แม่บทสำหรับการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

วันที่ 24 กย. พ.ศ.2558

 

แม่บทสำหรับการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา


            ตลอด 45 พรรษา ของการเทศนาโปรดสรรพสัตว์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บรรลุธรรมตามพระองค์ไปนั้น มีคำสอนสำคัญๆ ที่ทรงตรัสเอาไว้มากมาย โดยจะทรงเทศน์ให้เหมาะสมกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้รับประโยชน์สูงสุด คือมีความหลุดพ้นเป็นจุดหมาย ซึ่งพระธรรมเทศนาที่ทรงสั่งสอนไว้มีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ในปัจจุบันได้รวบรวมคำสอนเหล่านั้นไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

            ในบรรดาคำสอนเหล่านั้น ล้วนมีจุดเด่นสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าพระองค์ตรัสเทศน์ให้ใครฟังบางท่านสั่งสมบุญมามาก เป็นผู้รู้ตามได้รวดเร็ว พระองค์อาจเทศนาแต่เพียงสั้นๆ ผู้ฟังก็สามารถน้อมนำไปปฏิบัติตามจนบรรลุธรรมได้ในทันที ในขณะที่บางท่านรู้ตามได้ช้า อาจต้องฟังธรรมหลายต่อหลายครั้งและยังต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนอบรมตนเองนานกว่าคนอื่นๆ ก็มีสำหรับบทเทศน์สั้นๆ ที่ทรงเทศน์ให้ผู้รู้ตามได้เร็วฟังมักจะสั้นเกินกว่าที่เราเข้าใจได้ เพราะจะไม่ทรงอธิบายขยายความอะไร ด้วยเห็นว่ามากเกินจำเป็นไปสำหรับผู้ฟัง แต่กับผู้ที่รู้ตามได้ช้า และต้องการเวลาเพื่อฝึกฝนอบรมตนเองนาน ก็จะมีพระสูตรที่ทรงเทศน์เอาไว้หลากหลาย ต่างกรรมต่างวาระกันไป การจะสืบค้นเพื่อปะติดปะต่อเรื่องราวอาจทำได้ไม่ง่ายนัก ดังนั้นการจะหาบทเทศน์หรือพระสูตรที่พอจะเป็นแนวทางสำหรับศึกษาถึงกระบวนการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนาจึงหาได้ยากพอสมควร แต่แม้จะยากอย่างไร ก็ยังมีพระสูตรที่ดีพอจะนำมาใช้เป็นตัวแทน หรือเป็นต้นแบบแม่บทในการศึกษา ที่จะทำให้เราเข้าใจการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ซึ่งในที่นี้จะขอยกพระสูตรสำคัญ เพื่อใช้เป็นแม่บทในการศึกษา 2 พระสูตรด้วยกัน คือ


1. คณกโมคคัลลานสูตร
2. ธัมมัญูสูตร

 

            คณกโมคคัลลานสูตร และธัมมัญูสูตร
ทั้งคณกโมคคัลลานสูตรและธัมมัญูสูตร ล้วนเป็นพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงการฝึกฝนอบรมตนเองของพระภิกษุตามพุทธวิธี โดยมีภาพรวมของพระสูตรดังนี้ คือ

คณกโมคคัลลานสูตร
            เป็นพระสูตรที่เกิดขึ้นจากคำถามของพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ คณกโมคคัลลานพราหมณ์ มีอาชีพเป็นนักคำนวณ พราหมณ์เข้ามาทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงวิธีการศึกษาในพระพุทธศาสนา โดยมีความเห็นว่าวิชาต่างๆ ในทางโลก ไม่ว่าจะเป็นวิชาการก่อสร้าง วิชาในการรบ ต้องศึกษากันไปตามลำดับ ปฏิบัติกันไปตามลำดับ หรือแม้กระทั่งการคำนวณ ก็ยังต้องศึกษา และปฏิบัติไปตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน คือต้องเริ่มสอนตั้งแต่การนับเลขหนึ่ง เลขสอง เป็นต้นไป พราหมณ์จึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์สามารถบอกกฎเกณฑ์ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ให้เห็นเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน เช่นเดียวกับการศึกษาในวิชาอื่นๆ บ้างได้หรือไม่พระองค์ตรัสตอบว่า "ได้" และทรงบอกถึงลำดับขั้นตอนในการศึกษาและปฏิบัติในพระพุทธศาสนาไว้ถึง 6 ขั้นตอน โดยจะทรงแนะนำให้พระภิกษุปฏิบัติไปทีละขั้นตอน ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 แนะนำให้เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในปาฏิโมกข์ฯ
ขั้นตอนที่ 2 แนะนำให้สำรวมระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ขั้นตอนที่ 3 แนะนำให้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
ขั้นตอนที่ 4 แนะนำให้เป็นผู้ประกอบด้วยความตื่นอยู่ เพื่อทำความเพียรชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลส
ขั้นตอนที่ 5 แนะนำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
ขั้นตอนที่ 6 แนะนำให้หมั่นเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา เพื่อเจริญสมาธิภาวนาพระองค์ตรัสต่อไปว่า หากพระภิกษุทำตามลำดับขั้นตอนดังที่กล่าวมานี้ได้แล้ว ย่อมจะได้รับสามัญญผลอันยิ่งใหญ่ไปตามกำลังแห่งความเพียรของตน คือสามารถทำใจหยุดนิ่ง หลุดพ้นจากนิวรณ์ทั้ง 5 บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน...ไปจนกระทั่งบรรลุพระอรหัตผล

 

ธัมมัญูสูตร
            เป็นพระสูตรที่ตรัสอนพระภิกษุถึงวิธีการศึกษาธรรมะ และการนำมาปฏิบัติเพื่อฝึกฝนอบรมตนเองและเพื่อเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลก โดยทรงบอกวิธีการไว้ 7 ขั้นตอน คือ


1. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักธรรม เรียกว่า "ธัมมัญู"
2. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักอรรถ หรือเนื้อความของธรรมนั้น เรียกว่า "อัตถัญู"
3. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักตน หรือประเมินคุณธรรมในตนเองเป็น เรียกว่า "อัตตัญู"
4. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 เรียกว่า "มัตตัญู"
5. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักกาล เรียกว่า "กาลัญู"
6. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักบริษัทหรือประชุมชนต่างๆ เรียกว่า "ปริสัญู"
7. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักแยกแยะบุคคล เรียกว่า "ปุคคลปโรปรัญู"

 

ความสัมพันธ์ระหว่างพระสูตรทั้งสอง
            จากภาพรวมของพระสูตรทั้งสองข้างต้น ทำให้เราทราบว่าการศึกษาและการฝึกปฏิบัติในพระพุทธศาสนามีลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน อาจกล่าวได้ว่า คณกโมคคัลลานสูตร คือพระสูตรที่บอกถึง "ขั้นตอนการฝึก" ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องศึกษาและปฏิบัติไป ไม่มีรูปหนึ่งรูปใดที่จะสามารถข้ามหรือลัดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปได้เลย หมายความว่า พระภิกษุต้องฝึกจากขั้นตอนที่ 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4ตามลำดับอย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่เคยยกมาแสดงไว้ ว่า "การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ" ดังนั้นหากพระภิกษุไม่สามารถสำรวมระวังในปาฏิโมกข์ได้ (ขั้นตอนที่ 1) ก็จะไม่มีทางระวังรักษาอินทรีย์ของตนเอาไว้ได้เลย(ขั้นตอนที่ 2) ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตร จึงเป็นเสมือนบันได 6 ขั้น ที่พระภิกษุจะต้องก้าวขึ้นไปทีละขั้นๆ ไปส่่วนธัมมัญูสูตร คือ พระสูตรที่บอกถึง "วิธีการฝึก" ที่ให้รายละเอียดของวิธีการปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน มบูรณ์ชัดเจน ซึ่งการฝึกในธัมมัญูสูตรนี้ ก็มี ภาพเหมือนขั้นบันได เช่นเดียวกับที่อธิบายไว้ในคณกโมคคัลลานสูตรเช่นกันกล่าวโดย รุปแล้ว พระสูตรทั้ง 2 มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในแง่ของการฝึกอบรม โดยที่คณกโมคคัลลานสูตรจะให้ภาพของ "ขั้นตอนการฝึก"ส่วนธัมมัญูสูตรจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ "วิธีการฝึก" ในแต่ละขั้นตอนเหล่านั้น


            ดังนั้น หากจะถามว่าพระภิกษุต้องทำอย่างไร จึงจะฝึกแต่ละขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตรได้เป็นผลสำเร็จ คำตอบคือ พระภิกษุนั้นควรจะนำวิธีการในธัมมัญูสูตรมาใช้ ซึ่งเราอาจทำความเข้าใจได้จากแผนผังดังต่อไปนี้ (แผนผังในหน้า 17)จากแผนผังดังกล่าวสามารถอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ขั้นตอน" (จากคณกโมคคัลลานสูตร) และ "วิธีการ" (จากธัมมัญูสูตร) แต่พอสังเขปได้ดังนี้ คือ เมื่อพระภิกษุเริ่มต้นฝึกการสำรวมในปาฏิโมกข์ (ขั้นตอนที่ 1) ก็ให้ฝึกโดยอาศัยวิธีการจากธัมมัญูสูตรมาใช้ดังนี้ คือ


1. การรู้จักธรรม ด้วยการศึกษาว่าปาฏิโมกข์คืออะไร มีอะไรบ้าง เป็นต้น
2. การรู้จักอรรถ คือทำความเข้าใจให้ได้ว่า หัวข้อปาฏิโมกข์ที่ศึกษาหมายความว่าอย่างไร และจะนำไปฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
3. รู้จักตน คือประเมินให้ได้ว่า การสำรวมในปาฏิโมกข์ทำให้ตนมีคุณธรรมก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหนมีสิ่งใดต้องระมัดระวัง หรือเข้มงวดกวดขันตัวเองให้มากขึ้น เป็นต้น

 

            เหตุที่ทำให้พระสูตรทั้งสองเหมาะแก่การเป็นแม่บทฝึกอบรมจะเห็นว่าพระสูตรทั้ง องมีจุดเด่นสำคัญในตัวเองอยู่หลายประการ ที่ทำให้เหมาะจะนำมาเป็นแบบหรือแม่บทในการฝึกอบรม เป็นต้นว่า


1. เป็นพระสูตรที่มีความยาวพอดี ไม่สั้นมากนัก และไม่ยาวจนเกินไป ทำให้สามารถจดจำเนื้อความสำคัญได้ง่าย
2. บอกลำดับขั้นตอนของการฝึกไว้เป็นข้อๆ ต่อเนื่อง ชัดเจน
3. ขั้นตอนและวิธีการฝึกเรียงลำดับจากง่ายไปยาก
4. เนื้อหาในแต่ละขั้นตอนไม่ยากแก่การทำความเข้าใจจนเกินไป
5. พระภิกษุทั่วๆ ไปสามารถฝึกตามไปได้ไม่ยากนัก

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023008565107981 Mins