หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf คลังหนังสือธรรมะ วารสาร นิตยสาร รายเดือน แจกฟรี . pdf อีบุค (ebooks)

คลังหนังสือธรรมะ วารสาร นิตยสาร รายเดือน แจกฟรี .pdf อีบุค (ebooks)

หนังสือแจกฟรี สามารถเปิดอ่านได้จาก เครื่องอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) ทั่วไป เช่น ipad, ipod, iphone และอุปกรณ์อื่นๆ เปิดอ่านได้ทันทีจากที่ไหนก็ได้

ชื่อหนังสือ ธรรมธารา ปีที่1 ฉบับที่1 หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf

ธรรมธารา ปีที่1 ฉบับที่1

การศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนาระดับสูง แบ่งได้เป็น 2 แนวใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาวิจัยเชิงคัมภีร์ (Documentary Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าโดย
อาศัยแหล่งข้อมูลสำคัญคือ คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
ปกรณ์วิเสส รวมถึงคัมภีร์พระพุทธศาสนาของนิกายอื่น ๆ และบันทึก
ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field Research) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสังคมวิทยา
โดยศึกษาความสัมพันธ์ของคำสอน หลักปฏิบัติต่าง ๆ กับการเปลี่ยนแปลงทาง
ทัศนคติ พฤติกรรมของบุคคลหรือสังคมที่เกี่ยวข้อง มีการออกแบบสอบถาม
สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย นำผลมาวิเคราะห์ในทางสถิติ

การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยก่อน จะเป็นการศึกษาตามจารีต
เป็นหลัก คือ ศึกษาทำความเข้าใจคำสอนในคัมภีร์ เพื่อนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลา
กิเลส มุ่งสู่หนทางพระนิพพาน
ส่วนการศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนาสมัยใหม่นั้น เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่
ผ่านมาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยนักวิชาการสมัยใหม่ทั้งพระภิกษุและคฤหัสถ์ ที่ได้
รับการศึกษาระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่จากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แนวโน้มส่วน
ใหญ่จะออกมาเป็นการวิจัยภาคสนาม ผลงานการศึกษาวิจัยเชิงคัมภีร์มีค่อนข้างน้อย
และมักอาศัยหลักฐานจากคัมภีร์บาลีเป็นหลักเท่านั้น มีน้อยมากที่จะใช้หลักฐานจาก
คัมภีร์พุทธในภาษาจีน ทิเบต สันสกฤต และภาษาอื่น ๆ ประกอบ ทั้งนี้อาจเป็นด้วย
อุปสรรคทางด้านภาษา
ระเบียบวิธีวิจัยพระพุทธศาสนาสมัยใหม่นั้นบุกเบิกขึ้นโดยนักวิชาการ
ตะวันตกเมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับ
ประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะในยุคอาณานิคมที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ศรีลังกา
และพม่า ซึ่งต่อมานักวิชาการตะวันออกก็ได้ไปศึกษาเรียนรู้วิธีการศึกษาวิจัยแบบนี้
จากประเทศตะวันตก

เริ่มจากญี่ปุ่นมีการส่งนักวิชาการไปศึกษาในยุโรปตั้งแต่ประมาณ 120 ปีก่อน
และได้กลับมาเปิดสำนักวิจัยพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยโตเกียว สร้างนักวิชาการ
รุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ มีผลงานการวิจัยที่โดดเด่นจำนวนมาก นักวิชาการจากไต้หวัน
เกาหลี จีน ส่วนใหญ่ก็มาศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
อินเดีย ศรีลังกา ศึกษาจากยุโรป เพราะเป็นอาณานิคม ส่วนนักวิชาการจาก
ไทยส่วนใหญ่จะไปศึกษาจากอินเดีย ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
โดยนักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี จะมีข้อได้เปรียบ คือ ความ
สามารถในการอ่านคัมภีร์พุทธที่เป็นภาษาจีนโบราณ นักวิชาการอินเดีย ศรีลังกาจะมี
ข้อได้เปรียบอีกแบบหนึ่ง คือ ภาษาแม่ของตนมีรากที่มาเดียวกันกับภาษาบาลีและ

ภาษาสันสกฤต ทำให้เรียนรู้ได้ง่าย ส่วนนักวิชาการชาวไทยและประเทศเถรวาทแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีพื้นฐานการคิดวิเคราะห์หลักธรรมที่ดี หากทุ่มเทศึกษา
จริงจังก็จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการค้นคว้าวิจัย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการ
ศึกษาพระพุทธศาสนาตามจารีตแบบเถรวาท (วิภัชชวาทิน) ซึ่งมีการคิดวิเคราะห์
จำแนกธรรมเป็นปกติอยู่แล้ว ทำให้ซึมซับวิธีการเหล่านี้เข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ
นักวิชาการพุทธชาวตะวันตกนั้นมีจำนวนน้อย เพราะประเทศเหล่านี้ประชากร
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอื่น ผู้ที่สนใจมาศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนาจึงมีจำนวนไม่มาก
แต่ผู้ที่มาศึกษาก็มักเอาจริง ทุ่มเทค้นคว้าตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จึงมีทักษะภาษาที่ดี
รู้ภาษาคัมภีร์หลายภาษา เช่น บาลี สันสกฤต จีน ทิเบต คานธารี เป็นต้น และมี
ทักษะการวิจัยที่ดี ทำให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง
ในสหรัฐอเมริกายุคสงครามเวียดนาม รัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนมหาวิทยาลัย
หลายแห่งในการศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนา เพื่อจะนำองค์ความรู้มาใช้ในการ
ศึกสงคราม และเพื่อเอาชนะใจประชาชนในเอเชีย เพราะรู้ว่าพระพุทธศาสนาเป็น
รากฐานทางวัฒนธรรม ประเพณี ความคิดความเชื่อที่สำคัญยิ่งของชาวเอเชียโดย
ทั่วไป การวิจัยส่วนใหญ่จึงเป็นการวิจัยภาคสนามเชิงสังคมวิทยา
สหรัฐอเมริกาจึงเด่นในด้านการวิจัยภาคสนาม ส่วนยุโรปเด่นในด้านการวิจัยเชิง
คัมภีร์
ประเทศญี่ปุ่นมีจุดเด่นคือ ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและมี

มาตรฐานการศึกษาสูง ปัจจุบันญี่ปุ่นมีนักวิชาการพระพุทธศาสนาจำนวนมากที่สุด
ในโลก มีผู้ที่ศึกษาถึงระดับปริญญาเอกทางพระพุทธศาสนากว่า 3,000 คน มีสมาคม
วิชาการทางพระพุทธศาสนานับสิบแห่ง วารสารทางวิชาการพุทธบางฉบับต้องจำกัด
เนื้อที่ให้นักวิจัยแต่ละคนเขียนได้ไม่เกิน 3 หน้า เพราะมีผู้ส่งบทความวิชาการปีละกว่า
300 คน แม้นักวิชาการญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเชี่ยวชาญพุทธมหายานและวัชรยาน
แต่ผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเถรวาทในญี่ปุ่นก็มีจำนวนไม่น้อย ถึงขนาดสามารถ

ตั้งเป็นสมาคมวิชาการพุทธเถรวาทได้ มีการออกวารสารวิชาการพุทธเถรวาทเป็น
ประจำทุกปี และสามารถแปลพระไตรปิฎกบาลีทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่นเสร็จบริบูรณ์
และตีพิมพ์ออกเผยแพร่ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่ประเทศไทยจะแปล
พระไตรปิฎกบาลีออกมาเป็นภาษาไทยเสียอีก



หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf
หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf

ชื่อหนังสือ ธรรมธารา ปีที่1 ฉบับที่1
ลำดับเรื่อง : สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย   จำนวนหน้า 329 หน้า

ขนาดไฟล์ 10MB

ช่องทางที่ 2 ขนาดไฟล์ 10MB
คุณภาพของสื่อ :
คะแนนปัจจุบัน : 2
บริการสั่งออนไลน์
  • หนังสือใช้โปรแกรม Acrobat อ่าน ถ้าท่านยังไม่มีโหลดได้ที่นี่
    แจ้งเสีย


  • สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

     ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล