นกสองตัว
กาลครั้งหนึ่ง มีนกสองพี่น้องอาศัยอยู่ในรังเดียวกันบนต้นไม้ใหญ่ พวกมันช่วยกันสร้างรังเป็นอย่างดี ซึ่งรังนั้นใหญ่โตและสวยงามยิ่งนัก
วันหนึ่งมีรูเล็กๆ เกิดขึ้นที่รัง นกตัวพี่จึงคิดว่า "น้องข้าต้องเป็นผู้ซ่อมแซมรังแน่" ส่วนนกตัวน้องก็คิดว่า "พี่ข้าต้องเป็นผู้ซ่อมแซมรังแน่" เมื่อเป็นเช่นนี้รูนั้นจึงยังคงอยู่และไม่มีใครลงมือซ่อมรัง
วันหนึ่งมีลมแรงได้พัดรัง ทำให้รูที่รังของพวกมันขยายใหญ่ขึ้นอีก นกตัวน้องคิดว่า "พี่ข้าคงไม่ปล่อยให้รูใหญ่เช่นนี้เกิดขึ้นในรังเราได้หรอก" ขณะที่นกตัวพี่ก็คิดว่า "น้องข้าคงไม่ทนอยู่ในรังที่เสียหายเช่นนี้หรอก เขาต้องหาทางซ่อมแซมเป็นแน่" สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครซ่อมรังอีกเช่นเคย
เมื่อฤดูหนาวมาถึง และได้เกิดพายุโหมกระหน่ำ ทำให้รังพังทลายลงมาอย่างง่ายดาย นกทั้งสองจึงทนกับความหนาวเหน็บไม่ไหวและหนาวตายในที่สุด
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อย่าผลักภาระให้กัน ต้องร่วมมือกันรับผิดชอบก่อนที่ปัญหาจะใหญ่จนแก้ไม่ได้.
The Two Birds
Once upon a time, there were two birds who were brothers, living in the same nest in a large tree. The birds had taken great care in creating the nest, and it was large and very beautiful.
One day, a small hole appeared in the nest. The older bird thought, "My younger brother will repair the hole for sure." Likewise, the younger bird thought, "My older brother will repair the hole for sure," and so the hole remained and was never repaired.
One day a strong wind shook the nest, making the hole larger than before. The younger bird thought, "My older brother wouldn't let our nest get a hole this big," while the older bird thought, "My younger brother wouldn't stand to live in such a rundown nest, he will find a way to repair it for sure." In the end, neither bird
repaired the nest.
When winter came, there was a large storm, which completely destroyed the nest with ease. The two birds could not take the winter weather, and eventually died of the cold.
This story teaches us that
Do not shift responsibilities; work together to address problems before they grow unmanageable.
สอนในเชิงพระพุทธศาสนา:
หลักความไม่ประมาท (อัปปมาทธรรม): พระพุทธศาสนาสอนให้เราไม่ประมาทในหน้าที่หรือสิ่งที่ต้องทำ ไม่ควรปล่อยให้ปัญหาเล็กๆ ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขไม่ได้
หลักสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ): การขยันหมั่นเพียรในหน้าที่และไม่ผลักภาระให้ผู้อื่นคือหนทางที่ถูกต้อง การปฏิบัติต่อหน้าที่ด้วยความเพียรจะช่วยป้องกันปัญหาและเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิต
หลักสัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ): ควรมีความคิดที่ถูกต้องและเป็นธรรม เช่น การคิดร่วมมือช่วยเหลือกัน แทนที่จะคิดผลักภาระให้ผู้อื่น
หลักอิทธิบาท 4 (คุณธรรมแห่งความสำเร็จ):
นิทานนี้จึงสอนให้เราไม่ประมาท ขยันเพียร และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน เพื่อป้องกันความเสียหายและส่งเสริมความสำเร็จในชีวิต.