ชาดก 500ชาติ

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

ชาดก 500 ชาติ

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

         ราชคฤห์ในแผ่นดินพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นบังเกิดมีสำนักพระพุทธศาสนาที่แปลกแยกออกไปโดยมีพระเทวทัต เป็นผู้นำศาสนสถานแห่งใหม่ตั้งอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างถวายและให้อยู่ในพระราชานุเคราะห์อย่างอุดมสมบูรณ์

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

       ในพุทธกาลครั้งนั้นมีชาวเมืองราชคฤห์สองคนเป็นสหายรักกันมาแต่เด็ก ทั้งสองเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจึงตัดสินใจจะบวชเป็นภิกษุเพื่อบรรลุในพระธรรมคำสอน “แล้วพวกเราจะไปบวชที่ไหนกันดีหล่ะ” “ข้าจะขอบวชในพระเวฬุวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเจ้าละไปบวชกับข้าไหม” “ไม่ละ ข้าขอบวชในสำนักพระเทวทัตดีกว่า เห็นลือกันว่าที่นั้นนะสุขสบายนัก ฮะฮ่ะๆๆ ฮะ”

      เวลาผ่านไปแม้สหายทั้งสองต่างครองเพศบรรชิตแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันมิได้ขาด “เพื่อน ไปฉันอาหารที่วัดเราดีกว่า มีแต่อาหารรสดีทั้งนั้น” “เกรงใจจัง จะดีหรือท่าน มันไม่งามหรือเปล่า” ทุกเช้าภิกษุที่เป็นสาวกของพระเทวทัตจะมาชักชวนภิกษุสหายของเขาไปฉันภัตตาหารที่สำนักพระเทวทัตด้วยกันเสมอ “สหายเอ๋ยจะมาบิณฑบาตให้เหนื่อยทำไม ไป๊..ไปฉันกับเราที่คยาสีสะดีกว่า”  "อย่าเลยฉันไข่ต้มกับน้ำพริกที่บิณฑบาตมานี่ก็ได้” “โอ้ย! จะไปอร่อยอะไร ปะ..ไปฉันกับเราอาหารเยอะแยะมากมาย ทั้งต้ม ยำ นึ่ง ทอด ล้วนประณีตถูกปากแบบชาววังทุกวันเลย” “เออ..ท่านมาชวนซะขนาดนี้เราไม่ไปท่านก็จะเสียใจ เอาล่ะเราจะไปก็ได้” เมื่อแรกๆ ที่ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนภิกษุนั้นก็บ่ายเบี่ยง แต่เมื่อถูกคะยั้นคะยอบ่อยๆ เข้าจึงรับปาก เมื่อไปร่วมฉันอาหารก็เกิดความเคยชินไปฉันเป็นประจำแต่นั้นมา 

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

                                                                                                                                                                              “อือ..เราไปฉันอาหารที่สำนักของพระเทวทัตก็จริงน่า แต่พระเทวทัตไม่ได้เป็นคนให้เรา เราฉันอาหารของผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายให้ต่างหากไม่เห็นจะผิดอะไร ก็เหมือนในเวฬุวันที่นี่แหละ ทานที่ไหนก็เหมือนกัน” “ที่ท่านคิดก็ถูกแล้ว พวกเราน่ะก็ไม่เห็นว่าท่านจะทำผิดอะไร” “แต่เราก็เกรงว่าภิกษุท่านอื่นในเวฬุวันจะไม่เข้าใจหาว่าเรารักความสบายนะซิ”  “ถ้าสหายไม่สะดวกใจก็ขอลาพระสมณะโคดมมาอยู่กับฝ่ายเราเสียเลยดีไหม ข้าเดินไปชวนท่านทุกวันก็เริ่มเหนื่อยแล้วเหมือนกัน”

           นานวันเข้าความประพฤติของภิกษุหนุ่มรูปนี้ก็เป็นที่โจษขานกันในเวฬุวัน กระทั่งวันหนึ่งมีเหตุให้ต้องโต้วาทะกับเพื่อนพระภิกษุอื่นๆ “เจ้าผิดนักที่ไปฉันอาหารของพระเทวทัตเถระผู้ผิดธรรมวินัยนั่นนะ รู้มั๊ย” “เราไม่ผิด อาหารเหล่านั้นไม่ได้เป็นของพระเทวทัต แต่เป็นของถวายจากพระเจ้าอชาตศัตรูต่างหาก” “ท่านนี่หัวดื้อจริงๆ” “ผิดมากๆ ด้วย เช่นนี้ต้องนำเข้าเฝ้าพระศาสดาแล้ว” “เมื่อเราตักเตือนอะไรท่านไม่ได้ก็ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตักเตือนท่านแล้วกัน”

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

         เพื่อนพระภิกษุพากันว่ากล่าวแล้วนำตัวไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสอบถามความเป็นจริง “ดูก่อนภิกษุเธอมาบวชอยู่ในสำนักของเราซึ่งสอนให้ละกิเลสนำตนให้พ้นจากกองทุกข์ แล้วทำไมจึงไปฉันอาหารในสำนักของพระเทวทัตซึ่งเป็นคนทุศีลด้วยเล่า ถึงแม้เธอจะอ้างว่าได้รับอาหารจากคนที่เขามีศรัทธาถวายให้ก็หาใช่เหตุผลอันชอบธรรมไม่ เพราะอาหารนั้นได้มาด้วยการกระทำอันไม่ชอบของพระเทวทัตผู้ทุศีล  คนเราเมื่อคบกันไปนานเข้าความคิดอ่านก็จะไปในทางเดียวกัน คบคนดีก็จะเป็นคนดี คบคนชั่วก็จะพลอยชั่วไปด้วยเหมือนเมื่อครั้งที่เธอเกิดเป็นช้างชื่อ มหิฬามุข เมื่อชาติก่อนโน้น”

           ในอดีตกาล ณ นครพาราณสีพระเจ้าพรหมทัตมีช้างพระที่นั่งเชือกหนึ่งชื่อ พลายมหิฬามุข เป็นช้างทรงลักษณะงดงาม สงบเสงี่ยมเรียบร้อยอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

       “พลายมหิฬามุขของเรานี่ช่างสง่างามจริงๆ สมแล้วที่เป็นช้างคู่ใจคู่บัลลังก์พาราณสีของเรา หึๆ ฮ่าๆ ฮะ” ครั้นถึงเทศกาลฝึกช้างเพื่อใช้ในราชการ อำมาตย์ราชบัณฑิตจึงเปลี่ยนที่พักมาใกล้กำแพงชั้นนอกเพื่อความสะดวก แต่เพียงไม่กี่วันพลายมหิฬามุขที่เคยสุภาพเรียบร้อยก็เปลี่ยนไปเริ่มแสดงท่าทางเกะกะเกเรขึ้นเรื่อยๆ ใช้งวงหวดซ้ายป่ายขวา เห็นใครเดินเข้ามาก็จะเข้าไปทำร้าย “มาแล้วๆ หน่อไม้ของโปรด เฮ้ยๆ....เฮ้ย อย่าสิพ่อ เรามาดีเอาอาหารมาให้ เฮ้ย!ๆๆ ยะ..อย่าฟาดเรานะ”

           ยิ่งเวลาผ่านไปพลายมหิฬามุขก็ยิ่งกำเริบก้าวร้าวไล่แตะควานบ้าง แตะเข่งอาหารบ้าง ทั้งส่ายสะบัดหัวฟาดงวงไปมาจนควานกับพนักงานไม่กล้าเข้าใกล้ “แกไปป้อนอาหารซิ” “แกนั่นแหละเข้าไป เมื่อกี้ข้าเอาเข่งไปวางเฉยๆ ยังวิ่งออกมาเทียบไม่ทันเลย” “เข้าไปป้อนนะคงโดนแตะตายแน่เลย”                          

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

.

           วันหนึ่งพลายมหิฬามุขตกมันก็ยิ่งแสดงอาการเกะกะเกเรอย่างน่ากลัว พังโรงช้างจนพินาส แม้แต่ช้างด้วยกันก็โดนทำร้ายไม่ละเว้น ควาญทั้งพระราชวังพากันมาระงับเหตุก็ไม่อาจหยุดยั้งความร้ายกาจได้ต้องพลีชีวิตไปหลายคน  “เอ้าๆๆ พวกเรามาทางนี้ มาช่วยกันหน่อยพลายมหิฬามุขตกมันใหญ่แล้ว” “เชือกเส้นแค่เนี่ยจะมัดมันได้หรือเนี่ย” “โอ้ย! ไม่น่าเข้าไปหน้ามันเลย โดนแตะซะน่วม”

            พระเจ้าพรหมทัตร้อนพระทัยกับเรื่องนี้มากยิ่งนัก เร่งให้อำมาตย์บัณฑิตไประงับเหตุร้ายและหาสาเหตุนั้นให้ได้ “ข้าพระพุทธเจ้าจะแก้ไขช้างพลายมหิฬามุขให้กลับมาดีได้เหมือนเดิมพระเจ้าค่ะ” “ดี เจ้ารีบไปดูเหตุการณ์เถอะแล้วรีบกลับมารายงานเราด้วย เราจะสังเกตการณ์รออยู่ที่นี่”

               

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

             อำมาตย์บัณฑิตจัดควาญฝีมือดีพร้อมช้างในกองทัพพาราณสีเข้าประกบตัวและใช้กำลังเข้าดันให้จนมุม ในที่สุดก็สามารถเข้าจับตัวคล้องพลายมหิฬามุขไว้ได้ “ฮึบ!..เฮ้ย..ๆ ช่วยกันจับไว้พวกเรา” “อ้าวเว้ย!..จับผิดเส้นรึเนี่ย ก็ว่าทำไมจับมาทางนี้คนเดียว” “ใครก็ได้เอามันไปเหอะ เกะกะเหลือเกิน” เมื่อพลายมหิฬามุขถูกจับได้ น่าแปลกใจยิ่งนักที่มันไม่ต่อสู้ขัดขืนเลย กลับยืนฟังคำพิพากษาเหมือนมหาโจรที่หมดอิสรภาพ

           “ทำไมพลายมหิฬามุขถึงเป็นอย่างนี้รึ เกิดเหตุใดขึ้นยังมีสิ่งใดที่เราไม่รู้ควานจงเล่ามาให้หมดอย่าปิดปัง” “แต่เดิมพ่อพลายมหิฬามุขก็ประพฤติตัวดีมีวินัยจนย้ายมาอยู่โรงช้างนี่แหละ อยู่ได้ไม่นานก็เริ่มดุร้ายขึ้นทุกวัน” “ท่านบัณฑิต ข้าว่าต้องเป็นเพราะโจรที่มันมาปลูกเพิงพักอาศัยอยู่แถวๆ โรงช้างแน่ๆ เลย” “อึม..อาจจะเป็นไปได้เจ้าเล่ามาอีกซิ ว่าพวกโจรนั้นมันเป็นไง ทำอะไรกันบ้าง”

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

               “แต่ละคืนพวกมันก็วางแผนแต่เรื่องเลวร้าย พฤติกรรมแต่ละอย่างก็โหดร้ายทารุณ พ่อพลายมหิฬามุขได้ยินเรื่องนี้ทุกวัน ก็คงนึกว่าเค้าสอนให้ทำเรื่องนี้กระมัง” “ฮะ ฮ่า ฮาๆ คืนนี้พวกเราไปปล้นบ้านเศรษฐีกันดีกว่า” “ได้เลย ฮิๆๆ จะขนให้เกลี้ยงเลย ใครมาขวางก็จะแทงด้วยหอกนี้เลย” “ดีๆ แกแทงเสร็จข้าจะเตะอีกให้น่วมไปเลย ฮ่าๆๆ”

           “คืนนี้ไอ้บ้านเศรษฐีนั้นเสร็จข้าแน่เลย หึ! ใครขวางทางข้าจะฆ่ามันให้หมด ดูซิจะมีใครกล้าเข้ามาสู้มหาโจรอย่างข้า หิๆๆ ฮ่าๆ” “ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซิจะเอามีดมาแทงควักไส้ออกมาให้หมดเลย”

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

              “ส่วนข้าเองจะใช้ลูกถีบมหาบันลัยสู้กับมันเอง ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซี..ข้าจะถีบให้กระจายหมดเลยทุกอย่าง เพราะเราคือเสือถีบ ถีบซ้าย..ถีบขวา..ถีบหน้า....ถีบหลัง ใครกล้าลองดีกับข้าโดนถีบแน่!...เท้าข้าเหม็นด้วย เหอะๆ” “งึย!..คืนนี้ข้าจะกวาดของมาให้หมด ใครมาขวางนะ ข้าจะฟาดด้วยกระบองนี่ให้และไปเลย สะใจโว้ย ฮ่าๆๆ ฮา ข้ามันให้ตายอย่าให้เหลือ!”

              เมื่ออำมาตย์รู้เรื่องราวทุกอย่างแล้วก็นำขึ้นกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต “ขอเดชะอันพลายมหิฬามุขดุร้ายผิดวิสัยเดิม ก็เพราะใกล้ชิดคนชั่วโจรโหดร้ายพวกนั้นพะยะค่ะ” “อืม..ถ้าเช่นนั้นนะเราควรแก้ไขอย่างไรดีท่านอำมาตย์” “เห็นควรให้ทรงโปรดจับพวกโจรพวกนั้นขังไว้แล้วให้นักบวชมาพักอยู่ใกล้โรงช้างแทน เมื่อนักบวชได้สนทนาธรรม พลายมหิฬามุขจะได้ฟังและซึมซับไป วิธีการนี้คงจะเปลี่ยนพฤติกรรมโหดร้ายของพลายมหิฬามุขได้พะยะค่ะ”

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

                  

              จากวันนั้นมา ที่พักของโจรก็ถูกรื้อทิ้งไปกลายเป็นธรรมศาลาของเหล่านักบวชแทนที่ พลายมหิฬามุขเมื่อได้ฟังเรื่องดีๆ สำเนียงสุภาพทุกวันจากพฤติกรรมเจ้าอารมณ์โหดร้ายก็เปลี่ยนเป็นอ่อนโยนประพฤติตัวดีมีวินัยเช่นเดิม “วันนี้เราจะสนทนาธรรมเรื่องอะไรกันดี” “อือ..เอาเรื่องนี้ซิ คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ดีกว่า” “อืม..ดี”

        เมื่อพลายมหิฬามุขกลับมาประพฤติตัวดีเหมือนเดิม อำมาตย์บัณฑิตก็ได้รับคำสรรเสริญพร้อมรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าพรหมทัต “เอ้า..พลายมหิฬามุขทานอ้อยนี่ซิ หวานนะ เออดี เดี่ยวนี้เรียบร้อยขึ้นนะเรา น่ารักเชียว อ้าวกินไป ควาญช้างดูแลพ่อพลายมหิฬามุขดีๆ นะ อย่าให้ใกล้สิ่งที่ชั่วร้ายอีก” “ขอรับข้าน้อยจะดูช้างอย่างดีเลย”

 

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

 

               “การอยู่ใกล้คนชั่วนี้ช่างเป็นภัยแก่ตัวจริงๆ ขอข้าพเจ้าอย่าพึงได้เห็น ได้ยินคนพาล อย่าพึงอยู่ร่วมกับคนพาล อย่าพึงทำ อย่าพึงใจ ปราศรัยกับคนพาลเป็นอันขาด”
 

ในพุทธกาลสมัย พลายมหิฬามุข กำเนิดเป็น ภิกษุผู้หลงผิด
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
อำมาตย์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล