วันแห่งธรรมจักร

วันที่ 02 สค. พ.ศ.2560

วันแห่งธรรมจักร,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

วันแห่งธรรมจักร

 

   วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูซา เป็นวันสำคัญทางพระพทธศาสนาวันหนึ่ง คือเป็นวันบังเกิดขึ้นของสังฆรัตนะ คือมีพยานตรัสรู้ธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือได้รู้แจ้ง เห็นแจ้ง ตามที่ท่านได้สอนหนทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่เราเรียกว่าธรรมจักร หรือจักรแห่งธรรมได้เคลื่อนแล้วในวันนี้ ก็หมายถึงว่าธรรมอันบริสุทธิ์ที่แท้จริง หรือคำสอนของความรู้อันบริสุทธิ์ที่แท้จริง ได้เริ่มเปิดเผยมาสู่มวลมนุษยชาติแล้ว ทั้งมนุษย์และเทวดาได้รับทราบวิธีการปฏิบัติที่จะดำเนินชีวิตไปสู่ความดับทุกข์ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะเป็นสุขนิรันดรที่แท้จริงในวันนี้แหละถึงไดัเรียกว่า "วันแห่งธรรมจักร" คือ เป็นวันที่ธรรมนั้นได้เคลื่อนแล้ว ได้ขย้บเขนี้อนแล้ว ได้ถูกเปิดเผย ถูกนำมาแสดงแจกแจงให้ง่ายเข้า มาแนะนำหนทางในการดำเนินชีวิตให้ได้ บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละชาติว่า ทำอย่างไร จึงจะดับทุกข์เข้าถึงความสุขได้ ซึ่งมีหนทางปฏิบัติอยู่ ๘ ประการ ทั้งแปดประการนี้เป็นสิงที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไป จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ด้องครบทั้งแปดข้อแปดประการนี้ จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ คือดับกิเลส ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้นได้ เข้าถึงความสุขอันไพบูลย์ จะเลี่ยงเอาบางอย่างบางข้อที่เราชอบก็ไม่ได้ เลือกบางข้อหรือเว้นบางข้อก็ไม่ได้เหมือนกัน ต้องไปพร้อมๆกัน

   วันนี้เป็นวันที่ชาวพุทธทั้งหลายทั่วโลกควรจะให้ความสำคัญยิ่ง ไม่ควรจะมีเครื่องกังวลใจในเรื่องใดๆ ในเรื่องธุรกิจการงาน เรื่องครอบครัวหรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ควรจะเป็นวันว่าง ว่างจากภารกิจทั้งมวล เพื่อที่จะฟังสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเรา ที่จะนำเราให้เข้าไปสู่ความสุขอันเป็นอมตะ เหมือนอย่างพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ท่าน ได้ตั้งใจ สดับรับฟังพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องหนทาง ๘ ประการนี้ด้วยความตั้งใจและถูกที่แล้ว จึงทำให้ ๑ ใน ๕ นั้นคือ พระโกณฑัญญะ เป็นบุคคลแรกที่ได้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็มีความสุขตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ชาวพุทธควรจะเอาใจใส่ ทำตัวให้เหมือนพระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าที่เป็นแบบอย่าง คือตั้งใจฟังธรรมก้นอย่างเต็มที่ ไม่ส่งจิตใจไปที่ไหนเลย แล้วก็ประสบความสำเร็จจากการที่ได้ฟังธรรม ได้เข้าถึงธรรมเบื้องต้นที่จะเป็นอุปการะส่งต่อไปถึงธรรมท่ามกลางและเบื้องปลายในที่สุด

    ดังนั้นหลวงพ่อก็จะพูดคร่าวๆ พอเป็นแนวทางสำหร้บที่จะศึกษามรรค ๘ ประการนั้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนแก่พระปัญจว้คคีย์ คือ

    ๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) ก็คือท่านให้เริ่มต้น ต้องให้มีความเห็นให้ถูกต้องเสียก่อน ถ้าเริ่มต้นไม่ถูกแล้ว จะเดินทางต่อไปมันก็ผิดลงห้วยลงเหวกันไป ความเห็นชอบตั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่เห็นว่า ทาน เป็นสิ่งที่ดีจริง เป็นสิ่งที่ควรทำ คือ "การให้" เป็นสิ่งที่ดีจริง เป็นสิ่งที่ควรทำ แล้วก็บูชาบุคคลที่ควรบูชา อย่าไปบูชาสิ่งที่ไม่ควรบูชา สมัยนั้นก็มีดาษดื่น เกี่ยวก้บเรื่องการบูชาภูเขา ต้นไม้ อารามศักดิ์สิทธิ์ อะไรต่างๆ หรือส้ดว์เดรัจฉานเหล่านั้น เป็นต้น หรือบูชาผู้ที่ไม่ได้รู้จริง แต่แสร้งทำเป็นผู้รู้ เพราะฉะนั้นท่านก็สอนเป็นแนวทางว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชา แล้วก็ให้เห็นคุณค่าของการต้อนรับแขก ว่าเป็นประดุจ เชื่อมโยงสายใจกันเอาไว้ให้ดี ให้เห็นความสำคัญของการรับแขก ปิดความเป็นปรปักษ์ เปิดหนทางแห่งการเป็นกัลยาณมิตร เชื่อมโยงสายใยมีไมตรีจิตต่อกันว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีจริง แล้วก็เป็นสิ่งที่ควรทำ

     นอกจากนั้นท่านก็สอนว่า จะต้องมีความเห็นว่ากฎแห่งกรรมมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นรกสวรรค์มีจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง ให้เชื่อเรื่องเหตุ เรื่องผลนั้นเอง ประกอบเหตุอย่างนี้ก็จะต้องไปมีผลอย่างโน้น ให้เห็นว่าชีวิตมนุษย์มันสั้น แต่ชีวิตหลังจากตายแล้วมันยาว ถ้าทำความดีตอนเป็นมนุษย์อยู่ แม้ว่าจะมีความทุกข์ยากลำบากแค่ไหนก็ตาม มันก็ประเดี๋ยวเดียว แต่ผลแห่งความดีส่งผลให้ยาวนาน เป็นหมื่นเป็นแสนล้านปี เป็นกัปทีเดียว เป็นมหากัปอย่างนั้น ชีวิตมนุษย์มันแค่ไม่กี่สิบปี ไม่เกินร้อยปีก็ตายแล้ว อดทนสร้างบารมี ทำความดีกันไป

   เชื่อเรื่องนรกเรื่องสวรรค์ คือเรื่องเหตุเรื่องผลนั้นเอง เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า ไม่ใช่ว่าชีวิตสิ้นสุดที่เชิงตะกอน ให้เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณ ท่านให้กายเนี้อเรามา เป็นทางผ่านให้กายเนี้อ เป็นรูปกายของมนุษย์มา

 สร้างบารมีด้วยกายอื่นนั้นสร้างบารมีไม่ได้ ต้องกายมนุษย์นี้เท่านั้น สร้างบารมีได้ยิ่งกว่าอื่น กายอื่น สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์ นรกไม่ต้องพูดถึง เทวดา พรหม อรูปพรหม ก็ทำได้ไม่เต็มที่ มนุษย์เท่านั้น จึงจะสร้างบารมีได้เต็มเปี่ยม

   เพราะฉะนั้น เบื้องต้นให้เห็นว่า บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณกันอย่างแท้จริง แล้วตอนสุดท้ายของความเห็นถูกนั้น ท่านก็สอนว่า ต้องเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ท่านตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยไม่มีครูสอน กำจัดกิเลสอาสวะหมดสิ้น เห็นชัดแจ่มแจ้ง แล้วก็เป็นสิ่งนั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนวิธีการปฎิบัติให้เป็นอย่างพระองค์ มีพยานตรัสรู้ธรรม ทำ ตามได้ เข้าถึงได้ แล้วก็เป็นอย่างท่านได้ ทั้งหมดโดยย่อนี้เรียกว่า สัมมาทิฎฐิ ความเห็นที่ถูกนี้ เหมือนการเริ่มต้นเดินทางที่ถูกต้อง ถ้าถูกทางก็จะถึงที่หมาย

    ๒. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดถูก) เมื่อมีความเห็นถูกต้องแล้ว ก็จะต้องมีความคิดให้ถูกต้อง ตั้งแต่คิดออกจากกาม กามวัตถุ กามกิเลส รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทรัพย์สมบัติอะไรต่างๆ เหล่านั้นเป็นต้น ทรัพย์ที่มีชีวิตก็ดี สิ่งนี้เป็นเครื่องกังวล ให้สุขได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย สุขน้อยแต่ทุกข์มาก สุข ๕ เปอร์เซ็นต์ ทุกข์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ให้ดำริออกจากกาม คิดออกจากความพยาบาท ใจขุ่นนี่ไม่ดีเลย นอกจากจะป่วยไข้ จะไม่สบายกาย ไม่สบายใจแล้ว อาจจะเป็นเหตุให้สร้างเวรสร้างกรรมกันสืบต่อไปในอนาคตอีก และให้มีความคิดที่จะออกจากการเบียดเบียน เบียดแปลว่าทำให้ตก เบียนก็ทำให้ตาย ตกจากตำแหน่งบ้าง ตกจากจุดที่เราไม่ชอบบ้าง ถ้าทำไม่ได้ก็เบียนเอาให้ตายเสียเลย จะต้องมีความคิดออกจากกาม จากความพยาบาท จากการเบียดเบียน
 
   ๓. สัมมาวาจา (พูดชอบ) คิดชอบแล้วยังไม่พอ เพราะเป็นเพียงแค่ ระดับของความคิด แต่พอถึงระดับที่ต้องเปิดเผยออกมาแล้ว คือทางวาจา ทางคำพูด ก็จะต้องพูดให้เป็นด้วย ไม่ใช่พูดได้อย่างเดียว พูดที่ถูกต้อง ให้เว้นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พูดเรื่องจริง เรื่องมีประโยชน์ เป็นเรื่องที่ไพเราะละเอียดไม่ใช่พูดคำหยาบ ไม่จริง เพ้อเจ้อ ส่อเสียด ยุยงให้เขาทะเลาะกัน

 ๔. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทร้พย์ การประพฤติผิดในกามเพื่อให้ กาย วาจา ใจ เกลี้ยงเกลาไปหมดเลย

๕. สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) คนเราต้องประกอบสัมมาอาชีวะที่จะเลี้ยงชีพ ท่านก็แนะนำว่าสิ่งอะไร อาชีพอะไรที่จะเป็นเหตุให้ชีวิตไม่ได้มีความสุขไปอีกยาวนาน ท่านก็ให้เว้น อาชีพอะไรที่มันเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นให้เว้น เรียกว่าสัมมาอาชีวะ ท่านให้เว้นสิ่งเหล่านี้ ให้ทำแต่อาชีพที่ดี คืออย่าไปดูผลรายได้กำไรอย่างเดียว คือมองเห็นสั้นๆ แค่นั้นไม่พอ ชีวิตของเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกำไรเป็นเงินเป็นทองอย่างนั้น ต้องมองว่าหลังจากได้ทรัพย์มา แล้วบริโภคเต็มอิ่มไหม แล้วผลที่ได้ทรัพย์มาจากการเบียดเบียน หรือจากการประกอบสัมมาอาชีวะ ตอนใกล้จะตายเป็นอย่างไร

    ตายแล้วจะไปเกิดเป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรกหรือเปล่า และถ้าพ้นเวรพ้นกรรมอ้นนั้นขึ้นมาเป็นมนุษย์ จะเป็นมนุษย์ระดับไหน จะมีความทุกข์ทรมาน ไปอีกกี่ภพกี่ชาติ ท่านให้ดูไปไกลๆ ท่านไม่ให้มองใกล้ๆ

  เพราะฉะนั้น ใครที่จะไปค้าสิ่งมีชีวิต ค้าอาวุธ ยาเสพติดอะไรต่างๆเหล่านั้นเป็นต้น อย่าไปทำ สิ่งที่ควรจะค้าขายยังมีอีกเยอะแยะ ที่ไม่ได้ไป เบียดเบียนใครเลยยังมีอีกมากมายก่ายกอง ท่านก็สอนให้ประกอบสัมมาอาชีวะว่า ไหนๆ ชีวิตของเราเป็นอยู่ด้วยปัจจัยสี่ เราก็จะต้องมีวิธีหาสมบัตินั้นมาหล่อเลี้ยงสังขาร ครอบครัวของเรา ด้วยวิธีที่เป็นสัมมาอาชีวะ

   ๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) ความเพียรคือมีความขย้น จะขยันทำมาหากินอย่างเดียวไม่พอ ท่านบอกว่าจะต้องมีความเพียรละบาป อกุศลที่มีอยู่ในใจ ระว้งอย่าให้มันเกิด แต่ถ้ามันเกิดแล้ว ก็ช่วยก้นแก้ไข ปร้บปรุงให้มันหมดไป บุญอันใดยังไม่ได้สร้าง ก็สร้างเสีย สร้างแล้วก็สร้างเรื่อยๆอย่าไปคิดว่าสร้างครั้งเดียวก็จะเพียงพอ

   ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ให้ดึงใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว มาสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ ท่านให้กลับมาที่ตัวมาดูที่กาย ที่เวทนา ที่จิตและที่ธรรม สี่อย่างนี้มันอยู่กับตัวของเรา สิ่งอะไรที่ปรนปรืออยู่ ร่างกายให้อยู่ได้ เหมือนไฟที่มีฟืนปรนปรืออยู่ ท่านก็ให้กลับมาอยู่ที่ตรงนั้น ในความหมายเบื้องต้นที่เป็นส่วนหยาบ ท่านก็หมายเอาว่า ให้เอาใจกลับมาสู่ที่ตั้งของเรา เมื่อลมหายใจ เป็นสิ่งที่ปรนเปรอร่างกายให้เป็นอยู่ได้ ก็มาอยู่ที่ลมหายใจ อยู่ตรงที่สุดแห่งลมนั้นๆ อยู่ภายในกลางตัว แล้วก็ดูว่า การที่เรากำหนดอย่างนื้แล้ว ความรู้สึก ที่เรียกว่าเวทนานั้น มีสุข มีทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ให้รู้จัก ให้รู้แจ้งอย่างนี้เรียกว่าอะไร ความคิดปรุงแต่งที่มีอยู่ในใจ ตลอดจนธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล นี่เรียกว่า มีสัมมาสติ

  ๘. สัมมาสมาธิ (ใจตั้งมั่นชอบ) คือ ให้ใจกลับมาสู่ที่ตั้งตั้งเดิม เมื่ออยู่ที่ตั้งแล้วก็ให้อยู่ที่ตั้งอย่างนั้น อย่าให้หลุดไป การที่ใจกลับมาสู่ที่ตั้งเรียกว่า "วิตก" อย่างเช่น เรานึกถึงดวงแกัวหรือองค์พระ อย่างนื้เรืยกว่า "วิตก" วิตก ในที่นี้คือใจตรึกนั้นเอง ตรึกถึงบริกรรมนิมิต ดรืกถึงบริกรรมภาวนาที่อยู่ในตัวของเรา แล้วทำให้มันต่อเนื่องกันไปที่เรืยกว่า "วิจารณ์" คำ ว่าวิจารณ์ไม่ใช่ว่าไปครุ่นคิดไปพิจารณาอย่างนั้น แต่หมายถึงทำให้ต่อเนื่อง คือถ้านึกถึงดวงแกัว ก็ดวงแถ้วต่อเนื่อง ถ้านึกถึงองค์พระ ก็ให้องค์พระต่อเนื่อง เรืยกว่าวิจารณ์
      
   พอทำอย่างนื้หน้กเข้าหนักเข้า ใจก็อยู่กับดวงแกัว อยู่กับองค์พระ ก็เริ่มหลุดจากเรื่องที่หยาบ ความคิดหยาบๆ เรื่องเรืยน เรื่องงาน เรื่องครอบครัว หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ มันก็หลุด หลุดแล้วก็มาอยู่ก้บองค์พระกับดวงแก้ว อยู่หน้กเข้าหน้กเข้า ก็เกิดปีติซาบซ่านขึ้นมาในใจ

   เมื่อท่านโกณฑัญญะทำตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสอนในที่สุด ก็เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบัน หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นแก้ว ใสเกินใสทีเดียว พอถึงเขตของพระอริยเจ้าในเบื้องต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปล่งอุทานว่า "โกณฑัญญะเห็นแล้วหนอ" เพราะ พระพุทธเจ้าท่านสอนโดยเอาเข้าไปในกลาง เอาพระปัญจว้คคีย์ทั้ง ๕ไว่ในกลางธรรมกายอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านสอนไป แนะนำไป พระปัญจว้คคีย์ทั้ง ๕ ก็ทำตามไป ท่านก็มองไป สอนไปด้วย มองไปด้วยในกลางนั้น มองเห็นว่าแต่ละองค์ทำกันอย่างไร ท่านมองตามไปเลย

    แล้วท่านก็เห็นทีเดียวว่า พระโกณฑัญญะท่านได้เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบัน หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา องค์อื่นถึงโคตรภูบุคคล ยังไม่เป็นพระอริยเจ้า เมื่อยังไม่เป็นพระอริยเจ้า ยังไม่แน่นอน ท่านก็ไม่เปล่งวาจา แต่ว่าเห็นพระโกณฑัญญะเข้าถึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวก้บพระโสดาบันแล้ว อุทานขึ้นมาเลยว่า "อัญญาโกณฑ้ญญะ โกณฑ้ญญะเห็นแล้วหนอ" เห็นตามที่ตถาคตสอนแล้ว เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นแล้ว มีกายธรรมหน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วาใสบริสุทธิ้ แจ่มกระจ่างทีเดียว ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำได้แล้ว เครื่องผูกเบื้อง ต่ำตัดไต้แล้ว เป็นธรรมกาย ใส บริสุทธิ์ หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา

     สักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นถึอมั่นในขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์หยาบก็ดี ของกายมนุษย์ละเอียดก็ดี ของกายทิพย์ก็ดี กายรูปพรหมก็ดี หรือกายอรูปพรหมก็ดี ว่าสิ่งนี้เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตาที่แท้จริง แต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ก็ล่อนหลุดเห็นธรรมกายนี้แหละเป็นตัวตน
ที่แท้จริง เที่ยงแท้แน่นอน จะไปสู่อายตนนิพพานได้

    วิจิกิจฉา ความสงสัยเรื่องการปฏิบัติหรือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสงสัยว่าชีวิตจะไปสิ้นสุดที่ใด ดำเนินหรือปฏิบัติอย่างไรจะไปสิ้นสุด หายสงสัยแล้ว เห็นหนทางของพระนิพพานแล้ว เห็นด้วยธรรมกายทีเดียว เห็นด้วยธรรมจักขุของพระโสดาบัน หยั่งรู้ได้ด้วยญาณทัสสนะของ
ธรรมกายพระโสดาบัน หายสงสัยเรื่องพระรัดนตรัย เพราะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระรัตนตรัยแล้ว

    สีสัพพตปรามาส ที่จะให้ถือข้อวัดรปฎิบ้ดีแบบวิธีอื่นที่เคยได้เห็น ได้เรียนรู้ศึกษามา ข้อวัตรของเดียรถีย์อะไรต่างๆ เหล่านั้นแห็นว่า ไร้สาระแก่นสาร ไม่มีประโยชน์ เป็นสรณะไม่ได้ เป็นที่พึ่งที่ระลึกไม่ได้ ธรรมกายนี่แหละเป็นที่พึ่ง บัดนี้ได้เข้าถีงที่พึ่งภายในแล้ว เที่ยงแท้แน่นอน ว่าจะต้องไปพระนิพพานอย่างแน่นอน ถ้าเป็นปุถุชนธรรมดา เมื่อเข้าถึงตรงนี้แล้ว เที่ยงแท้ แน่นอนไม่ตกต่ำไปสู่อบาย เกิดไม่เกิน ๗ ชาติ ทำความดีต่อไปเรื่อยๆ กระทั่งเข้าถึงกายธรรมอรหัต ไปสู่อายตนนิพพานได้

    พระสัมมาสัมพุทธเจัาท่านทรงแสดงธรรมอย่างนี้ ๘ ประการ เป็นหนทางให้มนุษย์และเทวดาทั้งหลายปฏิบัติตาม ถ้าใครทำอย่างนี้ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างพระโกณฑัญญะ เพราะฉะนั้นวันนี้วันอาสาฬหบูชา วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงแสดงธัมมจักกัปปวัดตนสูตรโปรดแก่มนุษยชาติ โดยที่มีพระปัญจวัคคีย์เป็นเบื้องต้นนั้น ยังคงความโกลาหลเกิดขี้นทีเดียว ในสมัยสองพันกว่าปีที่แล้ว เทวดาทั้งหลายที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ ตั้งแต่ภุมมเทวา ที่มีกาย ละเอียดใกล้เคียงกับกายหยาบของเราที่อยู่บนพื้นมนุษย์ รุกขเทวามีวิมานอยู่ ตามด้นไม้ ซ้อนก้นอยู่ในนั้น อากาศเทวามีวิมานอยู่ในอากาศ ก็ตื่นเต้นตามทีเดียว ชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นตุสิต นิมมานรดีปรนิมมิตวสวัดดี ตลอดจนกระทั่งพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น ทุกท่านตื่นเต้นกันใหญ่ทีเดียว ถ้าภาษามนุษย์ก็ฮือฮาว่า โอ้ ไม่เคยได้ยินได้ฟังอย่างนี้มาก่อนเลย

   ได้ยินได้ฟังแค่ครูบาอาจารย์ที่เป็นเดียรถีย์สอนให้ทรมานตนบ้าง สอนให้ไปไหว้ก้นไปไปกราบไปไหว้ตามป่าตามเขา เจ้าพ่อเจ้าแม่อะไรต่างๆ เหล่านั้น เป็นต้น บางพวกก็สอนให้ท่าตัวสบาย จงกิน จงดื่ม เสพติดเครื่องตองของเมา อะไรต่างๆ เหล่านั้น ว่าเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ เคยไดัยินได้เห็น แต่อย่างนั้น

    แต่บัดนี้ได้ยินหนทางอ้นประเสริฐคือ หนทางสายกลาง ข้อปฏิบัติ ๘ ประการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติเรียงกันมาตามลำดับ จะตัดลัดข้อความ ขาดตอนไปท่อนใดท่อนหนึ่งไม่ได้เลย นี่เป็นความอัศจรรย์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านทรงรู้จริง เห็นจริงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เทวดาก็ฮือฮากันไป โจษจันกันไป ภุมมเทวา รุกขเทวา อากาศเทวา ชาวสวรรค์ ๖ ชั้น พรหม อรูปพรหมทั้งหมด กึกก้องกัมปนาท โลกธาดตหวั่นไหวทีเดียว

    ดังนั้นในอ้นนี้พวกเราทั้งหลาย พึงชำระกาย วาจาใจ ให้สะอาดให้บริสุทธิ์ให้ผ่องใส จะได้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะ รองรับพระรัตนตรัยเหมือนอย่างพระปัญจวัคคีย์ หรีอเหมือนดังท่านอัญญาโกณฑัญญะ ที่ท่านได้เข้าถึงธรรมกาย พระโสดาบันในวันนั้น


   

 

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร

วันที่ ๘ ตลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
      
      
    

     

     

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0023962338765462 Mins