ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์

วันที่ 17 กค. พ.ศ.2558

 

 

 ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์

            การรักษาศีลให้บริสุทธิ์จะส่งผลให้จิตใจของเราปลอดกังวล และจะส่งผลให้จิตใจสงบหยุดนิ่ง ได้ง่าย เพราะศีลจะชำระจิตไม่ให้น้อมไปสู่ทางฝ่ายต่ำ สามารถอดทนต่ออำนาจอารมณ์และสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่จะทำให้น้อมไปสู่ทางฝ่ายต่ำ นอกจากนี้ศีลยังป้องกันความหวั่นไหวแห่งจิต และความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปฏิสารเป็นผล มีอวิปฏิสารเป็นอานิสงส์Ž1) ความหวั่นไหว และความเดือดร้อนใจเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ดังนั้นเมื่อรักษาศีลดีแล้ว จิตก็จะเป็นสมาธิได้ง่าย

            เพราะฉะนั้น หลักการเบื้องต้นของผู้ที่เจริญสมาธิต้องเป็นคนมีศีลและสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตามสภาวะของตนสมาธิในพระพุทธศาสนาเป็นสัมมาสมาธิ เพราะเกิดจากศีลเป็นพื้นฐาน อันจะนำไปสู่ปัญญา หากบุคคลใดปรารถนาสมาธิเพื่อเป็นบาทไปสู่ปัญญาอันจะทำให้ตรัสรู้และพ้นทุกข์ได้ พึงศึกษาสมาทานและดำรงมั่นอยู่ในศีล เป็นสำคัญ

 

โดยสรุปแล้วศีลที่บุคคลควรรักษามี 3 ระดับใหญ่ๆ คือ

1.ศีล 5 (ศีลระดับพื้นฐาน) เป็นศีลพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง เพราะการที่เราจะรักษาความเป็นปกติของมนุษย์เอาไว้ได้นั้น ต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย

2.ศีล 8 (ศีลระดับกลาง) เป็นศีลที่รักษาในวันอุโบสถหรือในโอกาสพิเศษตามที่ต้องการ เพื่อเป็นการยกระดับจิตให้ประณีตยิ่งขึ้น

3.ปาริสุทธิศีล (ศีลระดับสูง) เป็นศีลสำหรับผู้ที่มุ่งความบริสุทธิ์ เช่น พระภิกษุ เพราะเป็น การเกื้อกูลต่อการทำสมาธิและปัญญาให้เกิดขึ้น

 

------------------------------------------------------------------------

1) อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่มที่ 38 ข้อที่ 1 หน้า 1.

จากหนังสือ DOUMD 305  สมาธิ 5

หลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011672115325928 Mins