สาระแก่นสารแห่งชีวิต

วันที่ 01 กค. พ.ศ.2560

สาระแก่นสารแห่งชีวิต,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

สาระแก่นสารแห่งชีวิต


   มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ เป็นทางเอกสายเดียวที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นทางเดียวที่นำเราไปสู่อายตนนิพพาน

   สรรพสิ่งในโลกนี้ ที่เราเข้าใจว่าเป็นสมบ้ด็ของเรา ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์สิ่งของ หรือแม้กระทั่งตัวของเราเองก็ตาม หาใช่สมบัติที่แท้จริงของเราไม่เพราะสิ่งเหล่านี้ยังไม่ใช่สาระแก่นสารของชีวิต เป็นสิ่งไม่คงที่ ประกอบด้วยความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

   สิ่งที่เป็นสมบัติของเราจริงๆ มีเพียง ไอ สิง คือ "ใจ" อันได้แก่ความเห็น ความจำ ความติด ความรู้ ๔ อย่างนี้รวมเริยกว่าใจ และฐานที่ตั้งของใจ คือ "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗" อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง ที่จะนำ เราเดินทางไปสู่เสันทางสายกลางภายใน เป็นทางที่พระอริยเจ้า พระอรหันต์ทั่งหลายใช้เดินทางไปสู่อายตนนิพพาน และนำใหัเราเข้าถึงแหล่งแห่งปัญญาอันบริสุทธิ์ ทำใหัหลุดพ้นจากความทุกข์ทำใหัเราเข้าใจแจ่มแจ้งในเริ่องราวของชีวิตในสรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลาย

   เมื่อเข้าถึงจุดนั้นเราจะแยกได้เป็น ๒ ภาค คือ ภาคของสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร กับภาคของสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร จะตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แล้วก็จะมุ่งเข้าไปหาสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารของชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีความบริสุทธล้วนๆ เป็นแหล่งกำเนิดแห่งปัญญา แหล่งกำเนิดแห่งความสขที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเอกันตบรมสุข นั้นแหละเป็นตัวตนที่แท้จริงที่เป็นอิสระจากกิเลสจากอาสวะทั่งหลาย

  ความเป็นอิสระนี่แหละ คือ ความปรารถนาของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั่งหลาย ท่านปรารถนาจะเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของกิเลสอาสวะของความโลภ ความโกรธ ความหลง ของพญามาร เมื่อท่านหลุดพ้นจากตรงนี้แล้วใจก็บริสุทธิ์ ยิ่งใจบริสุทธิ์เท่าไรก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

   แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใจของเราบริสุทธิ์  รู้ได้เมื่อใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ประการแรกใจจะเป็นอิสระจากความอึดอัด ค้บแคบ เวลาใจเราอยู่กับกายมนุษย์หยาบ จะรู้สึกอึดอัด คับแคบ เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม ไม่ค่อยได้ด้งใจ กระส้บกระส่าย ทุรนทุราย แต่พอใจไปหยุดอยู่ตรงกลางกายฐานที่ ๗ ใจจะหลุดพ้นจากกายหยาบ ความรู้สึกว่ามีด้วดนก็หมดไป รู้สึกเหมือนไม่มีร่างกายเป็นอิสระ เป็นหนึ่งเดียวกับบรรยากาศ เป็นบรรยากาศแห่งความบริสุทธิ์ที่มีความเบาสบายทั้งร่างกายและจิดใจ ในความรู้สึกที่โล่งโปร่งเบาสบาย ใจเปงบานขยายออกไปจนกระทั้งไม่มีขอบเขต เหมือนเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาล กับอวกาศโล่งๆ สบายๆ อย่างนั้น และยิ่งหยุดนิ่งหนักเข้า นิ่งแน่นหนักเข้าคือใจไม่ไปไหน อยู่ตรงนั้นอย่างเดียว ความสบายก็ยิ่งเพิ่มพูน อาการขยายก็ยิ่งเพิ่มเบาสบายมากขึ้น

   จนกระทั้งถึงจุดๆ หนึ่ง เห็นดวงใสบริสุทธิ์ผุดเกิดขึ้นมาในกลางของการหยุดนิ่งตรงฐานที่ ๗ ดวงนั้นแหละคือ ดวงธรรมภายใน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความบริสุทธิ์
   

  ความบริสุทธิ์เราจะรู้ได้เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรมดวงนี้ครั้งแรก เราจะเห็นส้ญญาณแห่งความบริสุทธิ์ หรือนิมิดหมายแห่งความบริสุทธิ์ จะเป็นความใสความสว่างของดวงธรรม ยิ่งใสมาก สว่างมาก ก็ยิ่งบริสุทธิ์มาก ยิ่งบริสุทธิ์มาก เท่าไรใจก็ยิ่งเป็นอิสระมากขึ้น ยิ่งมีความสุขมากขึ้น เราจะเริ่มเข้าใจอะไรต่างๆได้ไปตามความเป็นจริงมากขึ้นกว่าเดิม

   แต่เดิมเราเข้าใจแค่เป็นตัวหนังสือ เป็นความเข้าใจในระด้บพิ่นผิว จากการได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง ว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา แต่พอเข้าถึงดวงธรรม เราจะเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น เริ่มยอมร้บว่าร่างกายเป็นเพียงเครื่องอาศัย เป็นเพียงทางผ่านเพื่อเดินทางต่อไป จนกระทั้งเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ถึงชีวิตภายในที่ละเอียดประณีดกว่ากายหยาบ มีลักษณะคล้ายๆ คัวเรา แต่งดงามกว่า สดใสกว่า สว่างกว่าเมื่อเราเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด จนกระทั้งมีความรู้สึกเป็นชีวิตเดียวกัน จิตใจดวงเดียวกัน ตอนนี้ความแจ่มแจ้งก็จะมากขึ้นลึกซึ้งไปกว่าเดิม รู้ว่ากายมนุษย์หยาบไม่ใช่ของเราจริง ไม่ใช่ตัวเราจริง เป็นเพียงเครื่องอาศัยเหมือนบ้านเรือน เหมือนเสื้อผ้า ไม่มืความรู้สึกผูกพันในกายมนุษย์หยาบ และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับกายมนุษย์หยาบไม่ว่าจะเป็นสมบัติพัสถาน ลาภ ยศ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะรู้สึกเฉยๆ เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็จะเป็นในทำนองอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าถึงกายทิพย์กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กระทั่งถึงกายธรรม

   กายธรรม คือ กายที่อยู่ในภาคแห่งความเป็นสาระแก่นสาร มีคุณสมบ้ติ ๓ อย่าง คือ เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา เป็นกายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ทรงรูปอย่างนี้ใสบริสุทธิ์เป็นแกัว งามไม่มีที่ติ ใสเกินใส สวยเกินสวย ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกุตดอกบ้วตูม แล้วก็มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายตั้งแต่เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งแตกต่างจากกายอื่นๆ

   กายมนุษย์ กายทิพย์ พรหม อรูปพรหมจะมีเครื่องประตับประตา สวยงามประณีตแบบโลกียภูมิ แต่พอเข้าถึงกายธรรม ตํ๋งแต่กายธรรมโคตรภูเป็นตันไป เครื่องนุ่มห่มก็เป็นแบบพระ เรียบง่าย สงบเสงี่ยม สง่างาม มีความอิ่มเต็มเพียงพอไม่กระหาย สงบ ดั้งมน บริสุทธิ้ แล้วก็คงที่ เป็นแหล่งกำเนิด เป็นเนี้อเป็นหน้งของความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่บริสุทธี้ ซึ่งแตกต่างจากความสุขแบบมนุษย์สุขแบบเทวดา พรหม อรูปพรหม

  สุขแบบมนุษย์ก็คือ ความเพลิน สนุกสนาน แล้วก็มีความทุกข์เจือปนกันอยู่ในนั้น แต่ความสุขจากการเข้าถึงธรรม เป็นความสุขที่สะอาด บริสุทธิ์เป็นอิสระ กว้างขวาง ไม่คับแคบ มิความเบิกบานเป็นนิจ เป็นความเคลื่อนไหวที่อยู่ในกายที่นิ่งสงบ เหมือนมีพลังที่อัดแน่นเต็มเปี่ยม พลังแห่งความบริสุทธิ์อยู่ในกายที่นิ่งสงบ ปากปิดสนิท ไม่ได้ทำกิจแบบมนุษย์ สงบนิ่ง ตั้งมั่น นี่ธรรมกายเป็นอย่างนี้ แล้วก็มืปัญญา ความรอบรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของชีวิตได้แจ่มแจ้งขึ้นมากทีเดียว จนกระทั่งไปสู่ความบริสุทธิ์ที่ยิ่งขึ้นไป และหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะอย่างแท้จริง

   
   สิ่งใดที่ไม่เป็นสาระแก่นสารของชีวิตก็ปล่อยไปมีแต่กายที่ เป็นสาระ แก่นสาร คือ กายธรรม และต่อจากนี้ไปก็มีแต่กายธรรมในกายธรรม กายธรรมในกายธรรม คงที่ไปตลอดเส้นทาง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะแตกต่างกันเพียงความใส ความสว่าง ความบริสทธิ์ ขนาดโตใหญ่ แต่พิมพ์เดียวกันหมด ยิ่งบริสุทธิ์มากก็ยิ่งโตใหญ่มาก ยิงมีความสุขมาก ยิงมีอานุภาพมาก มีความรอบรู้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ความสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะจะไปรวมประชุมอยู่ที่กายธรรมอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา สมบูรณ์เต็มเปี่ยมไปหมดเลย ไม่มีข้อบกพร่อง นั่นคือจุดหมายปลายทางของชีวิตทุกๆ ชีวิต


  นี่คือเส้นทางสายกลาง "มัชฌิมาปฏิปทา" ที่อยู่ภายในกลางกายของมนุษย์ทุกคน จะเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เมื่อเข้าถึงแล้วเราจะรู้ด้วยตัวของเราเองว่า อะไรคือสาระแห่งชีวิต และอะไรคือเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์

 

 

 

 

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร

วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011374195416768 Mins