นิทานอีสป เรื่อง แพะดื้อและเด็กเลี้ยงแพะ
แพะตัวหนึ่งเดินหลงทางออกไปจากฝูง ก็ไปยืมเล็มหญ้ากินอยู่ที่ก้อนหินสูงก้อนหนึ่ง เด็กเลี้ยงแพะตะโกนเรียกสุดความสามารถที่จะนำมันกลับเข้ามาในฝูงแพะตามเดิม แต่ก็ไร้ผล
ในที่สุดเด็กเลี้ยงแพะก็หมดความอดทน หยิบก้อนหินขึ้นมาก้อนหนึ่ง แล้วเขวี้ยงไปที่แพะตัวนั้น ปรากฎว่าหินก้อนนั้นไปโดนเขาของแพะหัก!
เด็กเลี้ยงแพะตกใจมาก จึงขอร้องแพะไม่ให้บอกเจ้าของแพะว่าเกิดอะไรขึ้น แต่แพะก็ตอบว่า "ทำไมเจ้าจึงโง่เง่าเช่นนี้ แม้ข้าจะปิดปากเงียบ แต่เขาที่หักของข้านั่นแหละจะเป็นตัวฟ้องนายเองว่ามีอะไรเกิดขึ้น"
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การกระทำที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะพยายามปกปิดเพียงใด ย่อมปรากฏผลของมันในที่สุด
เพราะหลักฐานหรือผลกระทบจากการกระทำนั้นจะฟ้องเราเอง
สอนในเชิงพระพุทธศาสนา
เรื่องนี้สอดคล้องกับหลัก กรรม (การกระทำ) และ วิบากกรรม (ผลของการกระทำ) ตามหลักพุทธศาสนา ที่กล่าวว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ทุกการกระทำไม่อาจหลีกเลี่ยงผลของมันได้ ผลกรรมจะติดตามผู้กระทำเสมอ ไม่ว่าจะพยายามปิดบังหรือซ่อนเร้นเพียงใดก็ตาม