มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว            มงคลที่ 22 มีความเคารพ         มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน         มงคลที่ 24 มีความสันโดษ         มงคลที่ 25 มีความกตัญู         มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว

 

มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว

        มงคลที่ 22 มีความเคารพ

        มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
        มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
        มงคลที่ 25 มีความกตัญูญู
        มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

 

        เมื่อเราเตรียมสภาพใจของเราไว้พร้อมด้วยการแก้ไขปรับปรุง ให้เป็นผู้ที่ไม่ข้องแวะกับสิ่งที่เป็นบาป สิ่งที่ทำลายสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น ไม่ปล่อยชีวิตให้ไปตามยถากรรมแล้วเมื่อถึงมงคลหมู่ที่ 7 ก็เริ่มลงมือแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัวทีเดียว เป็นคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับบุคคลผู้ที่ต้องการพันาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าทุกคน เพื่อนำมาปรับปรุงความประพฤติของตนให้สมบูรณ์ ผู้จะแสวงหาธรรมะใส่ตัวได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

        1. ต้องมีความเคารพ หมายถึง มีความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่นยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยนอย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รู้ว่าจะเข้าไปหาคุณธรรมความดีได้จากใคร ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง ดังนั้น บุคคลที่มีความเคารพ จึงเป็นบุคคลที่มีปัญญา เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้น พ้นจากความถือตัวต่างๆ เป็นใจที่เปิดกว้างพร้อมจะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน

        2. ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การเอามานะทิฏฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตนไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้างไม่เย่อหยิ่งจองหอง ดังนั้น คนที่มีความถ่อมตน จึงเป็นผู้ที่ปรารภตนเอง คอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเองสามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง มีจิตใจสูงสามารถน้อมตัวลง เพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่

        คนที่มีความเคารพ รู้ว่าคนอื่นมีดีอะไร ถ้าหากขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนเสียแล้ว ใจเขาจะพองขึ้นแข่งทันทีว่า ถึงใครจะแน่แต่ฉันก็หนึ่งเหมือนกันใจจะคอยแต่เบ่งคิดว่าตัวเก่งกว่าทุกที ก็เลยรับคุณธรรมของใครไม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเก่งกว่าเสียแล้วนั่นเอง

        เราดูมหาสมุทรเป็นที่รวมของน้ำได้ ก็เพราะพื้นผิวอยู่ต่ำกว่าแม่น้ำลำธารทั้งหลายถ้าเมื่อใดมหาสมุทรยกตัวสูงขึ้น น้ำก็ไหลย้อนกลับรับน้ำไม่ได้อีกต่อไป คนเราก็เช่นกัน ถ้าขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน อวดเบ่ง ยกตัวเราสูงขึ้นกว่าแล้ว ก็จะรับเอาคุณธรรมจากใครไม่ได้

        3. ต้องมีความสันโดษ เป็นคนรู้จักพอ รู้จักประมาณสุขใจพอใจกับของของตน ของสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีและ มควรกับตน คนมีความสันโดษทำให้จิตใจ งบ เยือกเย็น ดำเนินชีวิตอย่างมี ติสามารถรองรับคุณธรรมจากผู้อื่นได้เต็มที่ สามารถฝึกตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นไปเพื่อความเจริญสุขทั้งแก่ตนเองครอบครัว และสังคมประเทศชาติ คนที่ขาดสันโดษ ใจของเขาจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวายกระหายอยากได้ มีสิบล้านก็ไม่พอ จะเอาร้อยล้าน มีร้อยล้านก็ไม่พอจะเอาพันล้าน หมื่นล้าน ไม่รู้จักอิ่ม ซึ่งใจของคนชนิดนี้ไม่สามารถจะรองรับคุณธรรมได้ ไปฟังพระเทศน์เท่าไรก็ไม่ซึมซับเข้าไปอยู่ในใจ ลืมตาหลับตาเขาก็มองเห็นแต่ตัวเลขคิดแต่ว่าอยากรวยๆ ธรรมะจึงนึกไม่ออก

        4. ต้องมีความกตัญูญู หมายถึง มีความตระหนักซาบซึ้งถึงบุญคุณ เป็นผู้มี ติใจใสกระจ่างมีติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการะของบุญทั้งหลายที่ช่วยให้ตนได้ดีมีสุขในปัจจุบัน และรู้อุปการคุณของผู้อื่นที่กระทำแล้วแก่ตน พยายามหาทางตอบแทน ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือ จนใครๆ ก็เมตตาถ่ายทอดความรู้ คุณธรรมความดีต่างๆให้ ในวงการต่างๆ ผู้ที่มีความกตัญูรู้คุณ จะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปแม้เราจะมีความเคารพ รู้ข้อดีของคนอื่น มีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะไปถ่ายทอดเอาคุณธรรมนั้นๆได้จากใคร มีความถ่อมตน ใจเราก็พร้อมที่จะน้อมไปรับคุณธรรมนั้น และมีความสันโดษ คือใจก็ งบพอที่จะรับเอาธรรมะนั้นๆมาไตร่ตรองให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าเขาจะยอม อนเราหรือไม่ เราต้องเป็นคนมีความกตัญูรู้คุณคนด้วย เป็นการรับประกันตนเองว่าจะไม่เนรคุณภายหลัง คนอื่นจึงจะเมตตา อนธรรมะให้เรา ทำให้เราสามารถพันาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้นไปได้

        5. ฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่ง อนจากผู้มีธรรมะในทุกโอกาสที่อำนวยให้เพื่อยกระดับจิตใจและ ติปัญญาให้สูงขึ้นโดยเมื่อฟังธรรมแล้ว ก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ มีข้อบกพร่องต้องแก้ไขตรงไหน จะพันาคุณธรรมให้เพิ่มพูนขึ้นได้อย่างไร จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร เพราะคนเรายังมีกิเลสอยู่ บางวันจิตใจผ่องใสเบิกบาน บางวันจิตใจหดหู่ เศร้าหมอง ยังไม่แน่นอน จึงต้องสำรวจปรับปรุงพันาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าฝ่ายเดียว

 

มงคลที่ 22 มีความเคารพ

มงคลที่ 22 มีความเคารพ

 

        เมื่อจะใช้ประโยชน์จากสิ่งใด
        เราจำเป็นต้องรู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนฉันใด
        ผู้ที่จะรับประโยชน์จากบุคคลอื่นได้
        ก็จำเป็นต้องมีความเคารพต่อบุคคลทั้งหลายก่อนฉันนั้น

 

ความเคารพคือ อะไร

        ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่นยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยนอย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

        วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็กก็นำไปใช้ผลิตกระแ ไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้

        แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้นทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ของผู้มีปัญญาเท่านั้น

        เช่นกัน คนทั้งหลายในโลกต่างก็มีคุณความดีในตัวต่างๆ กันไป มากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากันผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้นๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การที่จะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่นก็ทำได้ยากยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้างความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คนๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคน ถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว คือ ตัวเอง

        คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออก ก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอดเอาความดีของเขาเข้ามาสู่ตัวเอง

        ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น จึงจัดเป็นคนพิเศษจริงๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากความถือตัวต่างๆ เปิดกว้างพร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตนคนเช่นนี้คือ คนที่มีความเคารพ

 

สิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง

        ในโลกนี้มีคนสัตว์สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน และอื่นๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้เรามีความเคารพ ไม่ดูเบา ตระหนักในสิ่งมีคุณค่าที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่

        1. ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
        2. ให้มีความเคารพในพระธรรม
        3. ให้มีความเคารพในพระสงฆ์
        4. ให้มีความเคารพในการศึกษา
        5. ให้มีความเคารพในสมาธิ
        6. ให้มีความเคารพในความไม่ประมาท
        7. ให้มีความเคารพในการต้อนรับแขก

        ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ตระหนักถึงพระคุณความดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งกล่าวโดยย่อได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

        สมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็แ ดงความเคารพโดย
        1. เข้าเฝ้าทั้ง 3 กาล คือ เช้า กลางวัน เย็น
        2. เมื่อพระองค์ไม่สวมรองเท้าจงกรม เราจะไม่ วมรองเท้าจงกรม
        3. เมื่อพระองค์จงกรมในที่ต่ำ เราจะไม่จงกรมในที่สูงกว่า
        4. เมื่อพระองค์ประทับในที่ต่ำ เราจะไม่อยู่ในที่สูงกว่า
        5. ไม่ห่มผ้าคลุมบ่าทั้งสอง ในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
        6. ไม่สวมรองเท้าในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
        7. ไม่กางร่มในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
        8. ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสาวะในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

        สมัยเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วก็แสดงความเคารพโดย
        1. ไปไหว้พระเจดีย์ตามโอกาส
        2. ไปไหว้สังเวชนียสถาน คือ ถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ตามโอกาส
        3. เคารพพระพุทธรูป
        4. เคารพเขตพุทธาวา คือเขตโบสถ์
        5. ไม่ วมรองเท้าในลานพระเจดีย์
        6. ไม่กางร่มในลานพระเจดีย์
        7. เมื่อเดินใกล้พระเจดีย์ ไม่เดินไปพูดไป
        8. เมื่อเข้าในเขตอุโบสถก็ถอดรองเท้า หุบร่ม ไม่ทำอาการต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความกระด้าง หยาบคาย
        9. ปฏิบัติตนตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

