วิธีการรู้จักธรรม

วันที่ 29 กย. พ.ศ.2558

วิธีการรู้จักธรรม

วิธีการรู้จักธรรม


หากกล่าวถึงวิธีการรู้จักธรรม เราอาจแบ่งออกเป็น 2 วิธีการใหญ่ๆ คือ
1. สมัยพุทธกาล พระภิกษุเรียนรู้ธรรมด้วยการ "ฟัง" จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง เมื่อฟังแล้วก็ทรงจำไว้ และถ่ายทอดบอกต่อกันไปในหมู่พระภิกษุด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ พระภิกษุจะต้องหมั่นเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ หรือในกรณีไม่ได้อยู่ในที่ที่พระองค์ประทับ พระภิกษุก็ต้องหมั่นเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ หรือเรียนรู้ผ่านเพื่อนสหธรรมิกผู้ทรงธรรมด้วยวิธีเรียนรู้อย่างนี้ ก็อาศัยหลักการเดียวกันกับที่พระโพธิสัตว์สั่งสมปัญญาบารมีมา โดยพระองค์ตรัสว่า"ท่านจง มาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่นก่อน จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิญาณเหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอ ก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง ไม่
เว้น ตระกูลทั้งหลายเลย ดังนั้น จึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฉันใดท่าน อบถามท่านผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝังแห่งปัญญาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน"วิธีการเรียนรู้ธรรมในยุคนั้น ดีที่สุดคือการหมั่นเข้าไปหาท่านผู้รู้แล้วเรียนเอา


2. สมัยปัจจุบัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่าการรู้จักธรรม ก็คือการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งในกรณีนี้พระภิกษุจะต้องเรียนรู้ด้วยวิธี "อ่าน" แต่เพียงอย่างเดียว เพราะพระไตรปิฎกปัจจุบันล้วนอยู่ในรูปของคัมภีร์หรือหนังสือ หรือแม้แต่ที่จัดทำอยู่ในรูปของสื่อสมัยใหม่ เช่น ในแผ่น CD  ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ล้วนแต่ต้องใช้การอ่านเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ว่าพระภิกษุจะอ่านอย่างไรจึงจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็วมีข้อแนะนำสำหรับการอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎกในเบื้องต้นว่า


1. ต้องมีความเพียรพยายาม และต้องขยันอ่านให้ได้ต่อเนื่องเรื่อยไป คือ แม้บางครั้งจะอ่านได้น้อยก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้อ่านให้ได้ สม่ำเสมอเป็นประจำ

2. ต้องพยายามทำความเข้าใจศัพท์ที่ไม่เข้าใจให้ได้บ่อยๆ หากไม่เข้าใจสามารถค้นหาได้จากพจนานุกรม เพราะความเข้าใจในศัพท์เหล่านั้น จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่อ่านได้มากขึ้น และยิ่งรู้ศัพท์มากเท่าไรความเร็วและความเข้าใจในการอ่านก็จะมากตามไปด้วยเท่านั้น


3. เมื่ออ่านแล้วต้องสรุปใจความให้ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด หรือข้อสรุปตามที่ตนเข้าใจซึ่งจะช่วยให้สามารถจำธรรมะที่อ่านได้ง่าย เพราะเกิดจากความเข้าใจ ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำ


4. บางครั้งอาจต้องเทียบเคียงพระไตรปิฎกเล่มที่อ่าน กับเล่มอื่นๆ ที่แตกต่างกันบ้าง เช่นอาจต้องเทียบฉบับภาษาไทยกับต้นฉบับภาษาบาลี หรือฉบับภาษาไทยกับภาษาไทย ที่ผู้แปลเป็นคนละคนกัน ทั้งนี้เพื่อเทียบเคียงความถูกต้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกิดข้อสงสัย หรือที่ความเห็นของผู้แปลแตกต่างกันออกไปก็จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น


5. ควรสอบทานความเข้าใจในสิ่งที่อ่านกับผู้ที่รู้มากกว่าเรา


6. ควรมีสมาธิในการอ่าน ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดี อาจนั่งสมาธิให้ใจ สงบ สบาย ก่อนที่จะอ่าน เพราะธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึก ละเอียดอ่อน ผู้ที่มีใจใสจะสามารถอ่านได้เข้าใจมากกว่าสำหรับวิธีการรู้ธรรมด้วยการอ่าน ถ้าหากต้องการให้ได้ผลดี ก็คงหนีไม่พ้นการเรียนรู้ด้วยวิธี "ฟัง"เพราะไม่ว่าจะอ่านอย่างไร ในที่สุดแล้วก็จะเกิดข้อ งสัยในที่ใดที่หนึ่งอย่างแน่นอน เพราะเหตุนั้น การหมั่น
เข้าไปหาผู้รู้เพื่อฟังธรรมดังเช่นครั้งพุทธกาล จึงเป็นวิธีการที่ยังเหมาะ สมอยู่ดี

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.041227900981903 Mins