คํานํา
การศึกษาที่สมบูรณ์ คือ กระบวนการที่ทุ่มเทเอาใจใส่ฝึกฝนอบรมผู้เรียน ให้มีความพยายามป้องกันกําจัดทุกข์ให้หมดสิ้นไปอย่างถาวรด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้จบการศึกษาในแต่ละระดับเป็นบัณฑิตผู้มีนิสัยมิตรแท้ พร้อมจะบําเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้สมบูรณ์ไปตลอดชีวิต สมกับระดับการศึกษาของตน
การฝึกฝนอบรมให้ผู้เรียนมีความเป็นบัณฑิตผู้มีนิสัยมิตรแท้เช่นนี้ได้ จําเป็นต้องฝึกฝนอบรมผู้เรียนด้วยการทํากิจกรรมชีวิตจริงให้ครบทั้ง ๖ มิติคือมิติศีลธรรม ดํารงชีวิต สังคม วิชาการ อาชีพและนันทนาการ จะขาดมิติใดมิติหนึ่งมิได้ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญทั้งกฎเกณฑ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยผ่าน ๘ สาระการเรียนรู้ และกฎแห่งกรรม โดยผ่านมรรคมีองค์ ๘ ในพระพุทธศาสนา
แม้การทํากิจกรรมทั้ง ๖ มิตินี้ จําเป็นต้องทําเป็นกิจวัตรใน ๕ ห้องชีวิตทั้งที่บ้าน วัด และโรงเรียนตลอดจนชุมชน แต่ก็มิได้เป็นการเพิ่มงานจนเกินไปแก่ครูและผู้เรียน ตรงกันข้ามกลับยิ่งทําให้ผู้เรียนเอาใจใส่การเรียนรู้ยิ่งขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ของ ๘ สาระการเรียนรู้ที่ตนเรียนว่า นําไปใช้งานได้จริงทุกแห่งหนคุณครูเองก็จิตใจเบิกบาน เพราะสอนสั่งศิษย์ไปก็เป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วยในตัว ศิษย์เองก็อยากใกล้ชิดครู เพราะรู้สึกอบอุ่นไอธรรมจากครูเมื่อได้เข้าใกล้
ลักษณะการศึกษาที่ทําให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการเต็มที่ มีศีลธรรมประจําใจมั่นคง กล้าต่อสู้ประหัตประหารกิเลสในใจตนให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร โดยไม่ประหวั่นพรั่นพรึงและพร้อมจะเป็นบัณฑิตมิตรแท้ยืนเคียงข้างมหาชน เพื่อสร้างสันติสุขให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาตลอดไปเช่นนี้ จะบังเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจเป็นสามัคคีธรรมทั้งจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง พระภิกษุ ครู ผู้บริหารการศึกษาและชุมชน ซึ่งไม่น่าจะยากเกินไป หากแต่ละท่านเพียงคิดสักนิดว่า ที่ต้องทําเช่นนี้ก็เพื่อประโยชน์สุขในการสร้างบุญบารมีของตนเองและลูกหลานทั้งแผ่นดินตลอดกาลนาน
สําหรับกิจกรรมชีวิตจริงทั้ง ๖ มิติที่ปรากฏในแม่บทการพัฒนานิสัยบัณฑิตมิตรแท้เล่มนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น หากได้ลงมือปฏิบัติตามสักระยะหนึ่ง ก็จะเห็นช่องทางการพัฒนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้เอง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของทุกท่านและเยาวชนลูกหลานของเราเอง
สารบัญ
การพัฒนานิสัยบัณฑิตมิตรแท้...........................................................................๙
หลักคิดการจัดกิจกรรมปลูกฝังนิสัยบัณฑิต ๕........................................................๒๗
คุณธรรมพื้นฐาน ๓..........................................................................................๓๕
หลักการจัดกิจกรรม ๖ มิติ เพื่อพัฒนานิสัยบัณฑิต ๕...............................................๔๙
กิจกรรมมิติศีลธรรม.........................................................................................๕๓
กิจกรรมมิติวิชาการ..........................................................................................๖๙
กิจกรรมมิติสังคม.............................................................................................๘๗
กิจกรรมมิติดํารงชีพ..........................................................................................๙๗
กิจกรรมมิติอาชีพ.............................................................................................๑๑๗
กิจกรรมมิตินันทนาการ......................................................................................๑๒๗
ลักษณะการศึกษาที่สมบูรณ์...............................................................................๑๓๙
การบริหารการจัดกิจรรม ๖ มิติ............................................................................๑๔๕
สรุป..............................................................................................................๑๔๙