        ความเคารพในพระธรรม คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพดังนี้

        1. เมื่อมีประกาศแสดงธรรมก็ไปฟัง
        2. ฟังธรรมด้วยความสงบสำรวม ตั้งใจ
        3. ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งคุยกัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน ขณะฟังธรรม
        4. ไม่วางหนังสือธรรมะไว้ในที่ต่ำ
        5. ไม่ดูหมิ่นพระธรรม
        6. บอกธรรมสอนธรรม ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด

        ความเคารพในพระสงฆ์ คือตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

        1. กราบไหว้ โดยกิริยาอาการเรียบร้อย
        2. นั่งเรียบร้อย ไม่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก
        3. ไม่สวมรองเท้า ไม่กางร่ม ในที่ประชุมสงฆ์
        4. ไม่คะนองมือคะนองเท้าต่อหน้าท่าน
        5. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่แสดงธรรม
        6. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม
        7. ไม่เดิน ยืน นั่ง เบียดพระเถระ
        8. แลดูท่านด้วยจิตเลื่อมใส
        9. ต้อนรับท่านด้วยไทยธรรม

        ความเคารพในการศึกษา คือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม จะศึกษาเรื่องใดก็ศึกษาให้ถึงแก่น ให้เข้าใจจริงๆ ไม่ทำเหยาะแหยะ บำรุงการศึกษาสนับสนุนการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม

        ความเคารพในสมาธิ คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของการทำสมาธิ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจฝึกสมาธิอย่าง ม่ำเสมอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างความดีทั้งหลาย เป็นการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด ทำให้รู้และเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากไตรสิกขา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีลสมาธิ ปัญญา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ศีลจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย แล้วสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาซึ่งเป็นเครื่องพาเราให้บรรลุนิพพาน จะเห็นว่าเรารักษาศีลก็เพื่อไม่ให้ไปทำความชั่ว ทำให้ใจไม่เศร้าหมอง เป็นสมาธิได้ง่าย และปัญญาก็เกิดจากสมาธิสมาธิจึงเป็นหัวใจหลักในการทำความดีทุกชนิด แม้การกำจัดกิเลส เข้าสู่นิพพาน

        มีบางคนพยายามจะเข้าถึงธรรม โดยการอ่านและฟังธรรม โดยไม่ยอมทำสมาธิ แม้เขาจะอ่านจะท่องธรรมะได้มากเพียงใด ก็ย่อมไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรมได้เลย เพราะความรู้ธรรมะจากการอ่านการท่องนั้น เป็นเพียงพื้นฐานความรู้เท่านั้น จะบังเกิดผลเป็นดวงปัญญารู้แจ้งสว่างไสว ต่อเมื่อได้นำไปปฏิบัติด้วยการทำสมาธิอย่างยิ่งยวดแล้วเท่านั้น

        ยังมีบางคนกล่าวว่า การทำสมาธิเป็นส่วนเกินบ้าง เป็นการเสียเวลาเปล่าบ้าง ถ้าพบใครที่กล่าวเช่นนี้ ก็พึงทราบทันทีว่าเขากล่าวตู่พุทธพจน์เสียแล้ว เป็นคนที่ใช้ไม่ได้ ไม่ควรคบ เพราะเขายกตัวของเขาเองเขาผยองคิดว่าตนเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ใช้ไม่ได้

        ความเคารพในความไม่ประมาท คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมีสติกำกับตัวในการทำงานต่างๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึก ติเพื่อให้ไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอยู่เนืองๆมิได้ขาด

        ความเคารพในการต่ออ้อนรับแขก คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับแขก ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู ปกติคนเราจะให้ดีพร้อม ทำอะไรถูกใจคนทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ อาจมีช่องว่างรอยโหว่มีข้อบกพร่องบ้าง การต้อนรับแขกนี้จะเป็นการปิดช่องว่างรอยโหว่ในตัว ทำให้ได้มิตรเพิ่ม เราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ 2 ประการ ดังนี้

        1. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหารน้ำดื่ม เลี้ยงดูอย่างดี ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง
        2. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม เช่น สนทนาธรรมกัน แนะนำธรรมะให้แก่กัน ฯลฯ

        นอกจากตัวเราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการต้อนรับแขกแล้ว แม้คนในบ้านก็ต้องฝึกให้ต้อนรับแขกเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นจะพลาดไป เช่น ข้าราชการผู้ใหญ่บางคนตนเองต้อนรับแขกได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ได้ฝึกคนในบ้านไว้ 

เวลาตนเองไม่อยู่มีแขกมาหาที่บ้าน เด็กและคนรับใช้พูดจากับเขาไม่ดีทำให้เขาผูกใจเจ็บ คิดหาทางแก้แค้น หาทางโจมตีเอาจนต้องเสียผู้เสียคนมาก็มากต่อมากแล้วโดยที่ตนเองก็ไม่รู้สาเหตุว่าเขาเป็นศัตรูเพราะอะไร

        เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคนสิ่งของ เหตุการณ์ การงานในโลกนี้มีหลายแสนหลายล้านอย่าง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง อนให้เรา นใจอย่างจริงจัง 7 อย่าง ดังนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา

สมาธิ ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง 7 ประการนี้ มีความสำคัญเพียงใดโปรดคิดดู

        สิ่งที่ควรเคารพทั้ง 7 ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง เมื่อเราสามารถตรองจนตระหนักถึงคุณของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง ทั้ง 7 ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรองถึงความดีของสิ่งอื่นๆ ได้ชัดเจนและละเอียด

ลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริงและทำได้จริงผู้หนึ่ง

        เมื่อฝึกตนเองให้มากด้วยความเคารพแล้ว ในไม่ช้านิสัยชอบจับผิด ผู้อื่นก็จะค่อยๆ หายไปเจอใครก็จะคอยมองแต่คุณความดีของเขา ต่อไปความชั่วทั้งหลายเราก็จะนึกไม่ออก นึกออกแต่ความดีและวิธีทำความดีเท่านั้น ตัวเราก็จะ

กลายเป็นที่รวมแห่งความดีเหมือนทะเลเป็นที่รวมของน้ำฉะนั้น

 

การแสดงความเคารพ

        การแสดงความเคารพ คือการแสดงความตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เราเคารพด้วยใจจริงให้ปรากฏชัดแก่บุคคลทั่วไป ด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา มีอยู่หลายวิธี เช่น หลีกทางให้ลุกขึ้นยืนต้อนรับ การให้ที่นั่งแก่ท่าน การประณมมือเวลาพูดกับท่าน การกราบ การไหว้ การขออนุญาตก่อนทำกิจต่างๆ การวันทยาวุธ การวันทยหัตถ์ การยิงสลุต การลดธง ฯลฯ

        การแสดงความเคารพที่ถูกต้องตามหลักธรรม หมายถึง การแสดงออกเพราะตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เคารพด้วยใจจริง นักเรียนที่คำนับครูเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกตัดคะแนนความประพฤติทหารที่ทำวันทยหัตถ์ผู้บังคับบัญชาเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นความเคารพเป็นแต่เพียงวินัยอย่างหนึ่งเท่านั้น

 

ข้อเตือนใจ

        ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเคารพ คือการตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น ซึ่งผู้ที่จะตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่นได้ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อนคือมีปัญญาความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร

        และเมื่อเราแสดงความเคารพออกไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรู้ทันทีว่า อ้อ คนนี้เขามีคุณธรรมสูงมีความเคารพและมีแววปัญญา เขาก็เกิดความตระหนักในความดีของเรา และแสดงกิริยาเคารพต่อเราที่เรียกว่า รับเคารพ

        แต่ถ้าผู้ใด เมื่อมีคนมาแสดงความเคารพแล้วเฉยเสีย ไม่แสดงความเคารพตอบ ผู้นั้นจัดเป็นคนน่าตำหนิอย่างยิ่ง เพราะการเฉยเสียนั้นเท่ากับบอกให้ชาวโลกรู้ว่า ตัวข้านี้ แสนจะโง่เง่า หามีปัญญาพอที่จะเห็นคุณความดีในตัวท่านไม่ เท่านั้นเอง

        คนที่ไม่อยากแสดงความเคารพคนอื่น หรือเมินเฉยต่อการเคารพตอบ มักเป็นเพราะเข้าใจว่าการแสดงกิริยาเคารพออกมานั้น เป็นการลดสง่าราศรีของตนแล้วเอาไปเพิ่มให้แก่คนอื่นเลยเกิดความเสียดายเกรงว่าตัวเองจะไม่ใหญ่โต หรือเกรงว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่าตัวเองใหญ่โต นั้นเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง

 

อานิสงส์การมีความเคารพ
        1. ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ
        2. ทำให้ได้รับความสุขกายสบายใจ
        3. ทำให้ผิวพรรณผ่องใส
        4. ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย
        5. ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย
        6. ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้
        7. ทำให้ ติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท
        8. ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง
        9. ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ
        10.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
        ฯลฯ

 

        ภิกษุมีพระศา ดาเป็นที่เคารพ 1 มีพระธรรมเป็นที่เคารพ 1 มีความเคารพในพระสงฆ์อย่างแรงกล้า 1 มีความเคารพในสมาธิ 1 มีความเพียรเคารพยิ่งในไตรสิกขา 1 มีความเคารพในความไม่ประมาท 1 มีความเคารพในปฏิสันถาร 1 

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ในที่ใกล้นิพพานทีเดียว
องฺ ตฺตก. 23/29/29-30

 

 

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน

 

      มหาสมุทรซึ่งเป็นที่ไหลมารวมกันของน้ำจากทุกสารทิศ
        จะต้องมีระดับพื้นที่
        ต่ำกว่าพื้นที่ตรงต้นน้ำทั้งหลายฉันใด
        ผู้ที่ต้องการจะรับการถ่ายทอดคุณความดีจากบุคคลทั้งหลาย
        ก็จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนก่อนฉันนั้น

 

ความถ่อมตนคือ อะไร

        ความถ่อมตน         มาจากภาษาบาลีว่า             นิวาโต
        วาโต                      แปลว่า                                 ลม พองลม
        นิ                            แปลว่า                                 ไม่มี ออก

        นิวาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือเอามานะทิฏฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตนไม่เบ่ง ไม่ทะนงตน ไม่มีความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้างไม่เย่อหยิ่งจองหอง

 

ความแตกต่างระหว่างความเคารพกับความถ่อมตน

        ความเคารพ เป็นการปรารภผู้อื่น คือตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยจ้องหาข้อดีของเขา ไม่จับผิดสามารถประเมินคุณค่าของ ผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง แล้วแ ดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ

        ความถ่อมตน เป็นการปรารภตนเอง คือคอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง จับผิดตัวเองสามารถประเมินค่าของตนเองได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่อวดดื้อถือดีสามารถน้อมตัวลงเพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตนเองได้อย่างเต็มที่

        คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนก็ได้ เช่น บางคนเมื่อพบคนดีก็ตระหนักในความดีความสามารถของเขา คือมีความเคารพแต่ขณะเดียวกัน ถ้าจะให้อ่อนเข้าไปหาเขาทำไม่ได้ ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย แล้วใจของตัวก็พองรับทันทีว่า ถึงเอ็งจะแน่ แต่ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน ใจของเขาจะพองเหมือนอึ่งอ่างพองลม คอยแต่คิดว่า ข้าวิเศษกว่าทุกที
 

สิ่งที่คนทั่วไปหลงถือเอาทำให้ถือตัว

        1. ชาติตระกูล เช่น คิดว่า ตระกูลฉันนี้เป็นตระกูลใหญ่ เชื้อสาย ผู้ดีเก่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย กี่รุ่นกี่รุ่นมีชื่อเสียงโด่งดังมาตลอด คนอื่นจะมาเทียบฉันได้อย่างไร เมื่อหลงถือว่าตนมีชาติตระกูลสูงกว่าผู้อื่นความถือตัวก็เกิดขึ้น

        2. ทรัพย์สมบัติ เช่น คิดว่า เฮอะ ทรัพย์สินเงินทองของฉันมีมากมาย จะซื้อจะหาอะไรก็ได้อย่างใจไม่เห็นจะต้องไปง้อ ไปเกรงใจใคร เมื่อหลงถือว่าตนมีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

        3. รูปร่างหน้าตา เช่น คิดว่า ฮึ ฉันนี้สวยน้อยหน้าใครเสียเมื่อไหร่ ดูซี ผิวก็ละเอียด จมูกก็โด่งตาก็กลม นางงามจักรวาลที่ว่า สวยๆ ลองมาเทียบกันดูซักทีเถอะน่า ไม่แน่หรอก เมื่อหลงถือว่าตนมีรูปร่างหน้าตาดีกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

        4. ความรู้ความสามารถ เช่น คิดว่า ฉันนี้ความรู้ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาที่ไหนที่ว่ายากๆ กวาดมาหมดแล้ว ฝีมือก็แน่กว่าใคร ใครๆ ก็สู้ฉันไม่ได้ เมื่อหลงถือว่าตนมีความรู้ความสามารถสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัว ก็เกิดขึ้น

        5. ยศตำแหน่ง เช่น คิดว่าสึ ฉันนี้มันชั้นผู้อำนวยการกอง อธิบดี ปลัดกระทรวง ซี 8 ซี 9 ซี 10 ซี 11 แล้วใครจะมาแน่เท่าฉัน เมื่อหลงถือว่าตนมียศตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

        6. บริวาร เช่น คิดว่า เฮอะ สมัครพรรคพวก ลูกน้องฉันมีเยอะแยะใครจะกล้ามาหือ ใครจะกล้ามากำเริบเสิบสาน เมื่อหลงถือว่าตนมีบริวารมากกว่าผู้อื่น ความถือตัวก็เกิดขึ้น

        คนทั่วไปมักหลงยึดเอาสิ่งต่างๆ 6 ประการนี้ เป็นข้อถือดีของตัว ไม่เคยคิดว่าสิ่งต่างๆ ที่ว่านั้นมันจะเป็นของเราตลอดไปหรือไม่ จีรังยั่งยืนหรือเปล่า ที่ว่าหล่อๆ วยๆ พออายุสักหกสิบเจ็ดสิบจะมีใครอยากมอง เศรษฐี มหาเศรษฐี ทำการค้าผิดพลาดเข้า ล่มจมกลายเป็นยาจกภายในวันเดียวก็มีตัวอย่างมามากแล้ว และถึงจะเป็นเศรษฐีไปจนตายก็ใช่ว่าจะขนเงินขนทองไปปรโลกด้วยได้เมื่อไหร่ถ้าไม่รู้จักสร้างคุณงามความดี ถึงมีเงินทองมากเท่าไหร่ก็ไม่พ้นทุกข์ไปได้ ยิ่งรวยมากก็ยิ่งทุกข์มาก ทั้งหา ห่วงหวง ยศตำแหน่ง บริวารนั้นก็มิใช่ว่าจะคงอยู่กับเราอย่างนั้นตลอดไป ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอนไม่ใช่เป็นของเราจริงๆ เป็นเพียงสิ่ง มมุติกันขึ้นเพื่อให้คนในสังคมทำงานตามหน้าที่ของตนเท่านั้นสิ่งที่จะคงอยู่กับตัวเราอย่างแน่นอน และช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ คือความดีในตัวของเราต่างหาก

        และการที่เราถือตัวเย่อหยิ่งทะนงตนนั้น มันทำให้อะไรในตัวเราดีขึ้นบ้าง จะทำให้คนอื่นนับถือว่าตัวเรายิ่งใหญ่ก็หามิได้ รังแต่จะทำให้เขาเกลียดชังเหม็นหน้า เหมือนคนอยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวอ้วนท้วน มบูรณ์จึงอมลมเข้าเต็มปากทำให้แก้มตุ่ย ใครเห็นเข้าแทนที่จะชม เขาก็มีแต่จะหัวเราะเยาะ และขืนอมลมอยู่อย่างนั้น ข้าวก็กินไม่ได้น้ำก็กินไม่ได้ ตัวก็มีแต่จะผอมซูบซีดลงทุกที

        แท้จริง ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องนับถือจากคนอื่นทั้งกายและใจนั้น จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างเต็มที่เท่านั้น ผู้ที่ฉลาด จึงไม่ควรหลงยึดเอาสิ่งเหล่านี้มาทำให้ตนเกิดความถือตัว

 

โทษของการอวดดื้อถือดี

        1. ทำให้เสียตน เพราะเป็นคนรับความดีจากคนอื่นไม่ได้ กลัวเสียเกียรติ ประเมินค่าตนสูงกว่าความเป็นจริง คิดแต่ว่าเราดีอยู่แล้ว ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้ โบราณท่านจึงมีคำสอนเตือนใจไว้ว่าลูกท่านหลานเธอ ลูกเจ้าบ้านหลานเจ้าวัด มักจะเอาดีไม่ค่อยได้ เพราะมักจะติดนิสัยอวดดีถือตัว ยโสโอหังจึงไม่มีใครอยากแนะนำสั่งสอนให้ ทำผิดก็ไม่มีใครอยากเตือนสุดท้ายก็คบอยู่แต่กับพวกประจบสอพลอทำผิดถลำลึกไปทุกทีจนสุดทางแก้

        2. ทำให้เสียมิตร เพราะเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ที่ไม่ควรถือก็ถือ ไม่ควรโกรธก็โกรธจึงไม่มีใครอยากคบด้วย คนพวกนี้ถึงแม้ในเบื้องต้นอยากจะทำความดี แต่ทำไปได้ไม่กี่น้ำก็จอดเพราะไม่มีคนสนับสนุน เป็นเหมือนเจดีย์ฐานแคบ ไม่สามารถสร้างให้สูงขึ้นไปได้

        3. ทำให้เสียหมู่คณะ เพราะเป็นคนอวดเบ่ง จะเอาแต่อภิสิทธิ์ ทำให้เสียระเบียบวินัย หมู่คณะแตกแยก
        หมู่คณะใดที่ มาชิกมีความอ่อนน้อมถ่อมตน แม้บางครั้งจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันบ้างแต่ไม่นานก็สามารถ มานสามัคคีป้องกันอันตรายทั้งหลายได้โดยง่าย เหมือนดินเหนียวในท้องนายามหน้าแล้งก็แตกระแหงเป็น ร่องลึก ดูเหมือนไม่มีทางที่จะประสานรวมกันได้อีกแล้ว แต่พอฝนตกลงมาซู่เดียวก็สามารถประสานคืนเป็นผืนเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์

