ฐานที่ตั้งจิต

วันที่ 30 พค. พ.ศ.2557

 

ฐานที่ตั้งจิต

 

           ฐานที่ตั้งจิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฐานที่ตั้งจิตถาวร กับ ฐานที่ตั้งจิตชั่วคราว
 ฐานที่ตั้งจิตชั่วคราว ได้แก่ ฐานที่ 1 ถึง ฐานที่ 6ส่วนฐานที่ตั้งจิตถาวร ได้แก่ ฐานที่ 7 ซึ่งอยู่
 

ตรงกลางกายของเราการที่มีฐานทั้ง 7 เช่นนี้ ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ๆ ที่สามารถค่อยๆ หัดฝึกวางใจไว้ตามฐานต่างๆ ก่อน แล้วจึงค่อยตะล่อมใจไปวางไว้ที่ฐานที่ 7 ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งถาวร   อุปมาเหมือน การใช้ท่อนไม้เล็กๆ ทำหลักไว้ผูกควาย ก็ใช้ผูกได้ชั่วคราวครั้งละ 2  3 ตัว เมื่อเสร็จธุระแล้วก็ถอนทิ้งส่วนหลักที่ใช้ผูกจำนวนมากๆ นั้น เราต้องใช้เสาใหญ่ จะได้คงทน ไม่ต้องย้ายไปมา เรียกว่า หลักถาวร ซึ่งลักษณะพิเศษของหลักถาวรก็คือ ต้องสร้างให้มั่นคงแข็งแรงและไม่มีการโยกย้าย


       เหตุที่ฐานที่ 7 เป็นฐานที่ตั้งถาวร

เหตุที่ฐานที่ 7 เป็นที่ตั้งถาวรนั้น อธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่า เพราะตำแหน่งนี้เปรียบเสมือน
จุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย ( ฯ ) ถ้าสังเกตจะเห็นว่าของทุกอย่างมีศูนย์ถ่วงของตัวเองถ้าเอาอะไรไปรองรับตรงจุดศูนย์ถ่วงสิ่งนั้นก็จะตั้งอยู่ได้ ยกตัวอย่างเช่น แก้ว ศูนย์ถ่วงของแก้วจะอยู่ตรงกลางพอดี ถ้าเราเอามือไปรองที่ศูนย์ถ่วงตรงกลาง แก้วก็จะอยู่ได้ ไม่ตก แต่ถ้าเราเอามือของเราไปรองข้างๆแก้วก็จะตก เพราะศูนย์ถ่วงไม่ได้ แต่แก้วจะตั้งได้ต่อเมื่อ นิ้วของเราไปรองอยู่ตรงศูนย์ถ่วงพอดี ถึงจะรองรับน้ำหนักได้ของทุกอย่างจะมีศูนย์ถ่วง มีจุด สมดุล ถ้าเราไปรองรับตรงจุด สมดุลสิ่งของนั้นๆก็จะตั้งอยู่ได้ถ้าไปรองนอกจุดสมดุลสิ่งของนั้นก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ กลิ้งไปกลิ้งมา ตรงฐานที่ 7 นี้เป็นบริเวณที่โลกส่งแรงมาดึงดูดร่างกายของมนุษย์ไว้ มิฉะนั้นแล้วมนุษย์ก็จะหลุดออกไปจากโลก (โลกกลม)ใจของเราก็เช่นเดียวกัน จุดศูนย์กลางกายเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ ตรงกึ่งกลางตัว เป็นเสมือนจุดมดุลของใจ จุดศูนย์ถ่วงของใจตรงนี้ เมื่อใจของเราตั้งไว้ตรงจุดนี้แล้ว จะเป็นจุดที่ได้ดุลที่สุด ไม่เอียงซ้ายไม่เอียงขวา ไม่เอียงหน้าเอียงหลัง พอดีๆ หรืออาจเรียกจุดนี้ว่า จุดโฟกัสของใจก็ได้ถ้าเปรียบใจของเราเหมือนแว่นขยาย จุดนี้ก็คือจุดโฟกัสของแว่นขยาย เมื่อเราเอาใจไปจรดจ่อตรงจุดนี้แล้ว จะเห็นสิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริงได้ชัดเจนที่สุด เห็นถึงความจริงของโลกและชีวิตไปตามความจริง ถ้าถูกส่วนจริงๆ ถึงจุดถึงขนาด ก็จะส่องความจริงให้เห็นการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เป็นการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา โดยการผสมผสาน


วิธีต่างๆ เข้ากันอย่างลงตัว กล่าวคือ


1. การกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว กลมใสเป็น 1 ใน กสิณ 10 คือ อาโลกสิณ
(กสิณแสงสว่าง)


2. การกำหนดบริกรรมภาวนา ว่าสัมมา อะระหัง เป็น 1 ใน อนุ ติ 10 คือ พุทธานุสติ
(มี ติระลึกถึง พระพุทธเจ้า)


3. การกำหนดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งเป็นที่สุดของลมหายใจ เป็น 1 ใน อนุ ติ 10 คือ
(มีสติกับลมหายใจ)

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021785930792491 Mins