นิทานอีสป เรื่อง นกเตือนสติหนู
วันหนึ่ง งูพิษตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในบริเวณรูหนูที่โคนต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง หนูทั้งหลายในที่นั้นตกใจและหวาดกลัวยิ่งนัก ต่างพากันเอะอะโวยวายและวิ่งชุลมุนไปมาพลางร้องว่า "มันมาจากไหน? งูพิษตัวนี้มาจากไหน? ใครรู้บ้างว่า มันมาจากไหน?"
ขณะที่เกิดความโกลาหลวุ่นวายกันอยู่นั้นเอง งูก็ได้โอกาสจับหนูกินอย่างง่ายดาย นกตัวหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่บนต้นไม้ เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดตั้งแต่ต้น จึงร้องตะโกนบอกพวกหนูลงมาว่า
"มันมาจากไหนไม่สำคัญ ไม่ว่ามันมาจากไหน มันก็คืองูร้าย จะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ สิ่งที่พวกเจ้าควรสนใจและเห็นว่าสำคัญก็คือ ทันทีที่เห็นงูร้ายมา ควรรีบพากันหนีไป แทนที่จะมัวเอะอะโวยวายและวิ่งวุ่นชุลมุนอยู่ให้งูจับกิน" เมื่อหนูทั้งหลายได้ฟังเช่นนั้นก็ได้สติ จึงพากันเผ่นหนีไปทุกทิศทุกทาง
นิทานเรื่องนี้สอนว่า:
จงแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยความฉับไวและรอบคอบ แทนที่จะเสียเวลากับเรื่องไม่สำคัญหรือการตื่นตระหนก
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท):
สติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้และรู้ตัวทั่วพร้อม):
โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาอย่างแยบคาย):
สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ):
นิทานเรื่องนี้สะท้อนถึงความสำคัญของการมีสติและปัญญาในการรับมือกับสถานการณ์อันตราย และไม่ประมาทจนทำให้ตกเป็นเหยื่อของปัญหา