ว่าด้วยรัตนะ

วันที่ 07 เมย. พ.ศ.2548

phramongkol1.jpg

.....รตฺตนตฺตยํ นั้น แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ สามรัตนะนี้ประเสริฐกว่าสวิญญญาณกรัตนะที่มีในไตรภพด้วยเป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก กามโลกมีรัตนะที่ใช้กันอยู่ เช่นเพชร หรือแก้วทั้งเป็นและตายที่เป็นดังรัตนะเจ็ดของจักรพรรดิ ที่ตายดังรัตนะที่นำมาจากต่างประเทศโดยมาก รูปโลกก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขา อรูปโลกก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขาดุจกัน ตั้งแต่เทวดาขึ้นไปมีรัตนะทั้งเป็นและตาย เป็นเครื่องให้เทวดา พรหม และอรูปพรหมอาศัยรัตนะเหล่านี้ และเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม ได้เท่ากำลังของรัตนะนั้น ๆ ดังนี้เป็น รัตนะ ๓ ส่วนโลก ที่เกิดของ รัตนะ ๓ ส่วนธรรมต้องบรรยายแต่เหตุไป รัตนะทั้ง ๓ นี้เป็นรัตนะที่เป็นไม่ใช่รัตนะที่ตาย แต่ที่เกิดรัตนะ ๓ นั้นทำให้มีขึ้นได้ด้วยความเพียรระวังกาย, วาจา, ใจ ให้บริสุทธิ์ เพียรละ กาย, วาจา, ใจ, ไม่บริสุทธิ์เสีย เพียรทำกาย, วาจา, ใจ บริสุทธิ์ให้เกิดมีขึ้น เพียรรักษา กาย, วาจา, ใจ, ที่บริสุทธิ์แล้วให้คงที่และทวีขึ้น ความที่มีขึ้นแล้วแห่งความบริสุทธิ์นั้นให้รักษาไว้อย่าให้หายไปเสีย นึกถึงความบริสุทธิ์นั้นแหละร่ำไป จนใจของตนบริสุทธิ์เหมือนกับความบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเห็นความบริสุทธิ์ใสปรากฏอยู่ตรงกลางของกายมนุษย์เหนือสะดือขึ้นมาราว ๒ นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ เป็นดวงประมาณเท่าฟองไข่แดงใสบริสุทธิ์ดุจกระจกที่ส่องดูหน้าในเวลาแต่งหน้าและแต่งตัวประมาณของดวงไม่คงที่ บางทีโตกว่าเล็กกว่าก็ได้อย่างโตไม่เกินดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อย่างเล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน นี้เป็นเครื่องกำหนดของดวง ดวงนั้นแหละคือปฐมมรรค จำเดิมแต่เห็นดวงปฐมมรรคแล้วก็เอาใจของตนจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงนั้นเสมอในอริยาบถทั้ง ๔ จนกระทั่งใจของตนนั้นไม่ไปจรดในที่อื่น หยุดอยู่ที่กลางดวงของปฐมมรรคเสมอ เมื่อใจหยุดได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับใจนั้นเข้าไปในศูนย์กลางของดวงก็จะเห็นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรที่ศูนย์กลางของดวงนั้น ในเมื่อส่งรู้เข้าไปในกลางว่างเต็ม ทั้งคิด ทั้งจำ ทั้งเห็นแล้ว ก็จะเห็นกายทิพย์ของตัวเองในกลางของว่างนั้น เห็นดังนี้ชื่อว่าเห็นกายในกาย คือกายทิพย์ในกายมนุษย์ แล้วเข้าดูดวงปฐมมรรคในกายทิพย์ที่ตรงศูนย์ของกายทิพย์อีก ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกายทิพย์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้าอีก แล้วเอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางของดวง ทำแบบเดียวกับทำมาแล้ว ก็จะเห็นกายรูปพรหมในกลางของดวงนั้น กายนั้นเหมือนกายของตัวเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนกายของตนเองทำใหม่จนเห็นเหมือนกายของตนเองจริง ๆ แล้ว ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือกายรูปพรหมในกายทิพย์ แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกลางกายรูปพรหมดุจที่เห็นมาแล้ว เอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางดวงก็จะเห็นกายอรูปพรหมในกลางดวงนั้น รูปเหมือนตัวเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนทำใหม่จนเหมือน แต่พอเหมือนแล้วใช้ได้ เรียกว่าเห็นกายในกาย คือเห็นกายอรูปพรหม แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายอรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นดวงใสในกลางกายอรูปพรหมดุจเห็นมาแล้ว เอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางดวงก็จะเห็นกายธรรมในกลางดวงนั้นรูปร่างเหมือนตัวเอง แต่ใสเหมือนดังแก้ว เกตุดอกบัวตูม แล้วเอาเห็น, จำ, คิด, รู้, เข้าหยุดที่ศูนย์กลางของกายธรรม ที่ตรงนั้นเป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงไก่โตได้เล็กได้ ใสดุจเพชร ชื่อว่าธรรมสำหรับทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมสิ่งนี้แหละสำหรับรักษา เห็น, จำ, คิด, รู้, ให้บริสุทธิ์และให้หยุดด้วย ต้องให้หยุดให้มากที่สุดเท่าที่บังคับให้หยุดได้หยุดให้มากที่สุดก็เจริญที่สุด หยุดต้องมีกลเม็ด หยุดดับหยาบไปหาละเอียดร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุดในหยุดนั้นและหนักขึ้นทุกที ไม่มีเวลาหย่อนจึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว ธรรมกายเป็นกายที่ ๕ นั้น เป็นกายสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าชื่อว่าอนุพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าตามเสด็จ พระพุทธเจ้า คำว่าพระพุทธเจ้ามีหลายจำพวก เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้าบ้าง ปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง สาวกพุทธเจ้าบ้าง สุตพุทธเจ้าบ้าง พหุสุตพุทธเจ้าบ้าง อนุพุทธเจ้าบ้าง ดังนี้ตรงกับกระแสพุทธฎีกาว่า เราตถาคตกล่าวว่า ท่านผู้สดับมากนั้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อว่าพหุสุตพุทธเจ้า เมื่อเป็นธรรมกาย คือเป็นพระพุทธเจ้าต้องเรียนวิชชาของพระพุทธเจ้าต่อไป ถ้าจะเรียนต่อไปต้องรู้จักธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้น ๆ คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมดังแสดงมาแล้วข้างต้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้น ๆ มีรูปพรหมสัณฐานสีสันวรรณะละม้ายคล้ายคลึงกัน ต่างกันแต่ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายโตมากกว่า แต่ส่วนเนื้อที่ละเอียด และความใสนั้นก็ละม้ายกันทั้ง ๔ กาย แต่กายธรรมละเอียดและใสกว่า

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014274676640828 Mins