านั้น เมื่อถึงตรงนั้น เราก็จะเป็นผู้ที่สมหวังในชีวิต เป็นสุขที่สุดในโลก...


 

 

 

วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015707532564799 Mins