วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

กวางตะกละ วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร หน้า 2 จบ

หน้า 2

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ"
วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

 

ภาพ  มิ้น,ป๋องแป๋ง 
ลงสี  มิ้น, ป๋องแป๋ง

 

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ" วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

จบ

 

การ์ตูนนิทานชาดกเรื่อง "กวางตะกละ"
วาตมิคชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการติดในรสอาหาร

 

สถานที่ตรัสชาดก
        เซตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี

สาเหตุที่ตรัสชาดก

        ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์แคว้นมคธ ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาฟังพระธรรมเทศนาอยู่เป็นนิจ ในจํานวนนี้มีบุตรชาย
เศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อ ติสสกุมาร ด้วย

        เมื่อติสสกุมารได้ฟังพระธรรมเทศนาก็เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าจะขอบวชเป็นภิกษุบ้าง พระพุทธองค์จึงทรงให้ไปขออนุญาตบิดามารดาเสียก่อน เมื่อติสสกุมารกลับบ้านไปขออนุญาตออกบวชบิดามารดาไม่เห็นด้วย เพราะมีบุตรชายเพียงคนเดียว หวังจะให้เป็นผู้สืบสกุลดูแลทรัพย์สมบัติต่อไป ติสสกุมารจึงอดอาหารประท้วงถึง ๗ วัน บิดามารดาจึงใจอ่อนยอมอนุญาต ติสสกุมารจึงบวชอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา ณ เวฬุวันมหาวิหารนั้นเอง

        ต่อมาประมาณครึ่งเดือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากเวฬุวันมหาวิหาร ไปยังแคว้นโกศลเพื่อประทับ ณ เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี พระติสสะก็ตามเสด็จด้วย ตลอดเวลาทีอยู่นครสาวัตถี พระติสสะตั้งใจปฎิบัติธรรมวินัยและรักษา ธุดงค์สิบสามประการอย่างเคร่งครัด จนกระทั้งเวลาล่วงเลยไปกว่าสิบปี คนทั้งหลายเห็นจริยวัตรอันงดงามสมํ่าเสมอของท่านก็พากันนิยมยกย่อง และสรรเสริญว่า พระติสสเถระ ตั้งใจปฎิบัติธรรมเคร่งครัดราวกับพระมหากัสสปะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางถือธุดงค์

        ส่วนบิดามารดา ของพระติสสเถระซึ่งอาศัยอยู่ในนครราชคฤห์นั้น ยังมีความอาลัยในบุตรชายไม่เสื่อมคลาย วันหนึ่งในนครราชคฤห์มีงานนักขัตฤกษ์ บิดามารดาได้นําเสื้อผ้าเครื่องใช้ของพระติสสเถระ
ออกมาดูต่างหน้า แล้วกอดไว้กับอก ฝ่ายมารดารํ่าไห้พลางพรํ่ารําพันว่า

        "บัดนี้ ลูกรักของแม่นั่งอยู่ที่ไหนหนอ.... ยืนอยู่ที่ไหนหนอ....ทุกปี เมื่อถึงวันงานนี้ ลูกของแม่เคยสวมใส่ประดับประดาด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์เหล่านี้ ช่างงามสง่ายิ่งนัก แต่บัดนี้ "พระสมณโคดมพาลูกชายคนเดียวของแม่ไปนครสาวัตถีเสียแล่ว...."


        ขณะนั้น นาง วัณณทาสี ผู้หนึ่งเดินผ่านมาได้ยินเข้า จึงเข้าไปสอบถามแล้วรับอาสาจะไปสึกพระลูกชายให้ แต่มีเงื่อนไขว่าถ้านางทําสําเร็จจะต้องรับนางไว้เป็นสะใภ้ ท่านเศรษฐีและภรรยาก็ยอม เพราะคิดถึงลูกเหลือเกินแล้ว

        ก่อนออกเดินทาง นางวัณณทาลีได้สอบถามอุปนิสัยใจคอของพระติสสเถระสมัยเมื่อยังเป็นฆราวาสโดยละเอียดทุกแง่ทุกมุมพร้อมทั้งขอเสบียงอาหาร ยานพาหนะ และข้าทาสบริวารจํานวนมากไปคอยรับใข้นางอีกด้วย

        นางวัณณทาสีเดินทางไปยังนครสาวัตถีด้วยยานพาหนะที่ปกปิดอย่างมิดชิด ดูราวกับการเดินทางของธิดาเศรษฐีผู้มีสกุลคนใดคนหนึ่งอย่างนั้น

        เมื่อถึงนครสาวัตถีแล้ว นางได้พักในคฤหาสน์โออ่าชึ่งอยู่ใกล้ทางที่พระติสสเถระจะต้องบิณฑบาตผ่านมาทุกวัน และเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต นางจึงกําชับข้าทาสบริวารที่ท่านเศรษฐีให้มาให้หลบซ่อนเสีย เพราะเกรงพระเถระจะจําได้ให้ปรากฏตัวเฉพาะคนของนางเท่านั้น

        ทุก ๆ เข้า เมื่อพระติสสเถระบิณฑบาตผ่านมา นางวัณณทาสี จะนําอาหารที่ท่านโปรดปราน ซึ่งนางได้บรรจงปรุงอย่างพิถีพิถันมีรสดีเลิศมาถวาย แล้วสังเกตดูพระเถระว่าจะมีความยินดีเพียงใด

        พระติสสเถระนั้น ถึงแม้จะรักษาธุดงค์อย่างเคร่งครัดมานานนับสิบปี แต่ก็ยังเผลอสติมิได้พิจารณาก่อนฉัน เมื่อได้รับอาหารที่ถูกปากเสมอ ๆ ก็คลายความเพียรลง เลิกรักษาธุดงค์เกี่ยวกับการบิณฑบาต
เสีย ในเวลาต่อมาก็รับนิมนต์มาฉันที่บ้านของนางวัณณทาสีด้วย

        เวลาผ่านไป จนนางวัณณทาสีแน่ใจว่าพระติสสเถระติดใจในรสอาหารของนางแน่แล้ว วันหนึ่ง นางจึงแกล้งทําเป็นป่วยนอนซมอยู่ในห้อง เมื่อพระเถระบิณฑบาตมาถึงบ้าน ไม่เห็นนางออกมาตักบาตรเช่นเคย จึงเข้าไปในบ้านแล้วถามถึงนาง คนรับใช้ก็ตอบว่า "คุณผู้หญิงเป็นไข้นอนซมอยู่ในห้อง บ่นว่าอยากจะพบพระคุณเจ้าเหลือเกิน"

        พระติสสเถระได้ฟังก็บังเกิดความห่วงใย เกรงนางจะเป็นอันตรายจากพิษได้ จึงเผลอสติจนลืมสมณวิสัย ขาดความสํารวมระวังอินทรีย์ เข้าไปหานางถึงในห้องนอน เมื่ออยู่ตามสําพัง นางวัณณทาสีจึงทํามารยาเล้าโลมจนพระเถระต้องลึกจากเพศบรรพชิต

        ข่าวพระติสสเถระสึกออกไปครองเรือนนี้ แพร่สะบัดไปรวดเร็วราวกับไฟไหม้ป่าเป็นที่โจษจันไปทั่วนครสาวัตถี พระภิกษุทั้งหลายเมื่อประชุมกันในธรรมสภา ต่างพากันบ่นว่า

        "น่าเสียดาย พระติสสเถระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยต้องมาสึกเพราะติดในรสอาหารของนางวัณณทาสีแท้ๆ ทีเดียว" 

        ขณะนั้น พระบรมศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภา เมื่อทราบว่าพระภิกษุสนทนากันถึงเรื่องนี้ จึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสว่า

        "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระติสสเถระไม่ได้ติดในรสอาหารจนตกอยู่ในอํานาจของสตรี เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แม่ในชาติก่อนก็ติดในรสอาหารจนตกเป็นทาสของสตรีผู้นี้มาแล้วเช่นก้น" แล้วทรงเล่า วาตมิคชาดก ดังนี้

 

เนื้อหาชาดก
        ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ พระราชอุทยานของพระเจ้าพรหมทัตกษัตริย์แห่งนครพาราณสี ได้มีเนื้อสมันตัวหนึ่งเดินหลงเข้ามา นายสัญชัยคนเฝ้าพระราชอุทยานก็มิได้ขับไล่แต่อย่างใด วันต่อ ๆ มา
เนื้อสมันจึงเดินเข้ามาและเล็มหญ้าในพระราชอุทยานอีก

        เช้าวันหนึ่ง ขณะที่นายสัญชัยนําดอกไม้และผลไม้ไปถวายพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ได้รับสั่งถึงความเป็นไปต่างๆ ในพระราชอุทยาน นายสัญชัยจึงกราบทูลว่า 

        "ขอเดชะ มิได้มีสิ่งใดผิดปกติ นอกจากมีเนื้อสมันตัวหนึ่งชอบมาเที่ยวเดินเล่น พระพุทธเจ้าข้า"

        พระเจ้าพรหมทัตทรงแปลกพระทัย จึงทรงให้จับเนี้อสมันตัวนั้นมา นายสัญชัยจึงขอพระราชทานนําผึ้งจํานวนหนึ่ง แล้วนําไปทาตามใบหญ้าในบริเวณที่เนื้อสมันชอบมาหากิน เมื่อเนื้อสมันได้ลิ้มรสนํ้ผึ้งก็ติดใจ จึงมาเลียน้ำผึ้งอยู่เสมอ ๆ แม้หญ้าที่ทานํ้าผึ้งซึ่งอยู่ในมือของนายลัญชัย เนื้อสมันก็ยังกล้าเข้ามากิน

        เมื่อนายสัญชัยเห็นว่าเนื้อสมันติดในรสน้ำผึ้งแล้ว จึงนําเสื่อมากั้นทางเดินเป็นช่องจากพระราชอุทยานไปจนถึงบริเวณพระราชวังแล้วตัดกิ่งไม้ปักพรางตาไว้ จากนั้นก็เอาน้ำผึ้งทายอดหญ้า วางล่อเนื้อสมัน เนื้อสมันหลงกลเดินเลียน้ำผึ้งไปถึงเขตพระราชวังจึงถูกกักตัวไว้

        เนื้อสมันเห็นคนมากมายก็ตกใจกลัวจนตัวสั่น วิ่งลนลานไปมา พระเจ้าพรหมทัตเสด็จลงมาทอดพระเนตรแล้ว จึงตรัสว่า "ธรรมดาเนื้อสมันจะไม่ไปยังที่ซึ้งตนได้เห็นคนถึง ๗ วัน และจะไม่ไปยังที่ซึ้งตนเคยถูกคุกคามตลอดชีวิต แต่เนื้อสมันตัวนื้อาศัยอยู่ในป่าลึกแท้ๆ ยังมาอยู่ในสถานที่นื้ได้ นี่เป็นเพราะ
มันติดในรสอาหารจึงลืมตัวลืมตาย ในโลกนื้ไม่มีอะไรจะเป็นโทษมากกว่าการติดในรสเลย"

        แล้วพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นพระคาถา มืเนื้อความว่า

        "การติดถิ่นที่อยู่อาศัยก็ดี ความคุ้นเคยต่อมิตรก็ดี ไม่ลามกเท่าการติดรส ไม่มีอะไรจะลามกยิ่งกว่าการติดรส สัญชัยคนเฝ้าสวนต้อนเนื้อสมันซึ่งอาศัยอยู่ในป่า ให้มาสู่อํานาจของตนได้ด้วยเหตุนื้"

        พระเจ้าพรหมทัตทรงแสดงโทษของการติดในรสโดยนัยต่าง ๆ แล้วโปรดให้ปล่อยเนื้อสมันเข้าป่าไป

 

ประชุมชาดก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า
นายสัญชัยคนดูแลอุทยาน ได้มาเป็นนางวัณณทาสี
เนื้อสมัน ได้มาเป็นพระติสสเถระ
พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็นพระองค์เอง

 

ข้อคิดจากชาดก

คนเรามักจะติดในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งบัณฑิตถือว่าเป็นโทษ เช่น


๑. การติดถิ่นที่อยู่อาศัย

     ๑. เป็นการขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของตนเอง เพราะเท่ากับตัดโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนให้เกิดประโยชน์ ทําให้ความคิดคับแคบ เพราะมีประสบการณ์น้อย

      ๒. ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของชุมชนและประเทศชาติ บางคนอยู่ในที่แออัด สกปรก แต่ไม่ยอมขยับขยายที่อยู่ และยังขัดขวางการสร้างความเจริญของชาติด้วย เซ่น ในเรื่องการวางผังเมือง การตัดถนน เป็นต้น

๒. การคิตเพื๋อน
        ทําให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องให้เพื่อนช่วยคิด ช่วยชี้แนะให้เป็นประจํา จะไปไหน หรือทําอะไรตามลําพังก็ไม่กล้าเป็นที่ระอาของเพื่อนด้วย ในกรณีที่ไปติดเพื่อนเลว ๆ ก็จะเสียคนไปเลย

๓. การติดรส
        ทําให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เสียเวลา หรือเกิดโรคเพราะรับประทานมากเกินไป บุคคลบางจําพวกอาศัยการติดรสผูกมัดบุคคลไว้ ดังนี้

        แม่บ้านหรือหญิงทั้งหลาย มักผูกมัดสามีหรือชายที่รักด้วยรสอาหาร ดังภาษิตที่ว่า "เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย" เพราะคนส่วนใหญ่ เมื่อติดรสอาหารเสียแล้ว ก็มักจะมองข้ามความบกพร่องด้านอื่น ๆ ไป

        พ่อค้าแม่ค้า อาศัยการติดรสของลูกค้าปรุงอาหาร ค้าขายสร้างฐานะให้ตนได้ และบางครั้งก็วางกับล่อผู้ที่ติดรสไว้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย เช่น มีการแสดง การให้รางวัล เป็นต้น บางครั้งสรรหาอาหารแปลก ๆ ที่หายากมาขายด้วยการสั่งชื้อจากต่างประเทศ แม้ว่าจะมีราคาแพงมากก็ตาม

        การแสวงหาอาหารเพื่อสนองการติดรสของคนนั้น บางครั้งก่อให้เกิดความผิดพลาดอื่น ๆ ตามมา เช่น ทํา ให้ติดเหล้า ติดยา เสพย์ติด หลงเข้ากลุ่มนักเลง ละเลยครอบครัว สร้างความหายนะให้ตนทุกที ๆ

๔. นักปฏิบัติธรรมที่ยังติดในรสอาหาร ทำ ให้เกิดโทษ คือ

        ๑. กินมากแล้วง่วง ทําสมาธิไม่ได้ดี
        ๒. เสียเวลาปรุงแต่งประดิษฐ์อาหารโดยใช่เหตุ
        ๓. จิตใจฟุ้งซ่าน กามกําเริบได้ง่าย
        ๔. พระภิกษุสงฆ์ถึงจะบวชมานาน หากยังไม่บรรลุธรรมแล้ว ก็มีโอกาสพลาดได้ เหมือนพระติสสเถระในเรื่องนี้ สาธุชนจึงไม่ควรตําหนิพระภิกษุสงฆ์ที่ตระหนี่ตัว' ไม่รับนิมนต์ไปบ้านไม่ถือความคุ้นเคยกับชาวบ้าน เพราะไม่ต้องการไปอยู่ในบรรยากาศอย่างฆราวาส อันจะทําให้เสียโอกาสปฏิบัติธรรม

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * นิทานชาดก แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล