ภาษาไทย นอกจากจะเป็นเครื่องมือสื่อสารในฐานะที่เป็นภาษา เหมือนอย่างภาษาทั่วไปในโลกแล้ว ยังเป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรม และเป็นเอกลักษณ์ของชาติด้วย
...อ่านต่อ
คำสุภาษิตและคำพังเพย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คําจํากัดความไว้ดังนี้ “สุภาษิต น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วมีความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นรักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ”
...อ่านต่อ
ในการเทศน์แต่ละครั้งย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าพระสาวก พระสงฆ์ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดินในสมัยพระพุทธเจ้า เช่นพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น และในสมัยปัจจุบันก็มีเนื้อความแห่งเทศนาที่เอ่ยถึงพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ตลอดถึงเจ้านายระดับต่างๆ เมื่อเป็นดังนี้จึงมีความนิยมในการใช้ภาษาเฉพาะกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และบุคคลสำคัญนั้นๆ โดยกำหนดศัพท์สำหรับใช้ขึ้นโดยเฉพาะ ศัพท์เหล่านั้นเรียกขานกันว่า “ราชาศัพท์” ราชาศัพท์จึงกลายเป็นภาษาเฉพาะและจำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้อง มิใช่เพียงเพื่อรักษาวัฒนธรรมทางภาษาเท่านั้น ยังเพื่อแสดงความเคารพบุคคลเฉพาะนั้นๆ และแสดงถึงภูมิปัญญาและจิตใจใฝ่รู้ระเบียบแบบแผนทางภาษาของผู้ใช้ด้วย
...อ่านต่อ
ในการเทศน์ ๒ แบบคือเทศน์ปากเปล่ากับเทศน์อ่านคัมภีร์นั้นเทศน์ปากเปล่าต้องอาศัยการออกเสียงเป็นหลัก เมื่อออกเสียงถูกต้องก็เป็นอันใช้ได้ ส่วนเทศน์อ่านคัมภีร์นั้นหากอ่านไปตามบทเทศน์ที่ท่านเขียนไว้ถูกต้องก็เป็นอันใช้ได้เช่นกัน แต่หากเป็นแบบแต่งเองเทศน์เองคือเขียนบทเทศน์แล้วนำไปอ่านตอนเทศน์ ในกรณีนี้การเขียนย่อมเข้ามามีบทบาทสำคัญ กล่าวคือบทเทศน์นั้นต้องอาศัยการเขียนที่ถูกต้องตามหลักภาษาด้วยจึงจะถูกต้องสมบูรณ์ ถ้าเขียนผิดหรือใช้คำผิดก็อ่านผิดและย่อมทำให้คนฟังเข้าใจผิดไปด้วย ดังนั้นการใช้คำถูกต้องจึงมีความจำเป็นในเรื่องนี้
...อ่านต่อ
คำประพันธ์ คือคำที่ผู้รู้นำมาแต่งเรียงร้อยหรือผูกเชื่อมกันเป็น ข้อความตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดกันไว้ เป็นคำที่ไพเราะ สละสลวย มีอรรถรส
...อ่านต่อ
อักษรนำ คืออักษรที่อยู่หน้าอักษรอื่นเพื่อให้อักษรที่ตามนั้นออกเสียงผันตาม และไม่ประวิสรรชนีย์ (ไม่มีสระ อะ อาศัย) แต่ออกเสียง อะ เช่น ขยาย ฉงน สนุก แต่ถ้ามีสระอาศัยอยู่ด้วย ไม่จัดเป็นอักษรนำเช่น กะปิ ทะนาน สะดวก การอ่านตามอักษรนำคือการอ่านตามอักษรที่อยู่หน้าคำ
...อ่านต่อ
ในการเทศน์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเทศน์แบบปากเปล่าหรือเทศน์แบบอ่านคัมภีร์ ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการอ่านการออกเสียงโดยตรงเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญพอๆกันกับเนื้อหาสาระของบทเทศน์ เพราะเป็นสื่อที่จะเข้าถึงหูผู้ฟังโดยตรง แม้บทเทศน์จะมีเนื้อหาดีแต่อ่านหรือออกเสียงไม่ถูกต้องก็ทำให้บทเทศน์ด้อยลงไปถนัดในที่นี้จักแสดงแนววิธีการอ่านการออกเสียงเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเทศน์พอเป็นแนวทางโดยสังเขป กล่าวคือในการเทศน์นั้นผู้เทศน์พึงคำนึงถึงแนววิธีเหล่านี้ คือ
...อ่านต่อ
การอ่านหรือการออกเสียงภาษาไทยนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากและสับสนอยู่ไม่น้อย เพราะภาษาไทยนั้นมีแหล่งที่มาหลายทาง คือเป็นคำไทยแท้บ้าง นำมาจากภาษาต่างประเทศโดยตรงบ้าง
...อ่านต่อ
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในเรื่องภาษาคือการออกเสียงภาษาหรือที่เรียกเป็นวิชาการว่า “การอ่าน” ส่วนใหญ่เกิดจากการออกเสียงไม่ถูกตามหลักภาษาและตามความนิยมของภาษา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการอ่านภาษาไทยเป็นปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากย์วิจารณ์กันมาโดยตลอด ด้วยความวิตกห่วงใยว่าคนไทยสมัยนี้นอกจากจะอ่านภาษาไทยไม่ค่อยได้แล้วยังอ่านไม่ค่อยถูกด้วย และมิใช่เป็นเฉพาะในหมู่คนไทยที่มีการศึกษาน้อยหรือที่อยู่ในชนบทเท่านั้น
...อ่านต่อ
ภาษาหรือถ้อยคำที่ไม่ควรนำมาใช้ในการเทศน์ เมื่อหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อใช้แล้วอาจทำให้บทเทศน์นั้นด้อยค่าหรือไม่น่าฟังไปอย่างไม่ควรเป็นได้แก่ภาษาที่มีลักษณะเหล่านี้คือ
...อ่านต่อ
เนื่องจากการเทศน์เป็นการเผยแผ่ศาสนาที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นไปเพื่อความดำรงมั่นคงอยู่แห่งพระศาสนา จึงจำต้องพิถีพิถันเลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารให้เหมาะสม
...อ่านต่อ
วิธีการเทศน์ที่หมายถึงการแสดงธรรมโดยผู้เทศน์นั่งอยู่บนธรรมาสน์นั้น ที่นิยมกันมี ๒ รูปแบบคือ เทศน์ปากเปล่า กับ เทศน์อ่านคัมภีร์
...อ่านต่อ
ภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันทั่วไปมีทั้งดีและไม่ดี คือมีทั้งที่เป็นวาจาสุภาษิตและเป็นวาจาทุพภาษิต ในพระพุทธศาสนาท่านแสดงลักษณะของภาษาทั้งสองอย่างนี้ไว้ค่อนข้างจะชัดเจน ดังนั้นย่อมถือเป็นแนวทางการใช้ภาษาได้เป็นอย่างดีในส่วนของภาษาที่ดี ท่านแสดงไว้ว่ามีลักษณะ ๕ ประการ คือ
...อ่านต่อ
ภาษาที่ใช้สื่อสารสำหรับถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ตลอดถึงความต้องการของคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งนั้น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ ๓ ประเภท คือ
...อ่านต่อ
เมื่อภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของการเทศน์เพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อธรรมที่ประสงค์จะแสดงไปสู่ผู้รับสารคือผู้ฟังหรือผู้อ่าน และเมื่อต้องการจะให้ผู้รับสารได้รู้และเข้าใจข้อธรรมนั้นๆอย่างถูกต้องตรงกับผู้แสดงภาษาจึงย่อมมีความสำคัญมากต่อการเทศน์ หากว่าใช้ภาษาไม่ถูก ใช้ไม่ตรงกับความหมายจริง หรือไม่ได้ความหมายตามที่ต้องการ
...อ่านต่อ
แม้ว่าการเทศน์โดยปกติจะใช้ภาษาไทยกันเป็นพื้นเพราะเป็นภาษาประจำชาติและฟังหรืออ่านกันรู้เรื่องโดยทั่วไปอยู่แล้วก็ตาม ถึงกระนั้นการเรียนรู้ภาษาไทยให้ดีและการใช้ภาษาไทยให้ถูกก็ยังมีความจำเป็นต่อการเทศน์ เพราะภาษาเทศน์เป็นภาษาพิเศษ คือต้องใช้ภาษาไทยเป็นพิเศษกว่าการสื่อสารหรือการถ่ายทอดธรรมดา สำนวนภาษาก็ออกจะแปลกพิเศษกว่าธรรมดา ทั้งนี้เพราะภาษาเทศน์มิใช่เพียงสื่อสารให้รู้และเข้าใจเท่านั้น หากต้องไพเราะ สละสลวย มีศิลปะ ดึงดูดหูให้น่าฟัง ดึงดูดตาให้น่าอ่าน และดึงดูดใจให้น่าเชื่อถือปรารถนาน้อมนำไปปฏิบัติตามด้วย
...อ่านต่อ
คำว่า “เทศน์” หรือ “เทสนา” แปลว่า การแสดง การบอกการชี้แจง การเปิดเผย การทำให้แจ่มแจ้ง ในที่นี้ถือเอาความโดยรวมว่าหมายถึงการแสดงธรรมสั่งสอน ในทางศาสนาเมื่อถือตามคำแปลและความหมายของคำนี้ ย่อมได้ใจความในทางปฏิบัติที่กว้างขวาง กล่าวคือเทศน์นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่การขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมตามปกติที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ซึ่งเรียกวิธีการอย่างนั้นว่า“การเทศน์” แต่ย่อมหมายรวมไปถึงวิธีการแสดงธรรม
...อ่านต่อ
จากการที่ได้ศึกษาเรื่องการตีความทั่วไปและการตีความพุทธศาสนสุภาษิตซึ่งมีพระพุทธพจน์เป็นหลักมาถึงบทนี้แล้วนั้น ทำให้ได้รู้คุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์ของการตีความว่าเป็นอย่างไร
...อ่านต่อ
การตีความพระพุทธพจน์และพุทธศาสนสุภาษิตนั้นเมื่อกล่าวโดยรวบยอดก็คือการตีความธรรมนั่นเอง และหลักการหรือแนววิธีการตีความทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยรวบยอดย่อมได้ข้อสรุปว่า ในการตีความธรรมนั้นจะใช้หลักการหรือแนววิธีอย่างไรก็ตามจึงต้องให้เป็นไปใน ๒ ลักษณะคือ
...อ่านต่อ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนถึงวิธีการตีความเพื่อการเทศนาต่อไปนี้จึงจักขอนำเทศนาที่พระมหาเถระในอดีตของไทยได้แสดงไว้ในยุคต่างๆ มาเป็นตัวอย่าง
...อ่านต่อ
การเทศนาหรือเทศน์เป็นเรื่องของการตีความโดยเฉพาะเพราะต้องยกพระพุทธพจน์หรือพุทธศาสนสุภาษิตบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเป็นบททั้งที่เรียกว่าบทอุเทศหรือนิกเขปบท แล้วตีความไปโดยรูปแบบต่าง ๆ คือแบบจำกัดความ แบบขยายความ แบบอธิบายความแบบวินิจฉัยความ
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล