ปรับความคิด เปลี่ยนนิสัย ฝึกฝนสมอง
เรียนรู้ถึงวิธีการปรับฮอร์โมนที่มีผลต่ออารมณ์ในสมอง รวมถึงวิธีคิด เปลี่ยนนิสัย
เปลี่ยนความคิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ดีที่เราสรรหามาฝากกัน
เพราะมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่า เมื่อคนเราจินตนาการถึงเรื่องร้าย และเป็นคนเจ้าอารมณ์ เกรี้ยวกราด
เสมอ หรือซึมเศร้าบ่อยๆ สมองส่วนซีรีบรัมและซีรีเบลลัม รวมถึงสมองซีกซ้าย (ซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำและการคิดวิเคราะห์) จะยุบตัวลง ตรงกันข้าม เมื่อคนเราจินตนาการถึงเรื่องดี ความสุข ความภาคภูมิใจ และเป็นคนอารมณ์ดี ใจเย็น รอบคอบ สมองทั้งสามส่วนนั้นก็จะพองตัวขึ้น คุณหมอเดเนียล จี. เอเมน ผู้เขียน
หนังสือ Making a Good Brain Great จึงมีวิธีปรับฮอร์โมนที่มีผลต่ออารมณ์ในสมอง รวมถึงวิธีคิดของสมอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ซึ่งเราสรรหามาฝากดังนี้
อย่าหลงเชื่อความคิดวูบแรก
เมื่อรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสแรกส่งข้อมูลมาถึงสมอง สมองจะเชื่อมโยงสิ่งทั้งหมดเหล่านี้เข้ากับประสบการณ์เดิมที่เคยเกิด เราจึงรู้สึกกับบางสถานการณ์หรือเรื่องราวตรงหน้ามากหรือน้อยเกินไป
ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อความเข้าใจผิดได้ทั้งสิ้น คุณหมอเอเมนกล่าวว่า ทางที่ดีที่สุด เราควรซักถามหา
เหตุผลของสถานการณ์หรือเรื่องราวที่เพิ่งเกิดใหม่หมาด เพื่อบันทึกไว้เป็นข้อมูลในเชิงเหตุผลที่ถูก
ต้องมากกว่าอารมณ์ความรู้สึกในทางลบ
เชื่อว่าความคิดของเรามีพลังพิเศษ
เมื่อเราคิดแต่ละครั้ง สมองจะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา บางตอนในหนังสือ Making a Good Brain Great บอกว่า ถ้าคิดในทางบวกเป็นเรื่องสุข เป็นความหวัง สมองจะปล่อยสารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกดี และระบบการทำงานของสมองก็จะมีประสิทธิภาพ ตรงกันข้าม ถ้าคิดในทางลบเป็นเรื่องผิดหวัง โศกเศร้าเสียใจ สมองจะปล่อยสารเคมีที่ทำให้อารมณ์เราบูดเน่า ย่ำแย่ และระบบการทำงานของสมองก็พาลรวน ฉะนั้น ลองชี้ทิศทางให้สมองขับเคลื่อนไปด้วยพลังงานบวกดีกว่าค่ะ