คณกโมคคัลลานสูตรกับวิถีชีวิตของฆราวาส

วันที่ 24 กย. พ.ศ.2558

 

คณกโมคคัลลานสูตรกับวิถีชีวิตของฆราวาส


            แม้ว่าคณกโมคคัลลานสูตรจะเป็นบทฝึกฝนตนเองของพระภิกษุก็ตาม แต่ฆราวาสก็สามารถจะนำเอาหลักการมาใช้ฝึกฝนตนเองได้เช่นกัน เพราะข้อปฏิบัติของคณกโมคคัลลานสูตร ล้วนมุ่งฝึกเพื่อให้ใจกลับเข้ามาหยุดนิ่งอยู่ภายในตัว คือ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด ซึ่งแนวทางการฝึกฝนจะปรับไปตามวิถีชีวิตของฆราวาสโดยฝึกผ่านการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ตามที่ได้กล่าวมาในบทที่ 1 แล้วนั้น เพราะหลักการสำคัญทั้ง 6 ขั้น ก็เพื่อการควบคุม กาย วาจา และใจ โดยที่ปาฏิโมกขสังวร เป็นการควบคุม กาย และวาจาอินทรียสังวร เป็นการควบคุมและระมัดระวังใจการรู้จักประมาณในโภชนะ เป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อการเจริญสมาธิภาวนาความเป็นผู้ตื่นอยู่ ติสัมปชัญญะ และการเสพเสนาสนะอันสงัด ก็เป็นไปเพื่อการเจริญสมาธิภาวนาเช่นกัน

 

            ดังนั้น ฆราวาสจึงอาจนำหลักการนี้ไปใช้ผ่าน "ทาน ศีล ภาวนา" โดยที่ "ศีล" ก็ฝึกคล้ายกับขั้นตอนในปาฏิโมกขสังวร แต่อาจแตกต่างในแง่ของความเข้มงวดกวดขัน เช่น ในขณะที่พระภิกษุมีศีล 227 ข้อฆราวาสก็คงต้องรักษาศีล 5 หรือศีล 8 ของตนเองให้ดีส่วน "ภาวนา" ก็ฝึกคล้ายกับอินทรียสังวร การรู้จักประมาณในโภชนะ ความเป็นผู้ตื่นอยู่สติสัมปชัญญะ และการเสพเสนาสนะอันสงัด โดยมุ่งไปที่การควบคุมใจ และฝึกใจให้หยุดนิ่ง ซึ่งความเข้มข้นของการฝึก เช่น การระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การประมาณในอาหาร ความเพียรพยายามในการฝึกใจ และการหาโอกาสหลีกไปปฏิบัติธรรมต่อเนื่องนานๆ ฆราวา จะต้องปรับให้เหมาะ มไปตามวิถีชีวิตของตนเองสำหรับ "ทาน" จะเป็นการฝึกใจไม่ให้หวงแหนทรัพย์สินสิ่งของภายนอกตัว เมื่อไม่หวงแหนก็หมดความห่วงใย ใจจะเริ่มคลายจากความยึดมั่นแล้วกลับเข้าสู่ภายในตัว การทำทาน จึงเป็นพื้นฐานให้การรักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนาสามารถทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ขั้นตอนการฝึกจะปรับเปลี่ยนไปแต่วิธีการฝึกก็ยังคงอาศัย "ธัมมัญูสูตร" เช่นเดิม

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020927349726359 Mins