รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบสีสดใส ข้อคิดจากชาดก นิทานชาดกภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

นิทานชาดก : ย้อนรอยสู่คำสอนดั้งเดิม

บทความพิเศษ
เรื่อง : Tipitaka (DTP)

 

บทความพิเศษ

 

ย้อนรอย
สู่คำสอนดั้งเดิม

“วิธีตรวจชำระคัมภีร์ใบลาน
ให้ได้มาตรฐานสากล”

 

บทความพิเศษ

 

          ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนาหัวข้อ “วิธีตรวจชำระคัมภีร์ใบลานให้ได้มาตรฐานสากล” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว ปิ่นเกล้า ห้องประชุมอัมรินทร์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีชื่อเสียงจากหน่วยงานต่าง ๆ มาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ในโอกาสนี้ตัวแทนจากโครงการพระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรจำนวน ๒ ท่าน ได้แก่ ผู้อำนวยการร่วมโครงการ คือศ.ดร.จี เอ โสมรัตเน (Prof. Dr.G.A.Somaratne) บรรยายเรื่อง “การตรวจชำระคัมภีร์สังยุตตนิกายของสมาคมบาลีปกรณ์” และหัวหน้าฝ่ายวิชาการโครงการ คือ ดร.อเลกซานเดอร์ วีน(Dr.Alexander Wynne) บรรยายเรื่อง “การตรวจชำระพระไตรปิฎกของวัดพระธรรมกาย”ในงานนี้มีพระภิกษุสงฆ์ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมประชุม ๒๐๐ กว่าท่าน

          ดร.อเลกซานเดอร์ วีน บรรยายว่า โครงการพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย มีเป้าหมายตรวจชำระพระไตรปิฎกบาลีเพื่อสาวย้อนกลับไปถึงเนื้อความดั้งเดิมในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ คือ ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ เป็นอย่างน้อย เนื่องจากเป็นยุคที่เก่าแก่ที่สุดที่มีหลักฐาน คือ คัมภีร์อรรถกถายืนยันอย่างชัดเจนว่า พระไตรปิฎกได้
บังเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ในการนี้โครงการใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาตรวจชำระโดยตรง

          แม้คัมภีร์ใบลานเหล่านี้จะมีอายุเพียงไม่กี่ร้อยปี แต่ก็สามารถพาเราย้อนไปสู่เนื้อความในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์เมื่อราว ๑,๕๐๐ ปีก่อนได้ เนื่องจากมีการขุดค้นพบหลักฐานที่เก่าแก่มาก ๆ คือ คัมภีร์ใบลานทองคำอายุราว ๑,๖๐๐ ปี ในประเทศเมียนมาร์ และคัมภีร์ใบลานอายุราว๑,๒๐๐ ปี ในประเทศเนปาล ซึ่งสันนิษฐานว่าเนื้อความบนคัมภีร์ใบลานทั้งสองนี้น่าจะเป็นเนื้อความเดียวกับพระไตรปิฎกในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบเนื้อความดังกล่าวกับเนื้อความในคัมภีร์ใบลานที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน รวมถึงเนื้อความในพระไตรปิฎกบาลีฉบับพิมพ์ในปัจจุบันแล้ว พบว่าเนื้อความทั้งหมดมีความสอดคล้องตรงกันอย่างน่าทึ่งดังนั้นหลักฐานคัมภีร์ใบลานในปัจจุบันจึงสามารถพาเราย้อนไปสู่คำสอนเมื่อพันกว่าปีก่อนได้

          โครงการพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย มุ่งมั่นสำรวจ รวบรวมคัมภีร์ใบลานจากทั้ง ๔ สายจารีตหลัก คือ คัมภีร์ใบลานอักษรสิงหลอักษรพม่า อักษรขอม และอักษรธัมม์ (ล้านนา, อีสาน) และศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ใบลานดังกล่าวตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ แล้วจัดทำพระไตรปิฎกฉบับวิชาการขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้

 

ขั้นตอนที่ ๑
รวบรวมอนุรักษ์มรดกธรรมอันล้ำค่า

 

บทความพิเศษ

 

           โครงการได้ส่งคณะทำงานออกสำรวจและถ่ายภาพคัมภีร์โบราณเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศไทย ลาว เมียนมาร์ ศรีลังกา และเขตสิบสองปันนา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายด้วยดี ทั้งวัด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยและชุมชนในท้องถิ่น

 

ขั้นตอนที่ ๒
ผสานรวมกับเทคโนโลยีทันสมัย

 

บทความพิเศษ

 

           จากนั้นจึงจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎกจากภาพถ่ายคัมภีร์ใบลานด้วยระบบซอฟต์แวร์ทันสมัยที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลกับภาพถ่ายใบลานแบบหน้าต่อหน้าได้โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต

 

ขั้นตอนที่ ๓
ศึกษาเปรียบเทียบตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ

 

บทความพิเศษ

 

          ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกดังกล่าวจะถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ โดยทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีและคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาททั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์รวมกว่า ๒๐ ท่าน ทั้งจากประเทศไทยเมียนมาร์ ศรีลังกา และอังกฤษ ซึ่งอาจถือเป็นครั้งแรกที่มีการร่วมมือกันทำงานโดยนักวิชาการจากนานาชาติอย่างต่อเนื่องจริงจังเช่นนี้

 

ขั้นตอนที่ ๔
ศูนย์รวมความร่วมมือทางวิชาการระดับโลก

 

บทความพิเศษ

 

          โครงการยังได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะทางวิชาการอันทรงคุณค่าจากคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ ซึ่งล้วนเป็นนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าในวงการศึกษาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาเถรวาทของโลก

 

ขั้นตอนที่ ๕
บทสรุปจากใบลานทุกสายจารีต

 

 บทความพิเศษ

 

          ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โครงการได้จัดพิมพ์บทสรุปการศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานทุกสายจารีตเป็นพระไตรปิฎกบาลี ฉบับธรรมชัย เล่มสาธิต คือ “สีลขันธวรรค” ในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก เพื่อเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและภาษาบาลีทั้งภายในและต่างประเทศ แล้วนำไปปรับปรุง
ให้เป็นเล่มสมบูรณ์ต่อไป

          การจัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานพระพุทธศาสนาเล็งเห็นความสำคัญของงานที่โครงการพระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย กำลังดำเนินการอยู่ เวทีทางวิชาการครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่โครงการได้บรรยายและถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนประสบการณ์การทำงานให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งคณะสงฆ์ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจชำระพระไตรปิฎก ฉบับธรรมชัย ที่มีเป้าหมายเพื่อย้อนกลับไปสู่คำสอนดั้งเดิมให้ใกล้เคียงกับยุคพุทธกาลมากที่สุด..

 

บทความพิเศษ


พระสุธีธรรมานุวัตร
(เทียบ สิริญาโณ)

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร


           “ โครงการพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย ได้จัดทำพระไตรปิฎก โดยรวบรวมคัมภีร์ใบลานจากอักษรต่าง ๆ เช่นอักษรขอม อักษรธัมม์ล้านนา อักษรธัมม์อีสาน และอักษรมอญนอกจากนั้นยังได้ตรวจสอบกับต้นฉบับใบลานจากอักษรพม่าอักษรสิงหล เป็นต้น และยังได้คัมภีร์ต้นฉบับตัวเขียนจากประเทศเมียนมาร์ ลาว และศรีลังกามาด้วย การได้ต้นฉบับใบลานมาและนำไปถ่ายทำแบบดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ ในแง่วิชาการถือว่ามีคุณูปการที่ได้รวบรวมคัมภีร์ต้นฉบับที่มากที่สุดเอาไว้ ”

นิทานชาดก เรื่องเดียวกันหน้าอื่นๆ
รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ธัมมัสสวนมัยจิตผ่องใสได้ฟังธรรม

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

วันรวมใจกตัญญู...บูชาครูวิชชาธรรมกาย

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

อัญเชิญรูปหล่อขึ้นสู่แท่นประดิษฐาน สาธุการอนุโมทนา

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ชฎิลเศรษฐีผู้มีภูเขาทองเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญ

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

โครงการอุปสมบทหมู่พระธรรมทายาทนานาชาติรุ่นที่ ๑ ทวีปยุโรป

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

พิธีเจริญพระพุทธมนต์พิเศษเนื่องในวันธรรมชัยและพิธีมุทิตาสักการะเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ย้อนรอยสู่คำสอนดั้งเดิม

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

จงปลดตนเองออกจากพันธนาการแห่งความปรารถนา

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

สองประสาน ทุกงานสำเร็จ

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

นักโทษแห่งวัฏสงสาร

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ความสะอาด มีความสำคัญต่อการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอย่างไร?

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ขัดสัคเค... ผริตฺวาน เมตฺตํ...

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

รวยฝ่าวิกฤต

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

Case Study : โรงงานฆ่าสัตว์ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๗

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

เวลาว่าง

คำค้น :: นิทานชาดก มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก คือ เรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิทานธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีนิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน คลิปนิทาน การ์ตูนสุภาษิต ให้ศึกษา เพื่อให้เป็น นิทานเยาวชน นิทานเด็ก นิทานสอนใจ นิทานคุณธรรมเพื่อจรรโลงจิตใจ ผู้ศึกษาให้รักในคุณงามความดี นิทา,นิทานชาดก,นิทานชาดกพร้อมรูปภาพประกอบ,นิทาน, นิทานชาดก, นิทานไทย, นิทานธรรมะ, นิทานธรรมะไทย, นิทานเด็ก, คุณธรรม, การ์ตูนธรรมะ, การ์ตูนไทย, การ์ตูนภาพ, การ์ตูนช่อง, การ์ตูนนิทาน, การ์ตูนเด็ก, การ์ตูนสีขาว, นิทานธรรมะออนไลน์, นิทานธรรมะสอนคุณธรรม พระโพธิสัตว์,นิทานชาดกออนไลน์,นิทานชาดกเรื่องสั้น,นิทานชาดก หมายถึง,นิทานชาดกและคติสอนใจ,นิทานสองภาษา,นิทานสำหรับเด็ก,นิทานก่อนนอน
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล