ชาดก 500ชาติ

อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

ชาดก 500 ชาติ
อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

       ครั้งหนึ่งในพุทธกาลสมัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธ พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี สมัยนั้นพระพุทธศาสนาได้แผ่ขจรขจายเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา จึงมีชาวบ้านถวายตัวเป็นสาวก บวชเป็นพระภิกษุเป็นจำนวนมาก

       “ เราไปถวายตัวเป็นศิษย์พระบรมศาสดากันดีกว่า ค้นหาความสุขมานานแล้ว แต่ไม่เจอสักที ” “ ข้าก็เห็นเอาแต่กินกับนอน ยังสุขไม่พออีกเหรอ ” “ ข้าหมายถึงความสุขทางใจต่างหาก ข้าว่าเจ้าอย่ามัวแต่พูดอยู่เลย รีบออกเดินทางไปพระเชตะวันกันดีกว่า เดี๋ยวจะสายเอา ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

 
        ในกาลนั้นยังมีพระภิกษุชาวชนบทรูปหนึ่ง เดินทางด้วยความตั้งใจว่าจะทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เมื่อมาถึงท่าน้ำ ชายฝั่งแม่น้ำ
อัจจิรวดีก็ได้พบกับนายติตถวานิก ซึ่งเป็นคนแจวเรือข้ามฟาก นายติตถวานิกผู้นี้ เขาเป็นคนโง่ไม่รู้อะไร ไม่รู้แม้แต่คุณของพระรัตนตรัย
แห่งองค์พระศาสดาเป็นต้น ไม่รู้คุณของบุคคลอื่น ๆ ด้วยเป็นคนดุร้ายหยาบคาย หุนหันพลันแล่น

       “ อุบาสก อาตมาประสงค์จักข้ามไปฟากโน้น ขอโยมช่วยพายเรือพาอาตมาไปเถิด ” “ โอ้ย ตอนนี้เป็นเวลาพักผ่อนของข้าแล้ว ข้าคงพาท่านไปไม่ได้หรอก ขอให้ท่านรออยู่บนฝั่งก่อนก็แล้วกัน ” “ ดูก่อนอุบาสก ท่านจะให้อาตมาอยู่ ณ ที่แห่งใดเล่า ขอจงรับอาตมาไปส่งด้วยเถิดนะ ”

        “ เอ๊ะ ท่านนี่พูดไม่รู้เรื่องหรืออย่างไร ก็มันเป็นเวลาพักผ่อนของข้า เหนื่อยมาทั้งวันแล้วนะเนี่ย อยากไปก็รอก่อนสิ ” “ ดูก่อนเถิดอุบาสกผู้เจริญ อาตมานี้มีความประสงค์จะอุปัฏฐากพระบรมศาสดาในวันนี้ ช่วยไปส่งอาตมาด้วยเถอะนะ ” “ นั้นมันก็เรื่องของท่าน ข้าไม่สนหรอก ” “ ท่านอุบาสกผู้เจริญ หากท่านไม่ส่งอาตมาข้ามฝากไป ไม่เช่นนั้นอาตมาคงไปรับการอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไม่ทันแน่ ๆ ได้โปรดเถิดนะท่าน ”

      นายติตถวานิกเมื่อได้ยินคำของภิกษุร้องขอ ก็รู้สึกหงุดหงิดขึ้นในใจบันดาลความโกรธเข้า จึงคิดแกล้งหลอกภิกษุให้เสียเวลา โดยไม่เคารพยำเกรงต่อเพศสมณะของภิกษุเลยแม้แต่น้อย “ อ่ะ อ่ะ ก็ได้ๆ ในเมื่อท่านขอร้องข้าถึงขนาดนี้แล้ว ข้าจะจัดให้ เดี๋ยวจะหาว่าข้าแล้งน้ำใจ มา ๆ มา ตามข้ามาเดี๋ยวข้าจะพาไปส่ง ” “ อาตมาต้องขอขอบใจอุบาสกมากนะ ” (...อยากข้ามนักใช่ไหม เดี๋ยวก็ได้รู้) “ นั่งดี ๆ ละท่าน เดี๋ยวตกน้ำตกท่าไปจะหาว่าข้าไม่เตือนไม่ได้นะ ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

         เมื่อภิกษุผู้นั้นลงเรือ แทนที่นายนายติตถวานิกจะพายเรือข้ามไปส่งแต่กลับพายเรือไปข้างล่าง ทันใดนั้นเองเขาก็แกล้งทำให้เรือส่าย ทำเรือโคลงไปเครงมา ทำให้บาตรและจีวรของภิกษุท่านนั้นเปียกน้ำไปถึงฝั่งโดยลำบาก “ อุบาสก บาตรและจีวรของอาตมาชุ่มไปด้วยน้ำหมดเลย " “ ก็เตือนแล้วว่านั่งให้ดี ๆ เป็นไงละท่าน ฮะ ฮะ ฮ่า อยากให้เรามาส่งดีนัก ดี สมน้ำหน้า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” “ แต่ถึงอย่างไรก็ขอบใจที่ส่งเราจนถึงฝั่งนะท่าน อาตมาจะรีบไปละนะ ” “ ไม่เป็นไรหรอกท่าน ยังไงก็ไปไม่ทันหรอก ฮ่า ฮ่า ฮ่า ” ต่อมา เมื่อภิกษุมาถึงยังพระเชตะวันมหาวิหาร ก็ไม่ทันได้โอกาสอุปัฏฐากจากองค์ศาสดาดังที่ตั้งใจไว้ “ เฮ้อ มาไม่ทันอุปัฏฐากเสียแล้วหรือเรา ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        เช้าวันรุ่งขึ้นภิกษุจึงไปเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อขออุปัฏฐาก พระองค์ตรัสถามว่า “ เธอมาถึงเมื่อไหร่หรือ ” “ เมื่อวานนี้พระเจ้าข้า ” “ แล้วเหตุไฉนเล่าจึงมาที่อุปัฏฐากในวันนี้ ” “ ข้าแต่องค์พระศาสดา เดิมทีก็ตั้งใจที่จะอุปัฏฐากตั้งแต่เมื่อวานพระเจ้าค่ะ แต่ว่า อืม ” เมื่อภิกษุกราบทูลเล่าเหตุการณ์แด่องค์พระศาสดาทรงทราบ เมื่อทรงสดับเรื่องราวทั้งหมดแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่ภิกษุผู้นั้นว่า “ ดูก่อนภิกษุ มิใช่เพียงแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน นายนายติตถวานิกผู้นี้ ก็ดุร้าย หยาบคายเหมือนกัน อนึ่งเขาไม่ได้ทำให้เธอลำบากแต่ในชาติปัจจุบันนี้ แม้ในชาติก่อนก็ได้ทำให้บัณฑิตลำบากมาแล้วเหมือนกัน ” พระพุทธองค์จึงทรงนำเอาเรื่องอาวาริยชาดกมาสาทกให้ฟัง ดังนี้

        ในอดีตกาล ณ นครพาราณสี ครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่นั้น มีพระโพธิสัตว์ซึ่งกำเนิดในสกุลพราหมณ์ บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน จึงคิดอยากจะเดินทางออกไปจาริกโปรดญาติโยม จึงเข้าไปภิกขาจารในเมืองพาราณสี

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        “ เดินทางมาตั้งไกล ช่างเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน เอ้ ที่นี่สงสัยจะเป็นเมืองพาราณสีแน่ ๆ เลย ” พระฤาษีได้พร่ำสอนชาวเมืองจนเป็นที่เคารพอย่างยิ่ง “ พระฤาษีผู้นี้นั่งบำเพ็ญอย่างสงบช่างน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ” “ ใช่ พวกเราเข้าไปกราบนมัสการท่านกันเถิด ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

         รุ่งขึ้นพระฤาษีจึงเข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา พระเจ้าพรหมทัตเห็นท่านมีกิริยาสำรวมก็บังเกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสในทันที จึงทรงนิมนต์พระฤาษีให้จำพรรษาในสวนหลวงเพื่อถวายทาน “ ข้าแต่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าขอนิมนต์ท่านไปจำพรรษาในอุทยานของเราเถิด ” “ ขอให้จำเริญเถิดมหาบพิตร ”

       พระราชาแห่งพาราณสีเสด็จไปฟังธรรมวันละครั้ง พระฤาษีมักจะให้โอวาทแด่พระองค์เป็นประจำว่า “ มหาบพิตรผู้เจริญ พระองค์ทรงเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระราชานั้น มิควรมีอคติ ๔ อย่างด้วยกัน พระองค์ควรเป็นผู้ไม่ประมาท สมบูรณ์ด้วยขันติ มีเมตตากรุณาครองราชย์โดยธรรม ที่สำคัญพระองค์อย่าทรงโกรธเป็นอันขาด ไม่ว่าจะในที่ใด ๆ จะเป็นในบ้าน ในป่า หรือที่ลุ่มที่ดอนก็ตาม หากทำได้พระองค์ก็จะทรงเป็นพระราชาอันเป็นที่รักของเหล่าทวยราชตลอดไป ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        “ สาธุ ” พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่ง พระองค์จึงถวายหมู่บ้านชั้นดีที่เก็บเงินส่วยภาษีได้ปีละ ๑ แสนกหาปนะให้แด่พระฤาษี ๑ ตำบล แต่ฤาษีก็หาได้รับไม่เพราะถือเป็นกิเลส เวลาผ่านไปพระฤาษีออกภิกขาจารอยู่ในเมืองพาราณสีและจำพรรษาอยู่ในอุทยานนาน ๑๒ ปี

       ต่อมาวันหนึ่งพระฤาษีจึงคิดจะภิกขาจารออกเดินทางไปโปรดญาติโยมยังสถานที่อื่นบ้าง “ นี่เราออกมาโปรดญาติโยมในเมืองพาราณสีนานถึง ๑๒ ปี แล้วหรือนี่ เห็นทีต้องเดินทางออกไปโปรดญาติโยมที่อื่นบ้างแล้วหล่ะ ” เมื่อคิดได้ดังนั้น พระฤาษีออกเดินทางโดยไม่ได้เข้าเฝ้าทูลลาพระเจ้าพรหมทัตด้วยตนเอง เพียงฝากกับคนเฝ้าสวนหลวงไปกราบทูลให้ทรงทราบ

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        “ บัดนี้ อาตมาจะออกเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่น อาตมาขอฝากโยมกราบทูลลาพระราชา และฝากกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษที่มิได้กราบทูลด้วยตนเองนะโยมนะ ” “ ได้ขอรับ มิต้องเป็นห่วง ผมจะกราบทูลให้พระคุณเจ้าเอง ขอให้พระคุณเจ้าเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิดขอรับ ” “ ขอบใจท่านมาก อาตมาไปละนะ ”

       ขณะเดียวกัน ณ ท่าเรือข้ามฝากริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีนายแจวเรือนายหนึ่งนามว่า อาวาริปิตา นายแจวเรืออาวาริผู้นี้ เป็นคนโง่เขลา มีนิสัยดุร้ายชอบใช้กำลัง นิสัยไม่ดีอีกอย่างหนึ่งของนายอาวาริปิตาก็คือ มักไปส่งคนข้ามฝาก แล้วค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาเงินตามใจชอบแต่ภายหลัง เมื่อลูกค้าไม่ให้ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะชกต่อย และขู่เอาเงินค่าจ้างจากผู้โดยสารอยู่เป็นประจำ “ เอาเจ้านะ ถึงฝั่งแล้ว เอาเงินมาเลย ๒๐๐ จ่ายมาซะดี ๆ ” “ เฮ้ย พายเรือมาส่งแค่นี้ คิดตั้ง ๒๐๐ เลยหรือท่าน อย่างนี้มันโกงกันนี่น่า ” “ เอ้อ มากง มาโกงอะไรกันนี่ ก็ก่อนขึ้นเรือเจ้าไม่ได้ถามข้านี่นา ว่าค่าจ้างเท่าไหร่ ช่วยไม่ได้ ไม่อยากมีเรื่องก็จ่ายข้ามาสะดี ๆ ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        “ ไม่ ไม่ ไม่ ข้าไม่จ่าย เจ้ามันขี้โกง โก่งราคานี่นา ” “ ก็ได้ ไม่จ่ายใช่ไหม เดี๋ยวเจอไม้พายเข้าไป รับรองต้องจ่ายแน่ ๆ ฮะ ฮ่า ไม่ให้ใช่ไหมนี่แน่ะ ๆ ” “ โอ้ย ๆ พอแล้ว อย่าทำอะไรข้าเลย เจ้าอยากได้เงินก็เอาไปเถิด โอ้ย ข้ากลัวแล้ว ” “ ให้ดี ๆ ตั้งแต่แรก ก็ไม่ต้องเจ็บตัวแบบนี้สมน้ำหน้า

       เมื่อพระฤาษีเดินทางมาถึงท่าน้ำเรือข้ามฟาก ก็ได้พบกับนายอาวาริปิตา จึงขอใช้บริการเรือจ้างของเขา “ โยม อาตมาขอข้ามไปฟากโน้นหน่อยจะได้หรือไม่ ” “ ได้น่า ได้อยู่ท่านฤาษี ว่าแต่ท่านจะให้ค่าจ้างเรือข้าเท่าไหร่ละ ” “ โยม อาตมาจะให้ของดีที่ทำให้ร่ำรวยทรัพย์แก่ท่าน ” (เฮ้ย ของดีที่จะทำให้ร่ำรวยทรัพย์ นี่มันอะไรกันว่ะ สงสัยจะเป็นของวิเศษแน่ ๆ เลย รวยแล้วเรา) “ ก็ได้ท่าน ก็ได้ท่าน เดี๋ยวข้าจะไปส่ง นี่เห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงศีลหรอกนะ ไม่ได้เห็นแก่ของดงของดีอะไรเลยจริง ๆ ไม่ได้โกหกเลยนะเนี่ย ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

        นายแจวเรืออาวาริปิตา พาพระฤาษีข้ามฟากไป พอถึงฝั่งที่หมายแล้ว จึงเอ่ยทวงถามของดีที่จะทำให้รวยทรัพย์ที่พระฤาษีใช้เป็นค่าจ้าง ซึ่งแท้ที่จริงของดีที่ว่าก็คือ ธรรมโอวาทนั่นเอง “ ท่านฤาษี ข้าพาท่านมาถึงฝั่งแล้ว ไหนล่ะของดีที่ท่านจะให้ข้า ” “ โยมมักไปส่งคนข้ามฝาก แล้วค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาตามใจชอบแต่ภายหลังหากแต่โยมลองขอค่าจ้างกับคนที่ยังไม่ข้ามฟากไปฝั่งโน้นก่อน เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ข้ามฟากต่างกัน และอีกประการหนึ่งนะโยม ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ”

        “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” “ โยม นอกจากธรรมโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่นจะให้หรอกนะ ” “ เมื่อท่านไม่มีเงินแล้ว มาลงเรือข้าทำไม หะ ถ้าไม่มีเงินละก็ท่านเจ็บตัวแน่ ” ด้วยความโกรธ นายอาวาริปิตาผลักพระฤาษีล้มลง แล้วลงไปนั่งทับอกพร้อมทั้งตบปากพระฤาษีอย่างดุร้าย ไม่มีความยำเกรงต่อเพศสมณะแต่อย่างใด “ ไม่จ่ายใช่ไหม นี่แน่ะ ๆ ตบฤาษีโว้ย ” “ อย่าทำอาตมาเลย โยม อย่า ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

      ในขณะนั้นเองภรรยาของเขาซึ่งกำลังท้องแก่ได้ถืออาหารมาส่งให้นายอาวาริปิตา พลันเมื่อเห็นพระฤาษีนางก็จำได้จึงร้องห้ามบอกสามีของตน (เอ๊ะ นั่นท่านฤาษีที่ประจำอยู่ที่ราชสำนักนี่) “ หยุดนะพี่ อย่าตีท่านฤาษีนะ ” ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งความโกรธของเขาได้ ด้วยแรงโทสะ นายอาวาริปิตาจึงลุกขึ้นตบภรรยาอย่างแรง

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

       ถาดข้าวแตกกระจาย พร้อมกับเสียงร้องอย่างเจ็บปวดของภรรยา ที่ร่างเซถลาล้มลงกระแทกพื้นดินจนลูกน้อยในท้องทะลักออกมาทันที “ โอ้ย โอ้ย ลูกแม่ โอ้ย โอ้ย ” ขณะเดียวกันชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้น ผ่านทางมาเห็น จึงช่วยกันจับตัวนายอาวาริปิตามัดเขาไว้ เพราะนึกว่าเขาเป็นโจรฆ่าคนตาย “ เฮ้ย ๆ พวกเราช่วยกันจับไอ้ตัวโจร ๕๐๐ เร็ว ” “ คนอะไรใจดำอำมหิต ฆ่าได้แม้กระทั่งหญิงท้องแก่ ช่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนาจริงๆ ช่วยกันจับไปส่งพระเจ้าพรหมทัตให้ลงโทษกันเร็ว ๆ ” “ เสร็จข้าล่ะ เจ้าฆาตกรเอ๋ย คราวนี้ล่ะแก ติดคุกหัวโตแน่แก ” “ เฮ้ย ปล่อยข้านะ เฮ้ย บอกให้ปล่อย ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

       “ ข้าแต่พระราชา ข้าพเจ้าคุมตัวฆาตกรใจโฉด มาให้พระองค์ทรงวินิจฉัยโทษ มันผู้นี้ต้องคดีฆ่าหญิงท้องแกตายพระเจ้าค่ะ ” “ หา เจ้าช่างใจโฉดโหดเหี้ยมจริง ทหารเอาตัวมันไปคุมขังตลอดชีวิต ” “ พะยะค่ะ ” “ หม่อมฉันผิดไปแล้ว ประฝ  ทานอภัยโทษให้หม่อมฉันเถิด ” “ มานี่ไปกับข้า จะดิ้นไปทำไม ขังลืมสะเลย ไม่ต้องให้เห็นเดือนเห็นตะวันสะเลยนี่ ” “ ปล่อยข้า ปล่อยข้า ข้าไม่ผิดนะโว้ย ข้าไม่ผิด ปล่อย ”

ชาดก 500 ชาติ อาวาริยชาดก-ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล

       พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานอาวาริยชาดกจบแล้ว ได้ตรัสให้โอวาทภิกษุว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะให้โอวาท ควรให้แก่คนที่เหมาะสม ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังฤาษีให้โอวาทแก่พระราชาได้อยู่บ้านชั้นดี แต่ให้โอวาทแก่คนแจวเรือจ้าง กลับถูกตบปากฉันนั้น ”


ในพุทธกาลต่อมา
นายแจวเรืออาวาริยปิตา กำเนิดเป็น คนแจวเรือติตถวานิก
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล