ข้อสรุปของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

วันที่ 05 กค. พ.ศ.2560

ข้อสรุปของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสัจสี่ , ข้อสรุปของทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ , ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

     บุคคลใดพิจารณาเห็นว่าการสร้างกุศลกรรม มีศีล และทาน เป็นต้น จะก่อให้เกิดอานิสงส์ได้ประสบสมบัติ 3 ประการ เมื่อมีปัญญาหยั่งรู้เช่นนี้แล้ว ก็จัดได้ว่า มีสัมมาทิฏฐิบังเกิดในสันดาน บุคคลผู้มีความดำริที่จะสร้างกุศลกรรม มีทาน และศีล เป็นต้น ย่อมได้ชื่อว่ามีสัมมาสังกัปปะบังเกิดในสันดาน การมีความดำริที่จะเว้นจากวจีทุจริต กายทุจริต และมิจฉาอาชีวะ ในขณะที่บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนานั้น ย่อมได้ชื่อว่ามีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะบังเกิดในสันดาน การมีความดำริพากเพียรในการสร้างกุศลกรรม มีศีล และทาน เป็นต้น ย่อมได้ชื่อว่ามีสัมมาวายามะบังเกิดขึ้นในสันดาน การมีความคิดที่คอยระลึกถึงการสร้างกุศลกรรมอยู่นิจกาลนั้น ย่อมได้ชื่อว่ามีสัมมาสติบังเกิดในสันดาน ความคิดที่จะยังจิตให้ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือเอกัคคตา ย่อมได้ชื่อว่ามีสัมมาสมาธิบังเกิดในสันดาน


มรรคมีองค์ 8 บังเกิดพร้อมกัน
      มรรคทั้ง 8 ประการนี้ เมื่อบังเกิดย่อมบังเกิดพร้อมกันทั้ง 8 ประการ ดุจพระอัญญาโกณฑัญญเถรเจ้าได้ฟังพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วสำเร็จพระโสดาปัตติผลฉะนั้น มรรคทั้ง 8 อันยังจิตให้บรรลุโสดาปัตติผลนั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 8 ประการ กล่าวคือ

     สัมมาทิฏฐิ อันได้แก่ปัญญานั้น ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 ประการ โดยรู้แจ้งว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 นั้นชื่อ ทุกขอริยสัจ เพราะเป็นเหตุที่เกิดแห่งทุกข์ทั้งปวง รู้แจ้งว่าตัณหาอันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์นั้นชื่อ ทุกขสมุทัยอริยสัจ รู้แจ้งว่าอาการที่ดับตัณหาได้เด็ดขาด มิให้บังเกิดขึ้นอีกได้นั้นชื่อ ทุกขนิโรธอริยสัจ รู้แจ้งว่ามรรคทั้ง 8 นั้นชื่อ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

     ส่วนสัมมาสังกัปปะ คือ วิตก หรือความดำริ ก็สามารถละเสียได้เด็ดขาด ซึ่งมิจฉาวิตก 3 ประการ อันได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

    สัมมาวาจานั้นเล่า ก็สามารถละเสียได้เด็ดขาด ซึ่งมิจฉาวาจา 4 ประการ อันได้แก่ มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปวาจา

     สัมมากัมมันตะนั้น ก็สามารถละเสียได้เด็ดขาด ซึ่งมิจฉากัมมันตะ 3 ประการ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร

     สัมมาวายามะ คือ วิริยะนั้น ก็สามารถละมิจฉาวายามะได้เด็ดขาด อันได้แก่ อกุศลอันบังเกิดแล้วให้ขาดไปจากสันดาน ขณะเดียวกันก็ปิดกั้นอกุศลที่ยังไม่บังเกิดมิให้บังเกิดขึ้นได้ยังกุศลอันมิได้เคยบังเกิดมาก่อน คือโ ดาปัตติมรรคจิตให้บังเกิดขึ้น และยังกุศลอันบังเกิดแล้วนั้นให้พันายิ่ง ๆ ขึ้นไป

    สัมมาสติ อันเป็นไปในอารมณ์ทั้ง 4 ประการ ก็พิจารณารูปขันธ์ว่า ตกอยู่ใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา พิจารณาเห็นว่า เวทนาขันธ์นั้นเองที่เป็นทุกข์พิจารณาเห็นว่า วิญญาณขันธ์คือจิตนั้นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ ดับเกิดอยู่ตลอดเวลา พิจารณาเห็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ว่า เป็นอนัตตาคือควบคุมมิได้

    สัมมาสมาธินั้น ยังองค์อริยมรรคทั้ง 7 นับตั้งแต่สัมมาทิฏฐิเป็นต้น อันบังเกิดด้วย สัมมาสมาธินั้น ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์คือพระนิพพาน ให้มั่นคงไม่หวั่นไหว

    มรรคทั้ง 8 นี้ บังเกิดพร้อมกันในโสดาปัตติมรรคจิต และกระทำกิจต่าง ๆ กันดังนี้คือสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นปัจจัยแก่สัมมาทิฏฐิ มีอุปมาดุจมืออันเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ คือเมื่อบุคคลจะมองดูสิ่งต่าง ๆ เช่น เงินและทอง ก็ใช้มือหยิบเงินและทองนั้นพลิกกลับไปกลับมา จักขุคือดวงตานั้นมองดูแล้ว ก็รู้ว่าเงินและทองนั้นดีหรือไม่ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การที่สัมมาสังกัปปะ

    เป็นปัจจัยแก่สัมมาทิฏฐิ ก็มีอุปไมยฉันนั้น คือสัมมาสังกัปปะยังให้เกิดดำริอารมณ์อยู่เนือง ๆ สัมมาทิฏฐิจึงทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์นั้นว่า ธรรมหมู่นี้เป็นกามาวจร ธรรมหมู่นี้เป็นรูปาวจรธรรมหมู่นี้เป็นอรูปาวจร แล้วก็นำไปพิจารณาต่อในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นเสมือนพนักงานนำเสนอ ดำริอารมณ์ให้แก่สัมมาทิฏฐิ ในทำนองเดียวกับมือ ซึ่งจับเงินและทองพลิกกลับไปกลับมาให้จักขุมองฉะนั้น

   ส่วนสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะนั้นเล่า ก็เป็นเหตุปัจจัยให้แก่สัมมาอาชีวะ ด้วยเหตุว่าเมื่อกายกรรม วจีกรรมสุจริตแล้ว การเลี้ยงชีพย่อมสุจริตตามไปด้วย

   ฝ่ายสัมมาวายามะและสัมมาสตินั้นเล่า ก็เป็นเหตุปัจจัยให้แก่สัมมาสมาธิ อุปมาเสมือนบุรุษ 3 คนเป็น หายกัน ชวนกันเข้าไปในอุทยาน ครั้นบุรุษคนที่หนึ่งเห็นดอกจำปาก็ปรารถนาจะได้ดอกไม้นั้น แต่ต้นจำปานั้นสูงสุดเอื้อม หายคนหนึ่งจึงก้มหลังให้เหยียบ หายอีกคนหนึ่งก็น้อมกายลงให้จับ บุรุษนั้นก็เหยียบหลัง หายคนหนึ่ง และจับบ่า หายอีกคนหนึ่งจึงสามารถเก็บดอกจำปามาได้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใดสัมมาวายามะก็เปรียบเสมือนบุรุษผู้ก้มหลังให้เหยียบสัมมา ตินั้นเปรียบเสมือนบุรุษผู้น้อมบ่าลงให้จับสัมมาสมาธินั้นเปรียบประดุจบุรุษผู้เหยียบหลัง หายแล้วเก็บดอกจำปาได้ การที่สัมมาวายามะกับสัมมาสติเป็นปัจจัยให้แก่สัมมาสมาธิ ซึ่งมุ่งเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมอุปมาดุจบุรุษทั้ง 3 คนที่เป็น หายกัน


การจัดมรรคมีองค์ 8 โดยวิธีต่าง ๆ
    องค์มรรค 8 ประการนี้ ถ้าจะจัดโดยขันธ์ ก็อาจจะจัดได้เป็น 3 ขันธ์ คือสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะจัดเป็นปัญญาขันธ์สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ ทั้ง 3 นี้จัดเป็นสีลขันธ์ส่วนสัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิรวมเป็นสมาธิขันธ์ ซึ่งแสดงได้ด้วยแผนภูมิดังนี้


สัมมาทิฏฐิ            >        ปัญญาขันธ์
สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ       >         สีลขันธ์
สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ
สัมมาสติ              >        สมาธิขันธ์
สัมมาสมาธิ

   อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอริยสาวกก็พึงกำจัดอวิชชาคือตัวโมหะ อันเป็นเหตุให้ลุ่มหลงเสียด้วยปัญญาขันธ์ กำจัดโทสะคือตัวพยาบาทเสียด้วยสีลขันธ์ กำจัดโลภะเสียด้วยสมาธิขันธ์

      อนึ่ง องค์มรรค 8 ประการนี้ ถ้าจะจัดโดยวิชชาและจรณะแล้วสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ ทั้งสองนี้จัดเป็นวิชชาส่วนที่เหลืออีก 6 ประการจัดเป็นจรณะ ซึ่งแสดงได้ด้วยแผนภูมิดังต่อไปนี้

สัมมาทิฏฐิ            >        วิชชา
สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ         >         จรณะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ

    วิชชานั้นเปรียบประดุจจักษุทั้งสองข้าง จรณะนั้นประดุจเท้าทั้งสองข้าง อธิบายว่าบุคคลเดินทางนั้น ถ้ามีดวงตาทั้ง องข้างบริสุทธิ์แจ่มใสก็จะแลเห็นว่า หนทางมีภัยหรือปราศจากภัย และถ้ามีเท้าทั้งสองข้างครบบริบูรณ์ ก็จะสามารถเดินไปตามหนทางอันปราศจากภัยนั้นได้ในทำนองเดียวกัน บุคคลผู้ซึ่งเจริญมรรคทั้ง 8 ประการนี้ จนสามารถตั้งอยู่ในฐานะอริยสาวกแล้ว ก็จะเล็งเห็นว่า การปฏิบัติดังนี้จะไม่ก่อให้บังเกิดทุกข์เลย ตรงกันข้ามการปฏิบัติตามมรรคทั้ง 8 ประการนี้ จะเป็นเหตุให้บังเกิดสุขอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อริยสาวกจะเล็งเห็นคุณข้อนี้ได้ก็ด้วยปรีชา คือสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ และการที่อริยสาวกปฏิบัติจรณะทั้ง 6 คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธินี้ ก็เป็นเสมือนหนทางอันปราศจากภัยทั้งปวง ผู้เดินทางย่อมจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางอย่างแน่แท้ประดุจบุคคลเดินทางที่มีจักษุทั้งสองบริบูรณ์ มีเท้าทั้งสองบริบูรณ์ ย่อมบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งปรารถนาฉะนั้น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010818282763163 Mins