มตกภัตตชาดก แพะรับบาป ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ

แพะรับบาป ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ ตอนจบ

ตอนจบ

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป 

มตกภัตตชาดก

ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ

ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

 

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

นิทานชาดกเรื่อง แพะรับบาป   มตกภัตตชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญสถานที่ตรัสชาดก

ตอนจบ

มตกภัตตชาดก แพะรับบาป

สถานที่ตรัสชาดก

เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี

สาเหตุที่ตรัสชาดก

        พระภิกษุกลุ่มหนึ่งเห็นประชาชนฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วสงสัยว่า การฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญจะได้บุญจริงหรือ จึงพากันไปกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตอบว่า

        “การฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญนั้นย่อมไม่ได้บุญเลย เพราะเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่นตั้งแต่แรกเสียแล้ว” พระพุทธองค์ทรงนำมตกภัตตชาดก มาตรัสเล่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้

เนื้อหาชาดก

        ในอดีตกาล สมัยที่มนุษย์และสัตว์ยังเข้าใจภาษากันได้ มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่ง ต้องการจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จึงสั่งลูกศิษย์ให้นำแพะมาเตรียมจะฆ่า เนื่องจากแพะตัวนี้เคยเกิดเป็นมนุษย์และฝึกสมาธิมามากถึงขั้นสามารถระลึกชาติได้ แต่ต่อมาภายหลังได้ไปก่อกรรมทำบาป จึงต้องมาเกิดเป็นแพะ แต่ผลบุญนั้นก็ยังติดตามมาทำให้ระลึกชาติได้อีก แพะพิจารณาผลกรรมในอดีตของตนแล้วหัวเราะและร้องไห้สลับกันไป

        แพะบอกว่าที่หัวเราะเพราะดีใจที่จะหมดกรรมจะได้ไปเกิดเป็นคน แต่ที่ร้องไห้เพราะสงสารอาจารย์ที่จะต้องไปเกิดเป็นแพะใช้กรรม ๕๐๐ ชาติเหมือนตน แล้วเล่าว่าเมื่อก่อนตนเคยเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แล้วฆ่าแพะเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติ พอตนเองตายไปจึงต้องมาเกิดเป็นแพะใช้กรรมถึง ๕๐๐ ชาติ และวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะหมดกรรมแล้ว อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ฟังเรื่องราวที่แพะเล่าจึงล้มเลิกความคิดที่จะฆ่า แต่แพะบอกว่าถึงอย่างไรมันก็จะต้องตายในวันนี้

        เมื่อแพะถูกปล่อยออกมาแล้ว ก็เที่ยวหากินไปตามชายป่าใกล้เขตหมู่บ้าน ขณะที่มันชะเง้อคอกินใบไม้ที่ขึ้นอยู่หลังแผ่นหินข้างเชิงเขา ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยงลงมา แผ่นหินแตกกระจาย เศษหินแผ่นหนึ่งพุ่งตรงมาตัดคอของมันขาดกระเด็นไปในพริบตา บรรดาศิษย์และชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาแถบนั้น ต่างอกสั่นขวัญแขวนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ปรากฎกายนั่งขัดสมาธิลอยอยู่กลางอากาศ เปล่งรัศมีสว่างไสวให้ทุกคนเห็นชัดเจน พร้อมกับกล่าวว่า

        “สัตว์ทั้งหลายควรรู้ว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นทุกข์ จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้ฆ่าสัตว์ย่อมได้รับทุกข์โศกตลอดกาล”

        รุกขเทวดาได้อธิบายว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะต้องได้รับทุกขเวทนาอย่างหนักเป็นเวลานานในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ

๑. ต้องตกนรก

๒. ต้องเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน

๓. ต้องเกิดเป็นเปรต

๔. ต้องเกิดเป็นอสุรกาย

เมื่อรู้จริงเช่นนี้แล้ว จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย

        เมื่อรุกขเทวดาเแสดงธรรมให้ทราบถึงโทษของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตดังนี้แล้ว มนุษย์ทั้งหลายต่างพากันกลัวบาปกรรม งดเว้นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ตามโอวาทของรุกขเทวดาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

ประชุมชาดก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า

รุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระองค์เอง

 

ข้อคิดจากชาดก

        ๑. ใครทำกรรมใดไว้ ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ตนจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น จะต่างกันแต่เพียงช้าหรือเร็วเท่านั้น

        ๒. บุคคลใดก็ตามที่มีมิจฉาทิฐิ คือ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม หรือเห็นผิดเป็นชอบ จะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในอบายภูมิทั้ง ๔ คือไปใช้กรรมในนรกบ้าง ไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานบ้าง หรือไม่ก็ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกายบ้าง ดังนั้น ก่อนจะทำอะไร ควรพิจารณาถึงคุณและโทษตามหลักเหตุผลที่แท้จริงเสียก่อน เพราะบางครั้ง เราอาจจะทำผิดเนื่องจากฟังมาผิด ๆ เชื่อถือกันมากผิด ๆ หรือมีประเพณีผิด ๆ

        ๓. นับแต่โบราณกาล สมัยปู่ย่าตายายของเราขึ้นไป คนไทยมีเมตตาธรรมสูงไม่นิยมฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่เช่น วัว ควาย จะกินเนื้อของมันก็ต่อเมื่อมันตายเอง แล้วนำมาชำแหละแบ่งกันทั้งหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะคนสมัยนี้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนามาก แต่ในปัจจุบันนี้เราฆ่าสัตว์กันจนเป็นอุตสาหกรรม จึงเป็นข้อที่ควรนำมาพิจารณา

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล