รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบสีสดใส ข้อคิดจากชาดก นิทานชาดกภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

นิทานชาดก : นักโทษแห่งวัฏสงสาร

พระธรรมเทศนา

 

พระธรรมเทศนา

 นักโทษแห่งวัฏสงสาร

 

ตอนที่ ๖
ธรรมที่ทรงตรัสรู้
กับธรรมที่ทรงนำมาตรัสสอน

 

พระธรรมเทศนาโดยพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
ในรายการ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง DMC
(Dhammakaya Media Channel) วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

           แท้ที่จริงนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสรู้เฉพาะเรื่องอริยสัจ ๔ เท่านั้น แต่ยังทรงตรัสรู้ธรรมอื่น ๆ อีกมากมายมหาศาล แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงถูกจำกัดด้วยเวลาของอายุสังขารเพียงแค่ ๘๐ ปีเท่านั้น จึงต้องทรงเลือกสอนธรรมที่จะช่วยให้ชาวโลกพ้นทุกข์ได้ก่อนคือ อริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ส่วนธรรมอื่น ๆ ชาวโลกย่อมสามารถนำความรู้จากเรื่องอริยสัจ ๔ที่ได้ศึกษาทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติจนเกิดผลดีแล้ว เช่น ได้บรรลุญาณทัสสนะระดับต่าง ๆ ในวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ ไปเป็นพื้นฐาน เพื่อศึกษาค้นคว้าธรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยตนเองต่อไปอีก

          ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแบ่งธรรมที่ตรัสรู้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ธรรมสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือประเภทหนึ่ง กับธรรมอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอีกประเภทหนึ่ง ดังมีบันทึกปรากฏอยู่ใน สีสปาสูตร ดังนี้…

          ครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ทรงมองไปทั่วผืนป่าประดู่ลายอันกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเก็บใบประดู่ ๒ - ๓ ใบ มากำไว้ในฝ่าพระหัตถ์ครั้นแล้วตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายเป็นเชิงอุปมา มีใจความโดยสรุปว่า

          “ธรรมที่เราตรัสรู้นั้น มีมากมายเหมือนใบไม้ทั้งหมดในป่าส่วนธรรมที่เรานำมาสั่งสอนนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเหมือนใบไม้เพียงหนึ่งกำมือ สิ่งที่เราตรัสสอนนี้เป็นธรรมเบื้องต้น เพราะประกอบด้วยประโยชน์  (ในการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร)  เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐเถิด”

 

          จากบันทึกในสีสปาสูตร ย่อมเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงแบ่งธรรมออกเป็น ๒ ประเภท คือ

          ๑) ธรรมที่ทรงตรัสรู้และนำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งทุกข์ได้แก่ ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ เมื่อชาวโลกทั้งหลายต่างตั้งใจศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่สุดก็จะหลุดพ้นจากความเป็นนักโทษแห่งวัฏสงสารโดยถ้วนหน้ากัน

          ๒) ธรรมที่ทรงตรัสรู้แต่ไม่นำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมนั่นคือ  ความรู้ที่ชาวโลกสามารถใช้วิชชา ๓  ไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เช่น ความจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับที่มาของกิเลส ที่มาของกฎแห่งกรรม ที่มาของกฎไตรลักษณ์ ที่มาของวัฏสงสารที่มาของมาร เป็นต้น ตัวอย่างของธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ในป่าก็พอมีหลักฐานหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกบ้าง เช่น เรื่องพระอรหันต์ปรินิพพานแล้วไปไหน?   ดังที่ปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเล่าถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์นี้ว่า แม้จะมีภิกษุจำนวนมากมายดับขันธปรินิพพานก็มิอาจส่งผลกระทบใด ๆ ต่อพระนิพพาน (อายตนนิพพาน) ดังนี้

          “แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่นํ้าสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”

 

          เพราะฉะนั้น ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยวิชชา ๓ นั้น นอกจากจะทำให้บรรลุที่สุดแห่งทุกข์ คือ อริยสัจ ๔ แล้ว ยังมีธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ทั้งป่า คือ ธรรมเพื่อบรรลุที่สุดแห่งธรรม ที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าด้วยวิชชา ๓ กันต่อไปอีก ด้วยธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นมีอยู่มากมาย แต่ในขั้นต้นนี้ คือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘

          เพื่อให้ตนเองรู้แจ้งเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เสียก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงจะสามารถอาศัยวิชชา ๓ ไปศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ นี่คือขั้นตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้แก่นักสร้างบารมีรุ่นหลังที่ตามมาไม่ทันพบพระพุทธองค์

          อย่างไรก็ตาม ในสมัยพุทธกาลก็มีผู้พยายามจะถามปัญหาธรรมอันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอยู่บ้างเหมือนกัน แต่พระองค์ก็ยังทรงยืนยันว่า ต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถึงรู้ไปมาก ๆ แต่ยังกำจัดทุกข์ไม่ได้ ก็ยังต้องเป็นนักโทษในวัฏสงสารต่อไปอยู่ดีต่อไปนี้คือตัวอย่างคำถามของภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ใน จูฬมาลุงกยสูตร ดังนี้

          “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น”

          คำถามนี้ ถ้าจะพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “หลังจากปรินิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าสูญหรือไม่สูญ?” พระองค์ไม่ทรงตอบคำถามนี้ แต่ทรงยืนยันว่า พระภิกษุรูปนั้นต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถ้ายังไม่สามารถรู้แจ้งธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือของพระองค์เสียก่อนแล้ว การได้ยินได้ฟังเรื่องราวธรรมะเพื่อถึงที่สุดแห่งธรรม อันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่า ก็ยังไม่อาจกำจัดทุกข์ในตนได้อยู่ดี

          อย่างไรก็ตามคำตอบของคำถามนี้ ก็มีปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ

          “หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้…นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”

          เพราะฉะนั้น ตรงนี้ย่อมเป็นการยืนยันว่า แม้แต่ผู้ที่บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ก็ยังมีธรรมละเอียดลึกซึ้งที่จะต้องศึกษาไปตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน คือ ต้องรู้แจ้งอริยสัจ ๔ อันเป็นธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถศึกษาธรรมในระดับสูงขึ้นไป เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า หลังจากปรินิพพานแล้ว ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น

          ดังนั้น ในช่วงที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ จึงทรงทุ่มเทให้กับการสอนเฉพาะธรรมที่จำเป็นต่อการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลที่ยังไม่สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยการรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำที่สุดแห่งธรรมให้บังเกิดขึ้น

         สำหรับเรื่องนี้พระองค์ทรงให้เหตุผลในเชิงอุปมาไว้ใน จูฬมาลุงกยสูตร๑ โดยมีสาระสำคัญว่า

         “คนที่ถูกลูกศรอาบยาพิษยิงปักเข้าที่หน้าอก ก่อนจะไปตามหาว่าใครเป็นคนยิงศร ก็จะต้องหาทางเยียวยารักษาชีวิตให้รอดตายจากพิษร้ายให้ได้ก่อน ฉันใด คนที่ถูกศรกิเลสยิงปักเข้าไปในใจ ก่อนที่จะไปตามหาว่าใครยิงศรกิเลสมาใส่เรา ก็จะต้องหาทางถอนศรกิเลสออกจากใจเพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายในวัฏสงสารให้ได้ก่อนฉันนั้น”

        ด้วยเหตุนี้เอง ตลอดเวลา ๔๕ ปี แห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงมุ่งประกาศพระธรรมคำสอนโดยเน้นหนักเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นธรรมเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ทั้งหมด อนึ่ง เวลาเพียง ๔๕ ปีนั้น ต้องถือว่าน้อยมาก ๆเพราะหากพระองค์ทรงมีระยะเวลาในการเผยแผ่มากกว่านี้ ก็จะทรงสามารถแสดงธรรมได้มากกว่านี้ สามารถพาชาวโลกแหกคุกออกจากวัฏสงสารไปได้มากกว่านี้ และมีเวลาเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ที่เป็นธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมได้มากกว่านี้

       ดังนั้น ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดนี้ พระองค์จึงต้องทรงเลือกหนทางที่จะทำให้การบำเพ็ญบารมีเพื่อมาตรัสรู้ธรรมของพระองค์เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ สอนเฉพาะธรรมที่พาชาวโลกแหกคุกออกไปจากวัฏสงสารให้ได้ก่อน ส่วนความลับอื่น ๆ หลังจากนี้ เช่น ใครเป็นผู้สร้างกิเลส ใครเป็นผู้สร้างกฎแห่งกรรม ใครเป็นผู้สร้างกฎไตรลักษณ์ ใครทำให้เกิดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ฯลฯ ผู้มีปัญญาก็จะสามารถไปขวนขวายศึกษาต่อได้ด้วยตนเอง แม้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เนื่องจากมีประสบการณ์ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ มาเป็นอย่างดี จนกระทั่งบรรลุวิชชา ๓ ได้แล้ว..


(อ่านต่อฉบับหน้า)

นิทานชาดก เรื่องเดียวกันหน้าอื่นๆ
รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ธัมมัสสวนมัยจิตผ่องใสได้ฟังธรรม

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

วันรวมใจกตัญญู...บูชาครูวิชชาธรรมกาย

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

อัญเชิญรูปหล่อขึ้นสู่แท่นประดิษฐาน สาธุการอนุโมทนา

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ชฎิลเศรษฐีผู้มีภูเขาทองเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญ

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

โครงการอุปสมบทหมู่พระธรรมทายาทนานาชาติรุ่นที่ ๑ ทวีปยุโรป

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

พิธีเจริญพระพุทธมนต์พิเศษเนื่องในวันธรรมชัยและพิธีมุทิตาสักการะเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ย้อนรอยสู่คำสอนดั้งเดิม

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

จงปลดตนเองออกจากพันธนาการแห่งความปรารถนา

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

สองประสาน ทุกงานสำเร็จ

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

นักโทษแห่งวัฏสงสาร

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ความสะอาด มีความสำคัญต่อการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอย่างไร?

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

ขัดสัคเค... ผริตฺวาน เมตฺตํ...

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

รวยฝ่าวิกฤต

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

Case Study : โรงงานฆ่าสัตว์ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๗

รูปนิทานชาดกฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖

เวลาว่าง

คำค้น :: นิทานชาดก มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก คือ เรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิทานธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีนิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน คลิปนิทาน การ์ตูนสุภาษิต ให้ศึกษา เพื่อให้เป็น นิทานเยาวชน นิทานเด็ก นิทานสอนใจ นิทานคุณธรรมเพื่อจรรโลงจิตใจ ผู้ศึกษาให้รักในคุณงามความดี นิทา,นิทานชาดก,นิทานชาดกพร้อมรูปภาพประกอบ,นิทาน, นิทานชาดก, นิทานไทย, นิทานธรรมะ, นิทานธรรมะไทย, นิทานเด็ก, คุณธรรม, การ์ตูนธรรมะ, การ์ตูนไทย, การ์ตูนภาพ, การ์ตูนช่อง, การ์ตูนนิทาน, การ์ตูนเด็ก, การ์ตูนสีขาว, นิทานธรรมะออนไลน์, นิทานธรรมะสอนคุณธรรม พระโพธิสัตว์,นิทานชาดกออนไลน์,นิทานชาดกเรื่องสั้น,นิทานชาดก หมายถึง,นิทานชาดกและคติสอนใจ,นิทานสองภาษา,นิทานสำหรับเด็ก,นิทานก่อนนอน
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล