ชาดก 500ชาติ

อรรถกถาสันธิเภท ชาดกว่าด้วยโทษที่เชื่อถือคำส่อเสียด

อรรถกถา สันธิเภทชาดก

ว่าด้วย โทษที่เชื่อถือคำส่อเสียด

 

               ณ พระวิหารเชตวันสถานที่ ที่พระศาสดาทรงประทับอยู่ ในวันหนึ่งได้ตรัสธรรมเทศนา โดยมีใจความว่า ในสมัยหนึ่ง  มีภิกษุรูปหนึ่งนำความส่อเสียดใส่ร้ายป้ายสีมาสู่คณะ จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้ามาแล้วตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนำความส่อเสียดใส่ร้ายป้ายสีเข้าไปให้แก่พวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันจริงหรือ?" "จริงพระเจ้าข้า" จากนั้นพระองค์ได้ติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า


               "ขึ้นชื่อว่าวาจาส่อเสียดคมกล้า ประดุจประหารด้วยศาตรา ถึงความคุ้นเคยที่เหนียวแน่นมั่นคง ก็แตกสลายไปได้โดยรวดเร็ว เพราะวาจาส่อเสียดนั้น  ชนผู้เชื่อถือวาจาส่อเสียดนั้นแล้วทำลายไมตรีของตนเสีย ย่อมเป็นเช่นกับราชสีห์และโค" แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาเล่ามีใจความดังนี้


               ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นโอรส เมื่อเติบใหญ่ได้เล่าเรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา เมื่อจบการศึกษาเรียบร้อยแล้ว จึงได้เดินทางกลับมายังเมืองของตน เมื่อเวลาผ่านไปบิดาสวรรคต พระองค์จึงได้ขึ้นครองพระราชสมบัติต่อจากพ่อของตน


               ถัดจากเมืองพาราณสีไปไม่ไกล มีชายทุ่งซึ่งติดกับป่าขนาดใหญ่ ในวันหนึ่งคนเลี้ยงโคได้ลืมต้อนแม่ควายที่กำลังตั้งครรภ์ไว้ในป่า ซึ่งในบริเวณนั้นมีแม่สิงโตที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ ทั้งคู่ได้ทำความรู้จักกันจนกระทั่ง คุ้นเคย 


               เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งคู่ได้ตกลูกในช่วงเวลาใกล้กัน ส่งผลให้ลูกควายและสิงโตเป็นเพื่อนกันเรื่อยมา 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png

 


               ในเช้าวันที่อากาศสดใส มีพรานป่าได้บังเอิญเห็นสัตว์ทั้งสองเข้า จึงอุทานด้วยความประหลาดใจ "ตั้งแต่เกิดมาข้าไม่เคยเห็น ควายป่ากับสิงโตเป็นเพื่อนกันเลย น่ามหัศจรรย์จริงๆ" 

 

               เมื่อออกจากป่า จึงนำสัตวที่ล่ามาได้ออกเดินทางไปยังเมืองพาราณสี ถวายแด่พระราชา  "กระหม่อมพึ่งออกมาจากป่า วันนี้นำเนื้อทรายมาถวายแด่พระองค์" "ขอบใจมาก แล้วการเข้าป่าครั้งนี้มีเรื่องแปลกประหลาดอะไรบ้างไหม" 

 

          "สิงโตกับควายป่าเป็นเพื่อนสนิทกันพะย่ะข้า แล้วทั้งคู่ยังชอบออกเดินทางไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างกับปลาท่องโก๋" เมื่อนายพรานพูดจบ พระราชาหัวเราะออกมาอย่างอารมณ์ดี "น่าพิศวงอะไรเช่นนี้ ถ้าไม่ใช่ออกจากปากท่านข้าคงจะไม่เชื่อแน่" จากนั้นทั้งคู่ต่างพากันสนทนาเรื่องต่างๆอย่างสนุกสนาน จนกระทั่งวกเข้ามาเรื่องเดิม "เอ่อท่าน ถ้ามีสัตว์ตัวที่สามเพิ่มเข้ามา อย่าลืมมาบอกเราด้วยนะ" พรานป่าแสดงท่าทีงงงวยเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ถามอะไร ก่อนจะรับคำโดยดี แล้วเดินทางออกจากพระราชวังไป

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png


               เมื่อเวลาผ่านไป พรานนั้นก็ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ จนกระทั่งได้พบเข้ากับสิงโตแล้วควายป่าตัวเดิม แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไปคือ  มีสุนัขจิ้งจอกเพิ่มเข้ามาด้วย โดยทำหน้าที่หาอาหารให้สัตว์ทั้งสอง นายพรานเห็นดังนั้น จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชา

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png

 


          "พระองค์สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วพะย่ะข้า" "คือตัวอะไร?" พระราชาถามกลับอย่างใคร่รู้ "สุนัขจิ้งจอกพระเจ้าข้า" "สุนัขจิ้งจอกอย่างนั้นหรือ! แย่แล้ว!" พระราชาอุทาน "ทำไมพระองค์ถึงแสดงท่าทีเช่นนั้นล่ะ" พรานป่าเอ่ยถามอย่างอยากรู้ "เจ้าจิ้งจอกจะยุยงให้สัตว์ทั้งสองแตกกัน แล้วสู้กันจนตายนะสิ " พรานได้ยินดังนั้นก็ตกใจ "ท่านรู้ไหมว่าอยู่ที่ใด?" "รู้พะย่ะข้า" "ถ้าอย่างนั้นพวกเรารีบไปกันเถิด ถ้าชักช้ากว่านี้อาจจะตายก่อน" ทั้งสองได้ขึ้นรถม้า พร้อมตรงไปยังป่าทันที

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png

 

                  เมื่อพระราชาเดินทางไปถึงจุดที่นายพรานเป็นคนบอกแล้ว ก็พบว่า สัตว์ทั้งสองได้ถึงแก่กรรมเรียบร้อย โดยที่มีสุนัขจิ้งจอกกำลังยืนกินเนื้ออย่างเอร็ดอร่อย เมื่อพระองค์ได้เห็นเช่นนั้น จึงเกิดความสลดใจทันที ก่อนจะค่อยเอ่ยขึ้นช้าๆ  "สุนัขจิ้งจอกยุยงทำลายความสนิทสนมของทั้งสองจนกระทั่งสู้กันจนตาย "

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.png

 


              "เเสดงให้เห็นว่า ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของคนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม ผู้นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้ "  ครั้นตรัสเสร็จก็รับสั่งให้เก็บเอาหนัง เล็บและเขี้ยวของไกรสรราชสีห์ แล้วเสด็จไปยังพระนครทีเดียว

               

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
               พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น 
เราตถาคต ฉะนี้แล.

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล