นิทานอีสป เรื่อง ผู้รักอิสระ
สุนัขป่าที่หิวโหยและผอมซูบซีดตัวหนึ่งกำลังเดินเตร็ดเตร่ไปรอบหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในไม่ช้ามันก็พบสุนัขบ้านที่มีขนเรียบเป็นมันและได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มันถามสุนัขตัวนั้นว่า
"บอกข้าซิว่าพวกเจ้าได้อาหารมาจากไหน"
"คนให้อาหารพวกเรา" สุนัขบ้านตอบ
"จริงหรือไม่ว่าเจ้าต้องทำงานหนักให้พวกเขา"
"ไม่จริง งานของเราไม่หนักเลย" สุนัขบ้านแย้ง
"พวกเราเพียงแต่เฝ้าบ้านให้นายตอนกลางคืนเท่านั้น"
"แล้วคนก็เลี้ยงดูพวกเจ้าดีอย่างนี้เชียวรึ!" สุนัขป้าร้องด้วยความประหลาดใจ
"ข้าอยากทำงานอย่างเจ้าบ้าง เพราะพวกข้าหาอาหารได้ยากเหลือเกิน"
"มากับข้าสิ" สุนัขบ้านชวน "นายของข้าจะให้อาหารเจ้ากินแน่ๆ"
สุนัขป้าดีใจมาก มันรีบไปกับสุนัขบ้านเพราะหวังจะได้ทำงานให้คน ขณะที่สุนัขปักกำลังเดินเข้าประตูบ้านของนายของสุนัขบ้าน มันก็สังเกตเห็นว่าขนรอบคอของสุนัขบ้านร่วงหายไปเป็นรูปวงกลม
"ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ"
"อ๋อ! ไม่มีอะไรหรอก" สุนัขบ้านพูด
"เจ้าหมายความว่าอย่างไร"
"มันเกิดจากโซ่ ข้าถูกล่ามโซ่ในเวลากลางวันโซ่จึงเสียดสีทำให้ขนรอบคอของข้าร่วงหลุดไป"
"ถ้าเช่นนั้นข้าขอลาก่อนละนะเพื่อน" สุนัขป่าพูด
"ข้าจะไม่มีวันไปอยู่กับคน ข้ายอมหิวเสียดีกว่าที่จะสูญเสียอิสรภาพของข้าไป!"
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อิสรภาพเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรหวงแหน บางครั้งความสะดวกสบายหรือผลประโยชน์ที่ได้รับอาจแลกมาด้วยการสูญเสียเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น จึงควรพิจารณาถึงผลที่จะตามมาก่อนตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง:
วิราคะ (ความคลายกำหนัด):
การยอมรับความลำบากในชีวิตโดยไม่ยึดติดในความสะดวกสบายหรือผลประโยชน์ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียสิ่งสำคัญ เช่น อิสรภาพ สอดคล้องกับหลักวิราคะ ซึ่งสอนให้ลดความยึดติดและหลงใหลในสิ่งล่อใจ
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ):
การตัดสินใจของสุนัขป่าที่เลือกอิสรภาพเหนือความสะดวกสบาย สะท้อนถึงการมีความเห็นชอบในทางธรรม รู้จักแยกแยะสิ่งที่มีค่าแท้จริงจากสิ่งที่เป็นเพียงความสุขชั่วคราว
อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เสื่อม):
หนึ่งในข้อที่เน้นการรักษาความเป็นตัวของตัวเองและไม่ให้สิ่งล่อลวงหรือแรงกดดันจากภายนอกทำให้สูญเสียคุณค่าที่สำคัญในชีวิต
บทเรียนสำคัญ:
ความสุขที่แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุหรือความสะดวกสบายเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับความสงบและอิสรภาพในจิตใจ การเลือกทางเดินชีวิตต้องคำนึงถึงคุณค่าในระยะยาวมากกว่าความสุขชั่วครู่