        ส่วนหมู่คณะใดที่ มาชิกมีความถือตัวจัด จึงไม่มีทางที่หมู่คณะนั้นจะเกิดความสมานสามัคคีกันได้ เหมือนดินทรายที่แม้ฝนจะตกจนน้ำท่วมฟ้าก็ไม่มีทางประสานรวมกันได้ นิท เช่นประเทศอินเดียในอดีต ซึ่งพลเมืองมีความถือตัวจัด แบ่งชั้นวรรณะกันอย่างหนัก แม้เพียงคนวรรณะสูงไปเห็นคนวรรณะต่ำเห็นคนจัณฑาลเข้าก็ต้องรีบไปเอาน้ำล้างตา เพราะกลัวเสนียดจัญไรจะติด เพราะถือตัวกันอย่างนี้ พอถึงคราวมีข้าศึกรุกราน เลยไม่มีใครช่วยใครกำจัดศัตรู ปล่อยให้ศัตรูเข้ายึดครองประเทศโดยง่าย พวกคนวรรณะต่ำก็คิดว่าดีแล้ว คนวรรณะสูงๆ จะได้รู้สึกเสียบ้าง คนวรรณะสูงด้วยกันเองก็ยังถือตัวทะเลาะรบกันเองเพราะถือตัวกันอย่างนี้ แม้มีพลเมืองมากหลายร้อยล้านคนก็ยังตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งส่งทหารมาเพียงแค่หยิบมือเดียว
 

        นระใดกระด้างโดยชาติ
        กระด้างโดยทรัพย์ และกระด้างโดยโคตร
        ย่อมดูหมิ่นแม้ญาติของตน
        กรรม 4 อย่างของนระนั้น เป็นทางแห่งความเสื่อม
        (ปราภวสูตร) ขุ.สุ. 25304347


 

วิธีแก้ความอวดดื้อถือดี

        1. ต้องคบกัลยาณมิตร คือคบคนดี จะได้คอยแนะนำเตือนสติเราให้ประเมินค่าของตนเองถูกต้องตามความเป็นจริง คอยแนะนำปลูกสร้างนิสัยดีๆ ให้กับเรา ไม่คบคนประจบ อพลอซึ่งจะพาเราไปในทางเสีย นอกจากนี้จะต้องแสดงความเคารพบูชาบุคคลที่ควรบูชาเสมอๆ เราจะได้ตระหนักเสมอว่าผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่าเรายังมีอยู่

        2. ต้องมีโยนิโ มนสิการ คือรู้จักคิดไตร่ตรองเอง เช่น พิจารณาว่า อุจจาระปัสาวะของเราก็เหมือนกับของคนอื่นๆ เขา เราเองก็ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ถึงจะเก่งอย่างไรในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกัน ตัวเราไม่ได้วิเศษกว่าคนอื่นเลยสิ่งใดที่เป็นข้อถือตัวของเรา เช่น ชาติตระกูล ฐานะ รูปร่างหน้าตา ตำแหน่งหน้าที่การงาน บริวาร ให้หมั่นนำสิ่งนั้นมาพิจารณาเนืองๆ ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ ไม่จีรังยั่งยืน ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป
 

ลักษณะของผู้มีความถ่อมตน

        ผู้มีความถ่อมตน จะเป็นผู้ที่รู้คุณค่าของตนตามความเป็นจริง เจียมเนื้อเจียมตัว ทำให้มีลักษณะอาการแสดงออกที่ดีเด่นกว่าคนทั้งหลาย 3 ประการ ดังนี้

        1. มีกิริยาอ่อนน้อม คือไม่ลดตัวลงจนเกินควร และไม่ถือตัวจนเกินงาม มีกิริยาอันเป็นที่รักอ่อนละมุนละไมต่อคนทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยและผู้เสมอกัน รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน มีคุณสมบัติผู้ดีแสดงแก่คนทั้งหลาย โดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกว่าเขาจะมีฐานะสูงกว่าหรือต่ำกว่าตนสงบเสงี่ยมแต่ก็มีความองอาจ ผึ่งผายในตัว

        2. มีวาจาอ่อนหวาน คือมีคำพูดที่ไพเราะดูดดื่ม ออกมาจากใจที่ใสะอาดนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้างไม่พูดโอ้อวดยกตัว และไม่พูดกล่าวโทษลบหลู่ ทับถมคนอื่น เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดต่อใครย่อมออกวาจาขอโทษเสมอ เมื่อผู้ใดแสดงคุณต่อตนอย่างไรก็ออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ ไม่พูดเยาะเย้ยถากถาง ผู้ทำผิดพลาด ไม่ใช้วาจาข่มขู่ผู้อื่น เห็นใครทำดีก็ชมเชยสรรเสริญจากใจจริง

        3. มีใจอ่อนโยน คือมีใจนอบน้อม ละมุนละม่อม ถ่อมตัว มีใจอ่อนละไมแต่มิใช่อ่อนแอมีใจเข้มแข็งแต่มิใช่แข็งกระด้าง ไม่นิยมอวดกำลังความสามารถ แต่พยายามฝึกตนเองให้มีความสามารถถือคติว่า จงมีแรงเหมือนยักษ์ แต่อย่าใช้แรงอย่างยักษ์ ไม่ถือความคิดของตัวเป็นใหญ่ มีใจเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักลดหย่อนผ่อนผันแก่กัน ถือคติว่า ไม้ลำเดียวยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจสิบคนสิบความรู้สิบคนสิบความคิด แม้สิบคนก็สิบความเห็น เมื่อใครเขาไม่เห็นพ้องกับตนก็ไม่ด่วนโกรธแล้วค่อยๆ ปรับความคิดเห็นเข้าหากัน โดยยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแกนกลาง
 

ตัวอย่างความอ่อนน้อมถ่อมตน

        ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรถูกพระภิกษุรูปหนึ่งใส่ความว่า ทะนงตนว่าเป็นอัครสาวกแล้วแกล้งมาเดินกระทบตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระสารีบุตรในที่ประชุมสงฆ์ว่าเป็นจริงหรือไม่

        พระสารีบุตรทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้ามี ติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ระมัดระวังตน ประคองสติอันเป็นไปในกาย เสมือนบุรุษประคองถาด ซึ่งบรรจุน้ำมันอยู่เต็มเปียมและมีคนถือดาบอยู่เบื้องหลังพร้อมขู่ว่าถ้าน้ำมันหกจะประหารเสีย ข้าพระองค์ประพฤติตนเสมือนผ้าเก่าสำหรับเช็ดภาชนะ เสมือนโคที่เขาขาดเสียแล้ว เสมือนเด็กจัณฑาลที่พลัดเข้าไปในหมู่บ้าน ย่อมไม่มีอำนาจที่จะแกล้วกล้าอาจหาญประการใด....."

        เราดู ขนาดพระสารีบุตร ซึ่งก่อนบวชก็ร่ำเรียนจนเจนจบในวิชา 18 ประการมาแล้ว เปรียบสมัยนี้ก็เท่ากับได้ปริญญา 18 สาขา บวชแล้วก็ได้เป็นพระอรหันต์ เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีความอ่อนน้อมถ่อมตนถึงเพียงนี้ มีความเจียมตัวอยู่ตลอดเวลา เปรียบตนเองเหมือนผ้าขี้ริ้วเก่าๆที่เขาใช้เช็ดถ้วยชาม เหมือนโคที่เขาขาดแล้ว เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดในอินเดียสมัยนั้นไม่มีความถือตัวทะนงตนแม้แต่น้อย แล้วพวกเราซึ่งยังเป็นปุถุชนธรรมดาๆ อยู่นี่ล่ะ มีดีอะไรมากนักหนาจึงจะมาถือตัวกัน

        เมื่อพระสารีบุตรกล่าวอยู่เช่นนี้ พระภิกษุรูปนั้นก็เกิดความเร่าร้อนในสรีระเหมือนมีไฟมาเผาตัวอดรนทนอยู่ไม่ได้ ต้องลุกขึ้นขอโทษพระสารีบุตร และยอมรับสารภาพต่อหมู่สงฆ์ว่ากล่าวตู่ใส่ความพระสารีบุตร

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่า พระสารีบุตรมั่นคงเหมือนแผ่นดิน เหมือนเสาหิน เป็นผู้ไม่แสดงอาการยินดียินร้าย เป็นผู้คงที่และมีวัตรดี เป็นผู้ใสะอาดเหมือนน้ำที่ไม่มีฝุ่นหรือโคลนตมสังสารวัฏย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่นนี้
 

อานิสงส์การมีความถ่อมตน

        1. ทำให้อยู่เป็นสุข ไม่มีศัตรู
        2. ทำให้น่ารัก น่านับถือ น่าเคารพกราบไหว้
        3. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
        4. ทำให้ได้กัลยาณมิตร
        5. ทำให้สามารถถ่ายทอดคุณความดีจากผู้อื่นได้
        6. ทำให้ได้ที่พึ่งทั้งภพนี้ภพหน้า
        7. ทำให้ไม่ประมาท ตั้งอยู่ในธรรม
        8. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
        ฯลฯ

 

        บุคคลผู้เป็นบัณฑิตถึงพร้อมด้วยศีล ละเอียด มีปฏิภาณไหวพริบ ประพฤติถ่อมตนและ ไม่กระด้างเช่นนั้น ย่อมได้ยศ
        ที. ปา. 11/205/206

 

 

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ

        น้ำแม้เพียงน้อย ก็สามารถทำให้แก้วน้ำเต็มบริบูรณ์ได้
        ตรงข้าม แม้มีน้ำมากมหาศาล
        ก็ไม่สามารถทำให้มหาสมุทรเต็มบริบูรณ์

        ในทำนองเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองแม้เพียงน้อย
        ก็สามารถยังใจของผู้มีความสันโดษ
        ให้เต็มเปียมไปด้วยความสุขความพอใจ

        ตรงข้าม แม้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใด
        ใจของผู้ที่ไม่มีความสันโดษ
        ก็ยังเร่าร้อน กระวนกระวาย กระหายอยากได้อยู่นั่นเอง



สันโดษคือออะไร

        สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่าสันโตสะ สัน แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่า ยินดี ชอบใจ พอใจ อิ่มใจ จุใจ สุขใจ กับของของตน ความหมายโดยย่อคือ ให้รู้จักพอ รู้จักประมาณเรื่องสันโดษนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก เข้าใจกันว่าสันโดษทำให้ยากจนบ้างละเข้าใจว่าสันโดษทำให้เกียจคร้านบ้าง เข้าใจว่าสันโดษ ขัดขวางความเจริญบ้าง ขอให้เรามาพิจารณากันต่อไปว่าความเข้าใจของคนทั้งหลายนั้นเป็นจริงหรือไม่ ลักษณะสันโดษที่แท้จริงเป็นอย่างไร มีคุณหรือโทษ

 

ลักษณะของความสันโดษ

        ความยินดี ความสุขใจ ความพอใจ ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ที่จัดว่าเป็นสันโดษต้องมีลักษณะ 3 อย่างดังต่อไปนี้คือ
        1. เกนสันโดษ ยินดีกับของของตน
        2.สันเตนสันโดษ ยินดีกับสิ่งที่ได้มา
        3. เมนสันโดษ ยินดีโดยมีใจ ม่ำเสมอ

        ยินดีกับของของตน หมายถึง ยินดีกับสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว พอใจกับของของตนไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ของเราลูกเมียของเรา งานของเรา ประเทศชาติของเรา ถึงจะมีข้อบกพร่องอย่างไรก็ค่อยๆ แก้ไขกันไปให้ดีขึ้นไม่คิดไขว่คว้าแย่งชิงเอาของคนอื่นเขามาเป็นของตน

        ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนมีความพอใจในงานของตน ตั้งใจทำงานด้วยความขยันขันแข็งรอบคอบละเอียดลออเป็นที่ติดใจของลูกค้าสามารถเก็บหอมรอมริบทีละเล็กละน้อย จนตั้งตัวได้กิจการขยายใหญ่โตก็มีตัวอย่างให้เห็น

        บุคคลเมื่อพอใจในสิ่งใด เขาย่อมก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในสิ่งนั้น ความพอใจจะเป็นพลังหนุนให้เกิดความพยายามส่วนความไม่พอใจจะทำให้คนเหนื่อยหน่าย ระอิดระอาสันโดษข้อนี้ จะเป็นเครื่องกำจัดความเกียจคร้านเบื่อหน่าย และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

        ยินดีกับสิ่งที่ได้มา หมายถึง ยินดีกับของส่วนที่ตนได้มา คือเมื่อแ วงหาประโยชน์อันใด ทุ่มเท สติปัญญาความสามารถทำไปเต็มที่แล้ว ได้เท่าไรก็พอใจเท่านั้น อาจจะได้ไม่ถึงเป้า ประณีต วยงามไม่ถึงเป้าก็พอใจยินดีเพียงแค่นั้น ไม่ถึงกับกระวนกระวายเป็นทุกข์ เพราะได้ไม่สมอยาก ไม่เป็นคนชนิดที่ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา

        คนที่ขาดลักษณะสันโดษข้อนี้ มักเป็นคนดูถูกโชควา นาของตนเอง พยายามดิ้นรนหาเพราะความไม่รู้จักพอจนเดือดร้อน แทนที่จะชอบส่วนที่ได้กลับนึกเกลียดชัง รำคาญใจ แล้วเอาความชอบใจไปฝากไว้กับส่วนที่ตัวไม่ได้

        คนทอดแหหาปลาที่ขาดสันโดษข้อนี้ มักจะคิดเสมอว่าปลาตัวที่หลุดมือลงน้ำตัวโตกว่าตัวที่จับได้เกลียดปลาตัวที่จับได้ แต่พอใจปลาตัวที่หลุดมือ ผลที่สุดก็ต้องกินปลาตัวที่เกลียด แล้วเฝ้าทุกข์ใจเสียดายปลาตัวที่หลุดมือ คนประเภทนี้ไม่มีหวังได้กินปลาอร่อยๆ จนตาย เพราะคิดเสมอว่า ตัวที่อร่อยที่สุด คือตัวที่จับไม่ได้

        ยินดีโดยมีใจสม่ำเสมอ หมายถึง ไม่รู้สึกดีใจจนเกินไปในเมื่อได้พบสิ่งที่ถูกใจ และไม่เสียใจจนเกินไป เมื่อต้องประสบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ
 

ประเภทของสันโดษ
        สันโดษมี 3 อย่างคือ
        1. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้
        2. ยถาพลสันโดษ ยินดีสิ่งที่ควรแก่สมรรถภาพ
        3. ยถาสารุปสันโดษ ยินดีตามควรแก่ฐานะ

        ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมา ก็พอใจอย่างนั้น ไม่เสียใจถ้าได้ไม่เท่าที่ต้องการ แต่ขวนขวายสร้างเหตุให้ดีที่สุด และให้ดียิ่งๆขึ้นไป เช่น เป็นข้าราชการขยันทำงาน ตั้งใจว่าน่าจะได้เลื่อนขั้นสัก 2 ขั้น แต่ถ้าเกิดได้เลื่อนแค่ขั้นเดียว ก็ไม่เสียใจ พอใจว่าได้เลื่อนขึ้นมา 1 ขั้น ก็ทำงานสร้างประโยชน์ได้มากกว่าเดิมแล้วจากนั้นก็ตั้งใจทำงานในหน้าที่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

        ยินดีสิ่งที่ควรแก่สมรรถภาพ คือคนเรามีความสามารถไม่เท่ากัน ทั้งกำลังกาย กำลังความคิดกำลังใจ กำลังความดี ก็ให้รู้ความสามารถของตนเองและแสวงหาหรือยอมรับเฉพาะของที่ควรแก่สมรรถภาพของตนเองเท่านั้น ไม่เป็นคนตีราคาตัวเองผิด คิดเอาง่ายๆ ตื้นๆ ว่าเขาเป็นอะไรตัวก็จะเป็นได้อย่างเขาทุกอย่างเข้าทำนอง "เห็นเขานั่งคานหาม เอามือประสานก้น" ความสามารถเป็นได้แค่ รัฐมนตรีก็ไม่ดิ้นรนไปเป็นนายก หรือความสามารถแค่เป็นคนใช้ก็อย่าริเป็นคุณนาย

        ยินดีสิ่งที่สมควรแก่ฐานะ คือให้พิจารณาว่าเรามีฐานะเป็นอะไร นักบวช ชาวบ้าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย ครู นักเรียน นายพัน นายร้อย นายสิบ อธิบดี เสมียน ฯลฯ แล้วก็แสวงหาหรือยอมรับแต่ของที่ควรกับฐานะของตน ไม่เป็นคนใฝ่สูงเกินศักดิ์ เช่น เราเป็นผู้น้อยก็ไม่ควรใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่หรูหราราคาแพงเกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา เพราะอาจทำให้เกิดความหมั่นไส้ อิจฉาริษยา และไม่เป็นผลดีกับตัวเรา ไม่เป็นคนประเภทจมไม่ลง

        สันโดษทุกประเภทจะต้องประกอบด้วยศีลธรรม คือของใดก็ตามแม้เราจะได้มา แต่ถ้าไปยินดีกับของนั้นแล้วจะทำให้ผิดศีลธรรม เสียชื่อเสียง เสียเกียรติยศ เสียศักดิ์ศรี ก็ไม่ควรยินดีกับสิ่งนั้น เช่น ของที่ลักปล้นโกงเขามา ของที่เป็นสินจ้างในทางที่ผิด ไม่เป็นคนลุแก่อำนาจความมักได้
 

ข้อเตือนใจ
        คนจำนวนมากเข้าใจสันโดษผิด คิดว่าสันโดษคือการไม่ทำอะไร หรือการพอใจอยู่คนเดียว
        การไม่ทำอะไรนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า โกสัชชะ คือเกียจคร้าน ไม่เรียกว่าสันโดษ
        การพอใจอยู่คนเดียวนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า ปวิวิตตะ ไม่เรียกว่าสันโดษ

        คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องสันโดษนั้น ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้าน ท้อถอยไม่ทำการงาน หรือทำงานเรื่อยๆ เฉื่อยแฉะ เป็นภัยต่อความเจริญความก้าวหน้าอย่างที่เข้าใจกัน ตรงกันข้ามมงคลข้อนี้ชี้ให้เห็นอย่าง เด่นชัดว่า ถ้าแต่ละคนรู้จักสถานภาพของตนเองสำนึกในฐานะ ความสามารถ และความมีคุณธรรมของตนอยู่เสมอแล้ว ความมีสันโดษจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จะทำให้ทุกคนพอใจกับของของตน พอใจกับของที่ตนได้มา และพอใจกับของที่สมควรแก่ตน จะไม่มีการเบียดเบียน แก่งแย่งชิงดีอิจฉาริษยา ให้ร้ายป้ายสี ฉ้อโกงกัน ฯลฯ

        การแก่งแย่งชิงดีกันในหมู่ผู้ใหญ่จนถึงทำลายกัน ใส่ร้ายป้ายสีกัน การทุจริตและมิจฉาชีพต่างๆ ที่ระบาดในสังคมทุกวันนี้ก็เพราะใจของคนเหล่านั้นไม่มีสันโดษ มุ่งจะเอาแต่ได้ ไม่คำนึงถึงผิดชอบชั่วดีความเห็นแก่ตัวของผู้มีอำนาจการกอบโกยฉวยโอกาสของพ่อค้านักธุรกิจ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนส่วนมาก ความเร่าร้อนใจเพราะโลภจัด ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จนกลายเป็นมัวเมาในวัตถุ ทะเยอทะยานจนเกินกำลังความสามารถของตน ได้มาโดยสุจริตไม่ทันใจ ก็ลงมือประกอบการทุจริตต่างๆเพื่อ นองความอยากอันเผาลนจิตใจอยู่ ดำเนินชีวิตไปอย่างไร้เหตุผลก็เพราะขาดสันโดษนั่นเอง

        การพัฒนาสังคมจำเป็นต้องมีทั้งสันโดษและความเพียร เพราะความเพียรพยายามที่ไม่มีสันโดษควบคุมย่อมเกินพอดี และนำไปสู่ทางที่ผิดได้ง่าย ล่อแหลมต่ออันตรายเหมือนรถไม่มีเบรคหรือเบรคแตกย่อมวิ่งเลยขีด ที่ต้องการไป ตกหลุมตกบ่อลงเหวข้างทางได้ง่าย บังคับให้หยุดไม่ได้ตามความปรารถนาฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าสันโดษเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นไปเพื่อความเจริญสุขทั้งแก่ตนเองครอบครัว และสังคมประเทศชาติ หัวใจของผู้มีความสันโดษเท่านั้น จึงจะเหมาะแก่การปลูกฝังคุณธรรมอื่นๆและคนมีสันโดษเท่านั้นจึงจะทำความดีได้ยั่งยืนไม่จืดจาง และทำดีด้วยความสุจริตใจ ที่สังคมพันาไปได้ช้าเพราะคนขาดสันโดษต่างหาก หาใช่เพราะคนมีสันโดษไม่
 

สี่งที่คนทั่วไปไม่รู้จักพอ
        คนทั่วไปไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งต่อไปนี้
        1. อำนาจวาสนา เช่น เป็นผู้อำนวยการกองก็ไม่พอ อยากเป็นอธิบดี หรือเป็นผู้แทนราษฎรก็ไม่พออยากเป็นรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่ความสามารถไม่ถึง
        2. ทรัพย์สมบัติ เช่น มีบ้านหลังเล็กก็ไม่พอ อยากจะได้บ้านหลังใหญ่ มีเงินล้านก็ไม่พอ อยากจะได้เงินสิบล้าน
        3. อาหาร เช่น มีอาหารธรรมดารับประทานก็ไม่พอ ยังอยากจะไปรับประทานอาหารแพงๆ ตามภัตตาคารหรูๆ
        4. กามคุณ เช่น มีสามีหรือภรรยาแล้วก็ไม่พอ อยากจะมีใหม่อีก

        วิธีสร้างความสุขสร้างความเจริญก้าวหน้า ต้องเริ่มด้วยการรู้จักพอใจ กับสิ่งที่ตัวมีอยู่ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ไม่ไขว่คว้าทะเยอทะยานจนเกินเหตุ เช่น เป็นหัวหน้าแผนก อยากให้มีความสุขความก้าวหน้าก็ให้พอใจในตำแหน่งของตนแล้วตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ความสุขก็เกิด ความเจริญก้าวหน้าก็จะมีมาเองเป็นสามีหรือภรรยาอยากมีความสุขก็ให้พอใจในคู่ครองของตน แล้วทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ความสงบสุขในครอบครัวก็จะมีมาเอง ไม่ใช่เที่ยววิ่งวุ่นมีบ้านเล็กบ้านน้อย ยิ่งมีก็ยิ่งทุกข์ หาความสุขไม่ได้สักที

        โบราณท่านผูกเรื่องสอนใจไว้ว่า มีสุนัขอดโซตัวหนึ่งเดินพลัดหลงทางเข้ามาในบ้าน เจ้าของบ้านงสารหาน้ำข้าวให้กิน พอกินน้ำข้าวได้ 7 วัน วันที่ 8 จะกินข้าว พอเจ้าของบ้านหาข้าวให้กิน กินข้าวได้ 7 วัน วันที่ 8 จะกินกับ พอเจ้า

ของบ้านหากับให้กิน กินกับข้าวได้ 7 วัน วันที่ 8 จะขึ้นโต๊ะกินร่วมกับเจ้าของบ้านจึงถูกไล่เผ่นออกจากบ้านเพราะมันเป็นโรคไม่รู้จักพอ โรคชนิดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์ ทั้งในหญิงและชาย ทั้งในคนจนและคนรวย ทั้งในคนมีความรู้และคนไม่มีความรู้

 

สันโดษเป็นต้นทางแห่งความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร

ความสุขในโลกนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

        1.สามิสสุข เป็นความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอก มาตอบสนองความต้องการทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความคิดอยากต่างๆ เป็นความสุขขั้นหยาบ เพราะมีทุกข์เจือปนมากตลอดเวลา มีอาการคือ
                1.1 ต้องแสวงหาดิ้นรนกระวนกระวายเป็นอาการนำหน้าเนื่องจากของทั้งหลายหาได้ยากมีจำกัด
                1.2 เมื่อได้มาก็ต้องระวัง รักษา ยึดติด คับแคบ อึดอัด หวงแหน ผูกพัน กลัวสูญหาย
                1.3 ถ้าไม่ได้มา ถูกขัดขวางก็ขัดใจ คิดทำลาย คิดอาฆาต พยาบาท จองเวร

        2. นิรามิสสุข เป็นความสุขภายใน ที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมา นองความอยากเป็นความสุขขณะที่ใจมีลักษณะ

        สะอาด                         ไม่มีกิเลสปน
        สงบ                             ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย
        เสรี                               เป็นอิสระ โปร่งเบา ไม่คับแคบ
        สว่างไสว                     ประกอบด้วยปัญญา เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
        สมบูรณ์                       ไม่มีความรู้สึกขาดแคลน ไม่รู้สึกบกพร่อง ไม่ว้าเหว่ มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานอิ่มเอิบอยู่ภายใน

        นิรามิสสุขจึงเป็นความสุขที่แท้จริง เป็นภาวะสุขที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ตามมา ซ้ำยังช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ด้วย ผู้ที่จะมีนิรามิสุขได้จะต้องมี ภาพใจที่สงบไม่ดิ้นรน คือมีความสันโดษเสียก่อน ยิ่งสันโดษต่อสามิสุขมากเท่าไร ก็ยิ่งได้นิรามิสสุขมากขึ้นเท่านั้น

 

การหาเลี้ยงชีพอย่างมีสันโดษ
        ในการดำรงชีพ พระพุทธศาสนามุ่งให้ทุกคนหาปัจจัย 4 หล่อเลี้ยงร่างกาย พอเพียงเพื่อให้สังขารนี้สามารถดำรงอยู่ได้ตามอัตภาพ จากนั้นก็ใช้ร่างกายนี้สร้างความดีต่างๆ ให้เต็มที่ทุกรูปแบบทุกโอกาสมิได้มุ่งหมายให้คนเราดิ้นรนไขว่คว้าทะเยอทะยานจนเกินเหตุ เพื่อให้มีวัตถุต่างๆ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ไว้บำรุงบำเรอตน

        เพราะฉะนั้นความสำเร็จในการพันาเศรษฐกิจของประเทศ มิใช่วัดด้วยการมีทรัพย์สินเต็มท้องพระคลังหรือเต็มล้นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่อยู่ที่ไม่มี คนอดอยากยากไร้ต่างหาก
        การไม่มีคนยากจน เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของรัฐได้ดีกว่าการมีคนร่ำรวย

 

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สิน
        1.การแสวงหา ต้องหามาโดยชอบธรรม ไม่ข่มเหงรังแกใคร ไม่ทำผิดกฎหมาย ผิดประเพณี ผิดศีล ผิดธรรม
        2. การใช้ ไม่เป็นคนตระหนี่และไม่ฟุ่มเฟอย ให้รู้จักใช้ทรัพย์เลี้ยงตนและคนเกี่ยวข้องให้เป็นสุขรู้จักทำทาน เผื่อแผ่ แบ่งปัน ใช้ทรัพย์ทำสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
        3. ทัศนคติเกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ถือว่าทรัพย์สินเงินทองเป็นพระเจ้า แต่เป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต

 

ประเภทของคนจน
        คนจนในโลกนี้มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
        1. จนเพราะไม่มี คือคนที่ขัดสนทรัพย์ มีทรัพย์น้อย จัดว่าเป็นคนจนชั่วคราว ถ้าหากทำมาหากินถูกช่องทาง ย่อมมีโอกาสรวยได้
        2. จนเพราะไม่พอ คือคนที่มีทรัพย์มากแต่ไม่รู้จักพอ จัดว่าเป็นคนจนถาวร เป็นเศรษฐีอนาถาต้องจนจนตาย

        สันโดษ คือการรู้จักพอ จึงเป็นคุณธรรมที่มหัศจรรย์สามารถทำให้คนเลิกเบียดเบียนกันเลิกฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เลิกสะเพร่า เลิกสงคราม ทำให้คนอิ่มใจได้ แม้มีทรัพย์ มียศ มีตำแหน่งน้อย และทำให้คนรวยเป็นเศรษฐีได้ โดยสมบูรณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

 

        สนฺตุฏฐี ปรม ธน
        ความสันโดษเป็นยอดทรัพย์
        ขุ. ธ. 25/25/42

 

วิธีฝึกให้มีสันโดษ
        1. ให้หมั่นพิจารณาถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย อยู่ตลอดเวลา ว่าเราจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้ ไปไม่ได้ ถึงดิ้นรนหาเงินทองมากเท่าไร ก็นำติดตัวไปไม่ได้ เมื่อพิจารณาบ่อยเข้าความโลภก็จะลดลง แล้วความสันโดษ ก็จะเกิดขึ้น
        2. ให้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร กินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน เป็นการฝึกสันโดษขั้นพื้นฐานที่เราต้องปฏิบัติอยู่ทุกวัน
        3. ให้หมั่นให้ทานอยู่เสมอๆ เป็นการฆ่าความตระหนี่ ความโลภในตัวไปทีละน้อยๆ เมื่อทำบ่อยๆ เข้า แล้วความสันโดษก็จะเกิดขึ้น
        4. ให้หมั่นรักษาศีล โดยเฉพาะศีล 8 ผู้ที่รักษาศีล 8 จะช่วยให้เกิดความสันโดษในหลายเรื่อง เช่น ศีลข้อ 3 ทำให้สันโดษในกามคุณ ศีลข้อ 6 ทำให้สันโดษในเรื่องอาหาร ศีลข้อ 7 ทำให้สันโดษในเรื่องเครื่องนุ่งห่มการแต่งเนื้อแต่งตัว 

และศีลข้อ 8 ทำให้สันโดษในเรื่องที่อยู่อาศัยที่หลับนอน
        5. ให้หมั่นทำสมาธิเป็นประจำ เมื่อทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอจิตใจก็ จะสงบนุ่มนวลขึ้น ความอยากเด่นอยากดัง หรืออยากได้ในทางที่ไม่ชอบก็จะค่อยๆ หายไป

 

วิธีฝึกสันโดษในสังคมไทย
        สังคมไทยตั้งแต่โบราณ มีวิธีฝึกสันโดษได้ผลดีเยี่ยมอย่างหนึ่งก็คือ การบวช แม้จะเป็นการบวชช่วงสั้นเพียงพรรษาเดียวก็ตาม
        ผู้บวชจะมีโอกาสัมผัสกับความสุขชนิดไม่อิงวัตถุ แต่เป็นความสุขใจที่เกิดจากความพอเกิดจากความสงบภายใน ซึ่งในชีวิตประจำวันหาโอกาสทำได้ยาก
        ผู้บวชเป็นพระภิกษุ จะได้สัมผั กับความสุขในขณะที่มีเครื่องนุ่งห่มครองกายเพียงผ้า 3 ผืน มีบาตร 1 ใบ บิณฑบาตเลี้ยงชีพ จะได้สัมผัส ความสุขจากการไม่มีห่วง ไม่มีการสะสม ไม่ถูกผูกมัดจากวัตถุ มีอิสระโปร่งเบา เหมือนนกน้อยในอากาศ เปรียบเทียบกับความสุขหยาบๆ หลอกๆ ในขณะที่เป็นฆราวาสซึ่งเป็นสุขปนทุกข์ ต้องแ วงหาเป็นห่วงและหวงแหนอยู่ตลอดเวลา ทำให้เข้าใจถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของการมีสันโดษ

 

อานิสงส์การมีสันโดษ
        1. ทำให้ตัดกังวลต่างๆ เสียได้
        2. ทำให้ออกห่างจากอกุศลกรรม
        3. ทำให้มีความ บายกายสบายใจ
        4. ทำให้พ้นจากความผิดพบแต่สิ่งถูกต้อง
        5. ทำให้ศีลธรรมเกิดในใจได้ง่าย
        6. ทำให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง
        7. ทำให้มีกำลังใจสูง รู้ว่าสิ่งใดไม่ดีก็ไม่ฝ่าฝนทำ
        8. นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน
        9. ทำให้มีโอกาสกระทำแต่สิ่งดีๆ ยิ่งๆ ขึ้น
        10. ได้ชื่อว่านำพระพุทธศา นาให้รุ่งเรือง
        ฯลฯ

        ภิกษุผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุขในทิศทั้ง 4 และเป็นผู้ไม่กระทบกระทั่งสันโดษอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำเสียซึ่งอันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว เป็นผู้เดียวเช่นกับนอแรด พึงเที่ยวไป
ขุ.สุ. 25/296/333

 

 

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู

        คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นโลก
        แม้ดวงอาทิตย์จะส่อง ว่างอยู่ฉันใด
        คนใจบอด ย่อมไม่มีความกตัญู
        แม้จะได้รับความเมตตากรุณาจากผู้มีอุปการคุณฉันนั้น

 

ความกตัญญูคืออะไร
        ความกตัญูญ คือความรู้คุณ หมายถึง ความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม เช่น เลี้ยงดูสั่งสอนให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย

        อีกนัยหนึ่ง ความกตัญู หมายถึง ความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญ ที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้น และสร้าง มบุญใหม่ให้ยิ่งๆขึ้นไป

        รวมความแล้ว กตัญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก

 

สิ่งที่ควรกตัญญู
        สิ่งที่ควรแก่ความกตัญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ ได้แก่
        1. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

        ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

        2. กตัญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน และเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยากให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

        ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูหนีไปทัน ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาป ถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

        3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียนสถานศึกษาวัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ หาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลนไม่ทำลาย

        ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจอย่างนี้ก็มี

        มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า
        อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงาก็หาควรจะหักกิ่ง ริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถากเปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคลเป็นเบื้องหน้า

        4. กตัญญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่ง มมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

        5. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะได้อาศัยใช้ในการทำความดีใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้าเสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกายนี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง


ความกตัญญููจำเป็นอย่างไรในการสร้างความดี?
        การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเล รุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอดยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญู

        ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลายครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เา ดูน่า นุกกว่ามาก แต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีเพียงใด พอคิดเท่านี้ความกตัญูเกิดขึ้นก็มีแรงสู้ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้มุมานะ ตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ให้คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ได้อายโดยเด็ดขาด

        แม้ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศา นา แน่นอนว่าในการทำงานนั้นจะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน คนเราหลายคนก็หลายความเห็น ต่างคนก็ต่างตั้งใจดีกันทั้งนั้น แต่ความคิดความอ่านความสามารถอาจไม่เท่ากัน และบางครั้งก็เกิดจากทิฏฐิมานะคิดไปว่า ถึงแกจะหนึ่งแต่ฉันก็แน่เหมือนกัน ทำให้ไม่ยอมกัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต่างก็กำลังฝึกฝนตนเองอยู่ กิเลส ในตัวก็ยังมียังไม่ได้หมดดังนั้นถ้าไม่รู้จักควบคุมให้ดี จึงมีโอกาสขัดใจกันได้ หรือบางทีออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะ ก็พบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย พูดนินทาว่าร้าย เยาะเย้ยถากถางเอาบ้าง

        เพราะเหตุนี้จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมหลายๆ คนเบื่อหน่ายท้อถอย และเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย

        แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้นเพียงแต่นึกว่า ที่ตัวเราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะ รู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสีย ละอุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้าจนตรัสรู้หลักอริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา ได้คิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายามที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไป ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป ว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปหนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูป สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง 16 กิโลเมตร ยาว 16 กิโลเมตรสูง 16 กิโลเมตร ทุก 100 ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมดเรียบเสมอพื้นดิน ระยะเวลานั้นเท่ากับกัปหนึ่ง  1 อสงไขย  10 ยกกำลัง 140 คือจำนวนที่มีเลข 1 และมีเลข 0 ต่อท้าย 140 ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

        ความกตัญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป

 

อานิสงส์การมีความกตัญญู
        1. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้
        2. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก
        3. ทำให้เกิด ติ ไม่ประมาท
        4. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ
        5. ทำให้เกิดขันติ
        6. ทำให้จิตใจผ่องใสมองโลกในแง่ดี
        7. ทำให้เป็นที่ รรเสริญของคนดี
        8. ทำให้มีคนอยากคบหา มาคม
        9. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ
        10. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย
        11. ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย
        12. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
        ฯลฯ

        บุคคลผู้อกตัญู ย่อมถึงอนิฏฐผล
        มีนินทาเป็นต้น
        ส่วนบุคคลผู้กตัญู
        แม้พระศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ

 

 

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล
 

        กระจกเงาสามารถสะท้อนให้เห็นความ วยงาม
        หรือขี้ริ้วของร่างกายเราได้ฉันใด
        การฟังธรรมตามกาล
        ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความดีงาม
        หรือความบกพร่องในตัวเราได้ฉันนั้น

 

การฟัง ธรรมตามกาลหมายถึง อะไร
        การฟังธรรมตามกาล คือการขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้น มาเป็นกระจกะท้อนดูตนเองว่ามีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไรเช่นเมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความกตัญูแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาสำรวจดูใจของตนเองทันทีว่า เรามีความกตัญญูไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร เมื่อฟังธรรมแล้วสำรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรจึงจะดี

 

กาลที่ควรฟังธรรม
        1. วันธรรมสวนะ คือวันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ 7 วันครั้ง ทั้งนี้ เพราะธรรมดาคนเราเมื่อได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก 7 วัน ชักจะเลือนๆ ครู อาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น 7 วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง

        2. เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือเมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

        2.1 เมื่อกามวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ รูป รสกลิ่น เสียงสัมผัสห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ

        2.2 เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือเมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศศักดิ์ศรีก็ตาม

        2.3 เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือเมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา
เมื่อใดที่ความคิดทั้ง 3 ประเภทนี้เกิดขึ้น ให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้นอาจไปทำผิดพลาดเข้าได้

        3. เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือเมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรมะมาแสดงธรรม ให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถ ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน
 

คุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี
        อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลย ผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟังจะต้องอยู่ในธรรมถึง 5 ประการ
        นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี 5 ประการ คือ

        1. ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับเรื่อง ไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นตอน ลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง

        1.1 มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์ อนดีพอ ทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง

        1.2 มีวาทศิลป มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้ ภาพจิตใจของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง

        1.3 ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแ ดงล่วงหน้า ทำอะไรมีแผน ไม่ดูเบาไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้

        2. ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่งไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสัยซักถามจุดไหนประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้

        3. ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปียมในใจพูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทันสติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดีต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยชน์แก่ผู้ฟังเต็มที่ไม่ใช่พูดแบบขอไปที

        4. ต้องไม่แ ดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะเพราะฉะนั้นไม่ว่าการแ ดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไรก็ไม่ถือเป็นอารมณ์แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่ แต่งานของคนกระจอกงอกง่อยก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงธรรมก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ถ้าเอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็ เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว

        5. ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่างเรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหายการฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นการกระทำผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ

        เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบแทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติควบคุมผู้ทำการสอนพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาได้ยากในศาสนาอื่นๆ
 

คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี

        1. ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายไป เช่น
        โถ เรื่องง่ายๆ อย่างนี้ มาสอนคนอย่างเรา เราก็เข้าวัดมาตั้งนานแล้ว เหมือนดูถูกกันนี่
        อย่าคิดอย่างนั้น เพราะธรรมะทุกบททุกข้อในพระพุทธศาสนามีอานิสงส์ว่า ถ้าใครนำไปปฏิบัติจริงๆอย่างยิ่งยวด แม้เพียงข้อเดียวเท่านั้นก็สามารถ ทำกิเล ให้หมดเข้านิพพานได้ทั้งสิ้น เช่น การไม่คบคนพาลซึ่งเป็นธรรมะขั้นพื้นฐาน 

แต่ถ้าเราไม่คบคนพาลจริงๆ โดยเฉพาะพาลภายใน คือนิสัยไม่ดีต่างๆ ในตัวไม่ยอมคบด้วยตัดทิ้งให้เด็ดขาดก็เข้านิพพานได้ หรือหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปถ้าเรามีคุณธรรมข้อนี้อย่างเต็มที่สิ่งใดที่เป็นบาปแม้เพียงน้อย

นิดก็ไม่ยอมคิดพูดหรือทำโดยเด็ดขาดร้างแต่บุญกุศลอย่างเต็มที่ อย่างนี้ถ้าไม่ให้เข้านิพพานแล้วจะให้ไปไหน

        2. ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แ ดงธรรม
        โถ พระเด็กๆ เรานี่หลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้ว มาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไรอย่าคิดอย่างนั้น
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนถึงสิ่งต่อไปนี้ไว้ว่าอย่าดูแคลน

        2.1 อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะมันเผาเมืองได้

        2.2 อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้

        2.3 อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยังน้อยก็เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราช ตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษ ปกครองถึงค่อนโลก

        2.4 อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูปแม้อายุยังน้อย ก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ 7 ขวบ เป็นพระอรหันต์แล้ว

        3. ไม่ดูแคลนตัวเองว่าโง่จนไม่สามารถรองรับธรรม
        โถ ไอ้เรามันโง่ดักดานอย่างนี้ กิเล ในตัวก็หนาปึกถึงไปฟังธรรม ก็คงไม่รู้เรื่อง ไม่ไปดีกว่า
        อย่าคิดอย่างนั้น เพราะถึงแม้ ติปัญญาจะไม่เฉลียวฉลาด แต่ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ แล้ว ก็อาจบรรลุธรรมได้ ใน มัยพุทธกาลมีตัวอย่างอยู่มาก พระบางรูปปัญญาทึบมาก ธรรมะแค่ 4 บรรทัดท่องจำเป็นเดือนๆ ยังท่องไม่ได้ แต่มีความเพียรไม่ย่อท้อ พอ บโอกาสเหมาะได้ฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแ ดงธรรม และทรงแนะนำวิธีการทำสมาธิให้โดยแยบคาย พอปฏิบัติตามก็สำเร็จมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์ได้ ตัวเราเองก็ไม่แน่ มีโอกาสเหมือนกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ถึงฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้า เมื่อได้ฟังซ้ำอีกก็จะเข้าใจได้ง่าย

        4. มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม
        ฟังธรรมด้วยความตั้งใจขณะฟังธรรม ไม่พูดคุย ไม่ล้วงแคะแกะเกา เพราะในการฟังธรรมนั้นยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไรก็สามารถน้อมนำใจตามไป เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้นในสมัยพุทธกาล เวลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาในเรื่องสำคัญๆ ที่ละเอียดลึกซึ้ง จะทรงหลับพระเนตรเทศน์ในสมาธิ ผู้ฟังก็จะหลับตาทำสมาธิฟัง จึงสามารถน้อมใจไปตามธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งลุ่มลึกไปตามลำดับ ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานกันเป็นจำนวนมาก พวกเราก็ต้องตั้งใจฟังธรรม ฝึกให้มีสมาธิขณะฟังธรรมตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนด้วย

        5. มีโยนิโสมนสิการ
        คือรู้จักพิจารณาตามธรรมนั้นอย่างแยบคาย พอฟังแล้วก็คิดตามไปด้วยรู้จักจับแง่มุมมาพิจารณาขบคิดตาม ทำให้มีความแตกฉานเข้าใจในธรรมได้เร็วและลึกซึ้ง

 

อุปนิสัยจากการฟังธรรม

        อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชินที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไป เป็นพื้นใจในภายหน้า

        การฟังธรรม จะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเรา แล้วเป็นเครื่องอุดหนุนให้เรามีความเจริญรุ่งเรือง และเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรม แล้วพยายามศึกษาทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ 4 ประการ คือ

        1. เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น ย่อมมีปัญญารู้ธรรมได้เร็วสามารถระลึกได้ด้วยตนเองและปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

        2. เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น เมื่อรู้ธรรมแล้วก็สามารถสั่ง อนคนอื่นได้ด้วย ตนเองก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

        3. เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้แสดงธรรมให้ฟัง ก็ย่อมระลึกได้ มีความเข้าใจปรุโปร่ง ไม่คลางแคลงสงสัย ทำให้สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว เหมือนคนที่เคยได้ยินเสียงกลองมาแล้ว พอเดินทางไปในที่ไกลแล้วได้ยินเสียงกลองอีก ก็รู้ทันทีว่านั่นเสียงกลอง ความคลางแคลงสงสัยว่านั่นใช่เสียงกลองหรือไม่ ย่อมจะไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น

        4. เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้และไม่มีผู้แสดงธรรม แต่เมื่อมีผู้ตักเตือนด้วยคำเพียงไม่กี่คำ หรือแม้บางครั้งได้ยินโดยบังเอิญก็ทำให้สามารถระลึกธรรมได้และมีความเข้าใจสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

        พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมายของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความ งบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้าได้ยินใครสวดมนต์ ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะมีอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

 

อานิสงส์การฟังธรรมตามกาล
        1. เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษาค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน

        2. เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉานสามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

        3. เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเล งสัยนั้นหมดไปตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

        4. เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือกิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไรแล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสีย ประคองความเห็นที่ถูกไว้

        5. เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น คือการฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือน ติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และ อดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

        ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลายสมัยใดพระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จดกระดูกฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ 5 ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ 7 ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปียม เพราะอำนาจแห่งภาวนา

สํ. ม. 19492134

 

 

จากหนังสือ DOU กองวิชาการ  มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

วิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

DOU GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022362065315247 Mins