กวางน้อยใจเพชร ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

กวางน้อยใจเพชร หน้า 2

หน้า 2

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร

ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

 

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

นิทานชาดกเรื่อง กวางน้อยใจเพชร  ติปัลลัตถมิคชาดก  ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

จบ

ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ

 

ติปัลลัตถมิคชาดก

ว่าด้วยการเอาตัวรอดจากภัยที่มาถึง

::สาเหตุที่ตรัสชาดก::


        ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากนครอาฬวีไปยังนครโกสัมพี ประทับอยู่ที่พทริการาม ครั้งนั้น มีพระภิกษุตามเสด็จจำนวนมาก กุฏิที่มีอยู่จึงไม่พอ ทำให้สามเณรราหุลซึ่งปกติ ได้อาศัยนอนค้างร่วมกับพระเถระองค์ใดองค์หนึ่งเสมอ ไม่มีที่นอนเพราะภิกษุต่างเกรงอาบัติผิดวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่า “ห้ามพระภิกษุนอนในที่มุงบังเดียวกันกับผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุ”


        เมื่อสามเณรราหลุไม่มีที่นอน ก็มิได้โต้แย้ง ด้วยความที่มีอัธยาศัยงาม เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย และเคารพในพระวินัยอย่างเคร่งครัด จึงพยายามช่วยเหลือตนเอง ด้วยการอาศัยนอนในเวจกุฎี (ห้องส้วม) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช้ามืดนั้นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาที่เวจกุฎี ก่อนเข้าไปได้ทรงกระแอมขึ้น สามเณรราหุลกระแอมตอบ แล้วออกมากราบทูล ถึงสาเหตุที่มานอนในเวจกุฎีนี้


        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดธรรมสังเวช จึงประชุมสงฆ์ในเช้าตรู่วันนั้น แล้วตรัสว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่เอาใจใส่ดูแลสามเณรราหุล ทอดทิ้งได้อย่างนี้ ต่อไปภายหน้าสามเณรอื่นๆ มาบวชคงไม่มีที่พึ่ง”


        พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่ว่า “นับแต่นี้ไป อนุญาตให้สามเณรหรือผู้ไม่ใช่ภิกษุ นอนในที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุได้ไม่เกินสามคืน เมื่อถึงคืนที่สี่ ต้องไปหาที่นอนที่อื่นๆ”

        เย็นวันนั้น พระภิกษุทั้งหลายประชุมกัน กล่าวสรรเสริญสามาเณรราหุลเป็นสามเณรใจเพชร เคารพ และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า พระภิกษุกำลังปรารภกันถึงเรื่องนี้อยู่ จึงทรงระลึกชาติหนหลัง แล้วตรัส ติปัลลัตถมิคชาดก ดังนี้


        เนื้อหาชาดก ในอดีตกาล ณ ชายป่าใกล้กรุงราชคฤห์ มีกวางฝูงใหญ่ฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ วันหนึ่งน้องสาวของพญากวาง นำลูกน้อยของตนมาฝากให้พญากวางช่วยสอนวิชา มฤคมายา อันเป็นวิชาที่ว่าด้วย การแสดงมายาเพื่อรักษาตัวรอด ลูกกวางน้อยตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี พญากวางจึงเมตตา ถ่ายทอดวิชามฤคมายาให้จนหมดสิ้น


        อยู่มาวันหนึ่ง บังเอิญกวางน้อยไปติดบ่วงของนายพรานเข้า แต่ลูกกวางน้อยมีสติ มิได้เสียขวัญแต่อย่างใด กลับบอกให้เพื่อนๆ รีบหนีไปเสีย บรรดาเพื่อนๆ จึงรีบกลับไปแจ้งข่าวร้ายนี้แก่นางกวางผู้เป็นแม่ นางกวางตกใจมาก รีบวิ่งไปหาพญากวาง บอกว่าลูกของฉันติดบ่วงนายพรานเสียแล้ว “พี่สอนวิชาให้หลานจบแล้วหรือ?”


        พญากวางจึงปลอบนางกวางว่า บุตรชายของนางตั้งใจเรียนเป็นอย่างดีย่อมปลอดภัยแน่นอน ฝ่ายลูกกวางน้อย เมื่อติดบ่วงแล้วก็สำรวมสติมั่น นึกทบทวนวิชาที่ได้ร่ำเรียนมา จากพญามารผู้เป็นลุง แล้วทำมารยา ๖ ประการ กล่าวคือ


        แสร้งตะกุยดินให้เป็นฝุ่นอยู่ข้างหน้า แล้วเตะฝุ่นให้ฟุ้งกระจายดูราวกับว่า ได้ตะกุยจนเต็มแรงแล้ว จากนั้นก็ล้มตัวลงนอนตะแคง เหยียดเท้าทั้งสี่ออกไปด้านข้าง เกร็งตัวแข็งทื่อเหมือนกับว่าตายมานานแล้ว สักพักหนึ่ง ฝูงแมลงวันพากันมาตอมอุจจาระปัสสาวะ ฝูงกาก็บินมาเกาะกิ่งไม้คอยทีอยู่ เมื่อนายพรานมาถึง เห็นลูกกวางนอนตัวพองขึ้นอืดอยู่ ก็เอานิ้วดีดท้องลูกกวาง ได้ยินเสียงดัง ปุ ปุ จึงหลงเข้าใจว่าลูกกวางน้อยตายจนขึ้นอืดแล้ว จึงรีบถอดบ่วงออกจากคอ ตั้งใจจะชำแหละเนื้อในที่นั้น ทันทีที่บ่วงหลุด ลูกกวางน้อยก็กระโจนหนีไป ด้วยความเร็วราวกับลมพัด กลับไปหามารดาและพญากวางผู้เป็นลุงทันที


        ประชุมชาดก เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชาดกจบแล้ว ทรงแสดงธรรมให้ลุ่มลึกตามลำดับ พระภิกษุจำนวนมากบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า


ลูกกวางน้อย ได้มาเป็น สามเณรราหุล

แม่กวาง ได้มาเป็น พระอุบลวรรณาเถรี

พญากวาง ได้มาเป็น พระองค์เอง

 

::ข้อคิดจากชาดก::


          ๑.บางครั้งหากมีความจำเป็นต้องนอนในที่เดียวกับคนอื่น เช่น ในโอกาสไปพักแรมต่างจังหวัด จึงควรระมัดระวังให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่ง


          ๒. เมื่อเราได้ร่ำเรียนวิชาจากครูบาอาจารย์แล้ว ควรเรียนรู้ให้แตกฉาน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต หรือ แม้กระทั่งรักษาชีวิตของตนได้ ดังคำของกวีสุนทรภู่ ที่กล่าวว่า รู้อะไรแม้รู้เพียงเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล


          ๓.ศิษย์เมื่อมีความศรัทธา มีความเคารพในครูบาอาจารย์อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว จะปฏิบัติตามคำสั่งสอน โดย ไม่โต้แย้งหรือบิดพริ้ว ทำให้ครูบาอาจารย์มีความเมตตา เอ็นดู ปรารถนาจะถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * นิทานชาดก แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล