กล่องดำเเละการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

วันที่ 27 มค. พ.ศ.2547

กล่องดำเเละการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2535 เครื่องบินโดยสารของการบินไทยเที่ยวบิน TG301 ได้บินจากกรุงเทพๆ ไปยังกรุงกาฏมัณฑุ ประเทศเนปาล ขณะใกล้จะถึงที่หมายได้ประสบกับภาวะอากาศแปรปรวนอย่างหนัก

เครื่องบินได้บินผิดทิศทางไปชนภูเขา ผู้โดยสาร 131 คนเสียชีวิตหมดทั้งลำ สิ่งที่จะเป็นกุญแจไขปริศนาให้เรารู้ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุได้ดีที่สุดคือ กล่องดำ ซึ่งได้บันทึกการทำงานของเครื่องบิน ทิศทางการเคลื่อนที่ รวมทั้งคำสนทนาของนักบินไว้ในนั้น

5f8cfdf99579520cddf2c429_800x0xcover_HID9znnF.jpg

เนื่องจากผู้เสียชีวิตในอุบัติเหตุครั้งนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นหลายราย สถานีโทรทัศน์ NHK จึงได้นำผลการตรวจสอบกล่องดำมาทำเป็นสารคดีออกอากาศ สรุปความได้ว่า...ในวันเกิดเหตุมีพายุฝนฟ้าคะนอง อากาศแปรปรวนมาก ทำให้เครื่องบินลำนี้ไม่สามารถลงจอดได้ ต้องบินวนไปมาโดยอาศัยเครื่องบอกทาง เพราะในขณะนั้นสภาวะอากาศ

ภายนอกมืดครึ้มมาก มองอะไรไม่เห็น ขณะที่บินวนอยู่นั้นกัปตันเข้าใจว่าเครื่องกำลังบินวนลงมาทางใต้ ซึ่งเป็นที่ราบโล่งแล้ว แต่นักบินผู้ช่วยแย้งว่า เครื่องบินน่าจะกำลังบินขึ้นไปทางเหนือ

ซึ่งเต็มไปด้วยเทือกเขาสูงมากกว่า กัปตันไม่ฟัง เพราะคิดว่าตนเองมีประสบการณ์มากกว่า เมื่อบินต่อไปอีกสักพัก เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เตือนภัยได้ส่งสัญญาณเตือนขึ้นว่า

''เครื่องกำลังเข้าใกล้พื้นดิน...เครื่องกำลังเข้าใกล้พื้นดิน..."

เนื่องจากระดับพื้นดินทางตอนเหนือเป็นเทือกเขาสูงชัน

NHK ได้นำเทปอัดเสียงเหตุการณ์ช่วง 15 วินาทีสุดท้ายก่อนเครื่องจะพุ่งชนภูเขามาออกอากาศในท่ามกลางเสียงสัญญาณเตือนภัยที่ดังระงมว่า

“เครื่องกำลังเข้าใกล้พื้นดิน... เครื่องกำลังเข้าใกล้พื้นดิน”

5f8d017c1e2b980ccd6dbda7_800x0xcover_kA45oCBI.jpg

บทสนทนาของนักบินผู้ช่วยที่พูดด้วยน้ำเสียงหวั่นวิตกซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า กับคำตอบด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจของกัปตัน เป็นสิ่งที่อธิบายเรื่องราวความเป็นไปได้ดีที่สุด

"กัปตัน เลี้ยวกลับเถอะ"

"เฮ้ย ! สัญญาณเตือนผิดพลาดน่ะ"

"กัปตัน เลี้ยวกลับเถอะ"

"เฮ้ย ! สัญญาณเตือนผิดพลาดน่ะ"

เสียงทั้งหมดขาดหายลงเพียงเท่านี้...

จากการสำรวจของกรมการบินพลเรือน สหรัฐอเมริกา พบว่าอุบัติเหตุทางเครื่องบินในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากการทำงานที่ไม่ประสานกันของกัปตันและนักบินผู้ช่วย

นาวาชีวิตของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ก็ดูจะไม่แตกต่างจากนี้เท่าใดนัก หน่วยงานใดที่ผู้บริหารมีความเชื่อมันในตนเองสูงเกินไป ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นการทักท้วงจากบุคคลอื่นเป็นเรื่องไร้สาระ รอบตัวย่อมเต็มไปด้วยคนประจบสอพลอ

ซึ่งถ้าผู้บริหารพอใจกับภาวะเช่นนั้น ก็นับว่าอนาคตของหน่วยงานนั้นน่าเป็นห่วง หมู่คณะจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงปลอดภัยได้นั้น บุคคลในระดับผู้นำ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้จักรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นด้วย เป็นผู้ที่สามารถปรึกษาหารือได้ไม่ยึดติดในความคิดเห็นของตัวเองมากเกินไป

5f8d03569579520cddf5d31a_800x0xcover_japU4_GE.jpg

ต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้ใต้บังคับบัญชา กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าทักท้วง และแน่นอนว่า จำเป็นต้องฝึกผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูด รู้จักกาลเทศะในการเสนอความเห็น และรู้จักรับคำสั่งด้วย

สาเหตุที่ทำให้ผู้นำหลาย ๆ คนเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป มักมาจากความสำเร็จในอดีต เมื่อประสบความสำเร็จมากครั้งเข้าความเชื่อมั่นในตนเองก็มากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นความหลงตัวเอง ไม่ฟังใคร ยึดติดกับวิธีคิด

วิธีการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ตนเคยใช้ ลืมมองไปว่าสถานการณ์รอบตัวได้เปลี่ยนไปแล้ว ทั้งเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป หากไม่ปรับตัว ย่อมจะนำหมู่คณะไปพบกับความเสื่อม

ดังตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบมา ในสมัยเมจิ หลังจากเปิดประเทศพัฒนาตัวเองได้ 20 ปีเศษ ญี่ปุ่นก็เริ่มนโยบายสร้างชาติด้วยการรุกรานเพื่อนบ้าน บุกยึดเกาหลี ไต้หวันเป็นอาณานิคม รบจนชนะจีน ยึดดินแดนได้มากมาย

รบชนะรัสเซียได้สิทธิทางรถไฟ พื้นที่แถบแมนจูเรียและแหลมเลียวตุง การได้ชัยชนะจากการรบครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ทำให้บรรดาขุนศึกของญี่ปุ่นฮึกเหิมลำพองใจในพลังอำนาจของตน

5f8d01d45d5ccd0ca3917040_800x0xcover_0478WeQf.jpg

โดยมั่นใจว่า การสร้างชาติจะทำได้ก็ด้วยกำลังทหารเท่านั้น ผู้นำฝ่ายพลเรือนที่ไม่เห็นด้วยก็กำจัดเสีย สุดท้ายก็เข้ายึดอำนาจบริหารประเทศเสียเอง และนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ประกาศสงครามกับอเมริกา

โดยไม่คำนึงว่า อเมริกาไม่ใช่เกาหลี จีนหรือรัสเซีย มองข้ามพลังทางการผลิตของอเมริกาในขณะนั้นที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าตนถึง 30 กว่าเท่าตัว อีกทั้งมองข้ามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอเมริกา

ผลก็คือ ประเทศญี่ปุ่นต้องพบกับความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ บทเรียนนี้ประเทศญี่ปุ่นซื้อมาด้วยราคาแพง ซื้อด้วยชีวิตคนเกือบสิบล้านคน และประเทศที่เหลือแต่ซากปรักหักพัง

หากต้องการให้สมาชิกในหมู่คณะของเรารับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ต้องเริ่มที่ตัวของเราเองก่อน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่วันนี้ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่ใช่เพราะจำเป็นต้องรับฟัง แต่ให้ตั้งใจฟังเพราะเห็นประโยชน์

เมื่อทุกคนปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากตัวเองเช่นนี้ ผู้ที่เป็นหัวหน้าก็จะเป็นหัวหน้าที่ดี หมู่คณะก็จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงปลอดภัย

5f8cff6213b6950cbf5b01c2_800x0xcover_AdVBSKnP.jpg

เราคงเห็นแล้วว่าการไม่ยอมรับฟังใคร... อาจก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดังอุทาหรณ์ จาก "กล่องดำ" ในเที่ยวบินมรณะ หรือจากบทเรียนของความฮึกเหิมในชัยชนะของญี่ปุ่น

“การฝึกให้เป็นคนรู้จักรับฟังความเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มที่ตัวของเราเอง ซึ่งต้องเริ่มฝึกตั้งแต่เดี๋ยวนี้

ฟังความคิดเห็นของคนอื่นไม่ใช่เพราะความจำเป็นต้องรับฟังแต่ให้ตั้งใจฟังเพราะเห็นประโยชน์”

เจริญพร

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0024953683217367 Mins